Skip to main content
sharethis

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ :
ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ
ที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

 

 

 

 

สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff
 

000

 

บทคัดย่อ

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้จริง ที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน  การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและได้รับการลงมือโดยการทำ รัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549  เป็นความร่วมมือของสมาชิกของคณะองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารของไทยในการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549  การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจในการชี้นำของกลุ่มทุน เก่า นายทหารระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี (“กลุ่มอำนาจเก่า”) โดยทำลายล้างพลังจากการเลือกตั้งซึ่งได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจของพวกเขา อย่างสำคัญและเป็นประวัติการณ์  ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี

เมื่อพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ก็กลับถูกศาลเฉพาะกิจ (ad hoc court) อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยผู้ทำการรัฐประหารตัดสินให้ยุบพรรค นั้นอีก และเปิดทางให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  หลังจากนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้องใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐานอำนาจอันไม่ ชอบธรรมและปราบการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อตอบโต้การ รัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551  หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเวปไซท์ประมาณ 50,000 เวป ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน  เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องไม่มีกำหนดเพื่อปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจ เก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร

ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง  หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย  และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย  นับถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหา “ก่อการร้าย”  ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบธรรม เป็นเรื่องผิดกฎหมาย

ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่ง อยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย  ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น มีการกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้หายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมือง รวมถึงกลุ่มคนเสื้อแดง  มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม

นอกจากนี้ การใช้กองกำลังทหารในการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ยังจัดเป็นการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนอย่างเป็นระบบและเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย  แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การโจมตีเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การ พิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำ นั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดย ไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมาเป็น ระยะเวลา 4 ปีนั้นกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย นโยบายดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น

ท้ายที่สุด การสืบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในเดือนเมษายน- พฤษภาคมที่รัฐบาลตั้งใจจะทำนั้นปรากฏแล้วว่าทั้งไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลาง ตามที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้  ในขณะที่ประเทศไทยอาจมีความผิดเพิ่มเติมกรณีการละเมิดกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ จากที่ไม่ดูแลให้มีการสืบสวนการสังหารหมู่อย่างเป็นธรรมและสมบูรณ์ การกดดันจากนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ และเพื่อป้องกันความพยายามในการฟอกตัวเองจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่กำลัง ดำเนินอยู่ของรัฐบาล

ความจริงที่ไม่มีใครโต้แย้งได้ก็คือประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และจะต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์  แต่ทว่าความสมานฉันท์นั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นการที่จะทำให้มีการสมานฉันท์ จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ที่สั่งการให้มีการละเมิดสิทธิ มนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้นต้องรับ ผิด  กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้

 

 

000

 

 

สารบัญ

 

000

 

บทนำ

ในปีพ.ศ. 2541 ผมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยที่เป็น ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  รัฐธรรมนูญฉบับที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้มอบการเป็นตัวแทน อย่างแท้จริงในกระบวนการเลือกตั้งแก่พี่น้องชาวไทยเป็นครั้งแรก  ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผมพยายามดำเนินนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ได้เสนอไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่า เสียงของพวกเขาได้รับการสดับรับฟัง  นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมและแข็งแกร่ง

ในปี 2549 การรัฐประหารได้ช่วงชิงสิทธิในการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชนไป ซึ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศไม่พอใจ และทำให้พี่น้องประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นมาต่อต้าน  แต่แทนที่จะยอมรับฟังข้อเรียกร้องของพวกเขา กลุ่มอำนาจเก่าที่นิยมระบอบเผด็จการกลับพยายามที่จะกำจัดพี่น้องประชาชนคน ไทย ความทะยานอยากของคนกลุ่มนี้เป็นอันตรายยิ่ง อีกทั้งยังรุกล้ำจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์

ผมได้ขอให้สำนักกฎหมาย อัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ เข้ามาทำการศึกษากรณีของการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยตามมาตรฐานกฎหมาย ระหว่างประเทศหรือไม่  ผมยังได้ขอให้สำนักกฎหมายดังกล่าวศึกษากระบวนการทำลายระบอบประชาธิปไตยที่ มุ่งเป้ามาที่กลุ่มคนเสื้อแดง และศึกษานัยยะของเหตุการณ์เหล่านั้นภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ  โลกควรจะได้เข้าใจว่าในประเทศไทยประชาธิปไตยที่แท้จริงกำลังถูกทำร้าย

ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในไม่ช้า อย่างไรก็ตามหากการเลือกตั้ง หมายถึงการก้าวไปสู่ความสมานฉันท์ การเลือกตั้งเช่นนั้นจะต้องตอบข้อกังวลพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเสริมสร้าง อำนาจประชาชนและการฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นรัฐประชาธิปไตยแบบที่ไม่กีดกันคน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและในขณะเดียวกัน เราต้องปฏิเสธการใช้ความรุนแรงเพื่อเป็นเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย ทางการเมือง สันติสุขที่แท้จริงจะมีได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมในทางการเมือง ได้อย่างแท้จริง

ดร. ทักษิณ ชินวัตร

 

 

 

 


การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ :
ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ
ที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

 

สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff


 

1. บทนำ

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนโดยผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้ จริงที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน  การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและลงมือกระทำการรัฐประหาร โดยทหารเมื่อปี 2549  ด้วยความร่วมมือกับสมาชิกองคมนตรี ผู้บัญชาการทหาร ของไทยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของนายก รัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549  ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี การที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ด้วยเหตุผลเดียวนั่นก็คือเพราะพรรคการเมืองต่างๆ ที่ชนะการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยตลอดการเลือกตั้งสี่ครั้งที่ผ่านมา ถูกยุบไป

การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจนำของกลุ่มทุนเก่า นายทหาร ระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี ซึ่งจะขอรวมเรียกว่าเป็น “กลุ่มอำนาจเก่า”  ซึ่งการฟื้นฟูระบอบที่กลุ่มอำนาจเก่าต้องการนั้นจะสำเร็จได้ก็ต้องทำลาย พรรคไทยรักไทยเป็นอันดับแรก เพราะพรรคไทยรักไทยเป็นพลังทางการเลือกตั้งที่ได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจ ของกลุ่มอำนาจเก่าอย่างสำคัญและเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์  และหลังจากนั้นกลุ่มอำนาจเก่าก็ไม่อาจหยุดยั้งการกวาดล้างขบวนการเรียกร้อง ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นตามมา

พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้รับความนิยม สูงสุดให้มาปกครองประเทศ อันเป็นการไปขัดขวางธรรมเนียมปฏิบัติอันยาวนานที่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอจะได้ เข้ามารับใช้ตามอำเภอใจของกลุ่มอำนาจเก่า ด้วยการเสริมอำนาจของฐานเสียงที่ ถูกเบียดขับไปอยู่ชายขอบของชีวิตทางการเมืองของประเทศมายาวนาน พรรคไทยรักไทยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้พรรคฯ รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องสยบยอมมอบอำนาจใดๆ ที่รัฐธรรมนูญได้มีให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งแก่พวกกลุ่มอำนาจเก่า  การบริหารจัดการของพรรคฯ จึงเป็นไปเพื่อยืนยันการควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบาย การให้ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน และการทำลายเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่สมาชิกอันทรงอำนาจของคณะองคมนตรีได้ใช้ อิทธิพลของตนเหนือข้าราชการ ระบบตุลาการ และกองกำลังทหาร  ทั้งสองด้านของนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (dual track) ที่รัฐบาลไทยรักไทยได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเสียงข้างมากในสภา นั้น ยิ่งทำให้บรรดานักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ถอนการสนับสนุนทักษิณ ในขณะที่นโยบายเปิดตลาดเสรีของพรรคไทยรักไทยได้ทำให้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อิงกลุ่มอำนาจเก่าต้องมีการแข่งขันมากขึ้น ความนิยมที่มีต่อโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความจำเป็นของเกษตรกรในต่างจังหวัดและคนจนเมืองก็ทำให้รัฐบาล ยืนหยัดต่อแรงกดดันที่มาจากกลุ่มตัวละครหลักๆ ของกลุ่มอำนาจเก่าไว้ได้

เมื่อไม่สามารถจะขจัดหรือบั่นทอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ด้วยวิธี ใดๆ ทหารจึงใช้ยุทธวิธีในการยกขบวนรถถังและกองกำลังพิเศษเข้ามาทวงประเทศคืน จากตัวแทนของประชาชน

หลังจากการรัฐประหารเป็นต้นมา พวกกลุ่มอำนาจเก่าก็ได้พยายามที่จะรวบรวมอำนาจทางการเมืองของตน ในขณะเดียวกันก็ถอยไปซ่อนตัวอยู่หลังฉากที่สร้างภาพว่าเป็นประชาธิปไตยแบบมี รัฐธรรมนูญ  กลุ่มอำนาจเก่าได้ใช้การรณรงค์อย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อกำจัดพรรคไทยรัก ไทยออกจากพื้นที่ทางการเมืองไทย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะกลับไปสู่การมีรัฐบาลอ่อนแอที่ยอมรับใช้ผลประโยชน์ ของกลุ่มอำนาจเก่า  เมื่อแผนนี้ไม่สำเร็จ กลุ่มอำนาจเก่าจึงต้องหันไปพึ่งฝ่ายตุลาการที่ถูกทำให้เข้ามามีส่วนพัวพัน ทางการเมืองอย่างมาก และได้รับอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ให้สามารถล้มผลการเลือกตั้งที่ดำเนินอย่างเสรีได้ เพียงเพื่อทำให้การกำจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นดูเป็นสิ่งที่ถูก ต้องตามกฎหมาย

ด้วยการครอบงำศาล และด้วยความสำเร็จบางส่วนในการทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐบาลผสมของทักษิณ อ่อนแอลง และด้วยความวุ่นวายที่ก่อโดยกลุ่มการเมืองนอกรัฐสภาอย่างพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กลุ่มอำนาจเก่าก็สามารถทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทว่าหลังจากนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้อง ใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐานอำนาจอันไม่ชอบธรรมและปราบปรามการเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อตอบโต้การรัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551  หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเวปไซท์ประมาณ 50,000 เวป ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนดเพื่อที่จะปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจ เก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร

ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง  หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย  และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย  เมื่อต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แกนนำนปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุมและยอมมอบตัวกับตำรวจ

พยานนับร้อยๆ คน และวิดีโอคลิปพันๆ คลิป ได้บันทึกการใช้กระสุนจริงอย่างเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทยต่อ พลเรือนที่ไร้อาวุธ รวมถึงนักข่าวและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉินในเดือนเมษายนและพฤษภาคม นับ ถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหา “ก่อการร้าย”  ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบ ธรรมกลับกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการออกหมายจับจำนวนสูงถึง แปดร้อยหมาย และทางการยังได้สั่งแช่แข็งบัญชีธนาคารของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า ร่วมขบวนการและอาจเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่นปช.อีกอย่างน้อย 83 ราย ที่น่าสลดใจก็คือ แกนนำคนเสื้อแดงในท้องถิ่นต่างๆ ได้ถูกลอบสังหารในชลบุรี นครราชสีมา และปทุมธานี

ท่ามกลางเหตุการณ์ที่น่าสลดอันเป็นจุดสูงสุดของโครงการสี่ปีในการโค่น เจตนารมย์ของประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มอำนาจเก่า สมุดปกขาวเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์ข้อแรก คือ เพื่อเน้นถึงพันธกรณีของประไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่ง อยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมด้วย  ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น การกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้ประชาชนบางส่วนหายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง  มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม จากประวัติศาสตร์ความเป็นปรปักษ์ต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน เสื้อแดง ทำให้เป็นการสมเหตุสมผลที่จะยืนยันให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างเหมาะสม ด้วยหน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นอิสระ เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบต้องการละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะต้อง รับผิดตามที่กำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศ

เป้าหมายประการที่สอง เกี่ยวข้องกับพันธกรณีของประเทศไทยในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจ เกิดขึ้นในด้านสิทธิทางการเมือง  หลังจากการรัฐประหารในปี 2549 และในระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลที่มีทหารหนุนหลังพยายามที่จะรวบรวมอำนาจของตนโดยการกดขี่ปราบปรามการ คัดค้านทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง  มาตรการประการหนึ่งก็คือ การปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวนั้นโดยมีการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนที่ไร้ อาวุธอย่างเป็นระบบและอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย  แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การกระทำผิดต่อกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างร้ายแรงนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการ ดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำนั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้ เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดยไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมา เป็นระยะเวลา 4 ปีและที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย ดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น

สมุดปกขาวเล่มนี้ศึกษาการเกิดขึ้นของความรุนแรงในประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติการทางทหารในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2553 รวมทั้งการปราบปรามในเดือนเมษายนปี 2552 ที่มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน จากแง่มุมของหลักประกันตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง หลักฐานต่างๆ นั้นเพียงพอต่อการสืบสวนโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระและเป็นกลางถึงนัยยะทางอาญา ของการประหัตประหารทางการเมืองเช่นนี้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

วัตถุประสงค์ประการที่สามของสมุดปกขาวเล่มนี้คือเพื่อยืนยันถึงสิทธิตาม กฎหมายระหว่างประเทศของสมาชิกนปช.หลายร้อยคนที่กำลังเผชิญข้อกล่าวหาทางอาญา จากการเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองสิทธิใน การต่อสู้ดคีอย่างยุติธรรม รวมถึงสิทธิที่จะเลือกทนายของตนเอง เพื่อเตรียมการต่อสู้คดีโดยมีเวลาและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ และสิทธิในการสามารถเข้าถึงหลักฐานได้อย่างเท่าเทียม [1] ผู้ ถูกกล่าวหามีสิทธิในการตรวจสอบหลักฐานอย่างอิสระผ่านทางผู้เชี่ยวชาญหรือ ทนายของตนเอง ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับรัฐบาล และมีสิทธิในการเรียกพยานหลักฐานฝ่ายตนเพื่อแก้ต่างให้ตนเองได้ [2]

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อข้อประท้วงของนานาชาติเกี่ยวกับความรุนแรงในเดือน เมษายนและพฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศโร้ดแมปเพื่อการปรองดองและได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อ เท็จจริงขึ้นมาอย่างเป็นทางการ สิ่งที่หายไปจากโร้ดแมปของอภิสิทธิ์ก็คือ ความเป็นอิสระและความเป็นกลางอย่างแท้จริงในกระบวนการตรวจสอบตัวเอง  นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ที่ได้รบแต่งตั้งให้นำคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ได้บอกกับสื่อมวลชนในเกือบจะในทันทีทันใดว่าเขาสนใจในการ “ส่งเสริมการให้อภัย” มากกว่าการเรียนรู้ข้อเท็จจริง [3] การละเลยเช่นนี้อาจจะสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องการปรองดองแบบเดิมๆ ของไทย ที่ให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่สังหารผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2516, 2519 และ 2535 หลายร้อยคน แต่ไม่ทำอะไรกับการสืบหาข้อเท็จจริงหรือส่งเสริมการสมานฉันท์ที่แท้จริงเลย

ปัจจัยหลายอย่างได้ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการเข้ามาเกี่ยวข้อง จากประชาคมโลก เพื่อรักษาการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกกรณีอย่างเป็นอิสระ และเป็นกลาง  ประการแรก รัฐบาลไม่มีทีท่าจะยอมอ่อนข้อในการยึดอำนาจทางการเมือง โดยการให้ผู้นำทหารและพลเรือนถูกดำเนินคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ประการที่ สอง การกักขังที่ยาวนานและการไม่สนใจที่จะดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมต่อคนเสื้อแดง หลายร้อยคนที่ถูกรัฐบาลตัดสินไปล่วงหน้าแล้วว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” นั้นทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมของการสอบข้อเท็จจริงในกรณี นี้ ประการที่สาม คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของอภิสิทธิ์ทำงานรับใช้ความต้องการของนายก รัฐมนตรี และไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจนในการสืบสวนหรือดำเนินคดีกับรัฐบาล ส่วนความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมการก็ถูกขัดขวางโดยกฎระเบียบ ต่างๆ ที่ออกภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ถูกเหมือนจะยังคงมีผลในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของการดำเนินการของคณะ กรรมการ ประการสุดท้าย การวิเคราะห์หลักฐานของรัฐบาลไทยนั้นมีแนวโน้มจะโอนเอียงและเชื่อถือไม่ได้ เช่นที่มักจะเป็นในทุกครั้งที่รัฐบาลต้องทำการตรวจสอบการกระทำผิดของตัว เอง การที่รัฐบาลยึดมั่นกับผู้สืบสวนที่เลือกมาจากฐานของการถือข้างมากกว่า จากฐานของความเชี่ยวชาญทำให้กระบวนการไต่สวนทั้งหมดมีมลทิน การสืบสวนข้อ เท็จจริงที่มีอคติ ไม่เป็นกลาง และตอบสนองผลประโยชน์ของรัฐบาลทหารนั้นก็เท่ากับไม่มีการสืบสวนเลย

ทุกคนย่อมยอมรับความจริงที่ว่าประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และดำเนินการให้เกิดความปรองดอง  ทว่าความปรองดองนั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการฟื้นคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นความปรองดองนี้ยังต้องการความรับผิดอย่างเต็มที่ต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้น  กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้

 

000

 

2. เส้นทางไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย

ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ “ประชาธิปไตย” มาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อปีพ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในความจริง นอกจากช่วงเวลาที่เป็นเผด็จการทหารอย่างรุนแรงในระหว่างปี พ.ศ. 2501- 2512 แล้ว ประเทศไทยมีการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประจำมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการ ปกครอง  ทว่า อำนาจมักจะถูกเปลี่ยนมือด้วยการรัฐประหารโดยทหารมากกว่าด้วยกระบวนการตามรัฐ ธรรมนูญที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และจะมีการนำรัฐธรรมนูญฉบับที่สนับสนุนโดยทหารและรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยทหาร เข้ามาบังคับใช้แทนที่รัฐธรรมนูญและรัฐบาลของช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญในช่วง หลังมักจะถูกร่างขึ้นเพื่อรักษาการควบคุมของกลุ่มที่ก่อการรัฐประหาร ไม่ว่าผู้ก่อการจะตั้งใจใช้อำนาจโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านทางการให้ตัวแทนหรือ การเข้าควบคุมจัดการรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอ การจัดการเช่นนี้จะยังคงมีผล บังคับใช้ไปจนกว่าจะมีกลุ่มทหารกลุ่มอื่นทำรัฐประหารครั้งใหม่ และนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้สมดุลย์อำนาจใหม่ได้รับการ รับรองในกฎหมายขึ้นมาใช้ [4] วิธีปฏิบัติเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา ผ่านทางการรัฐประหารโดยทหารที่สำเร็จ 11 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 14 ฉบับ และแผนการและปฏิบัติการล้มล้างรัฐบาลที่ไม่สำเร็จอีกหลายครั้ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2475 มาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2535

ตลอดช่วงเวลาเหล่านี้ ประเทศไทยมีช่วง “ประชาธิปไตย” สั้นๆ เพียงสามครั้งที่หยั่งรากอยู่ในเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแข่งขันในการ เลือกตั้งอย่างแท้จริง  โดยครั้งแรกคือหลังจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2489 และครั้งที่สองคือหลังจากการประท้วงใหญ่ในปี 2516  ครั้งที่สามคือหลังการเลือกตั้งที่ได้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2531 ในทั้งสามครั้งนี้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกล้มล้างด้วยกระบอกปืนของกอง กำลังทหาร และถูกแทนที่ด้วยระบอบที่เหมาะสมกับการคุ้มครองอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่าและผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของพวกเขามากกว่า

นอกจากช่วงเวลาสั้นๆ เหล่านั้นแล้ว ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาถูกปกครองโดยระบอบที่มีส่วนผสมของประชาธิปไตยและเผด็จการแตกต่าง กันไป สิ่งที่ทุกระบอบมีเหมือนกันก็คือ เครือข่ายของเจ้าหน้าที่รัฐในราชการพลเรือนและทหาร หรือที่เรียกว่ากลุ่มอำมาตย์ ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองที่แท้จริง ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนขึ้นมา ผู้แทนของประชาชนมีอิสรภาพ ระดับหนึ่ง และมีมากขึ้นในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่ภายใต้ระบบอำมาตยาธิปไตย (คำที่ใช้เรียกระบบรัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยกลุ่มอำมาตย์ มักจะใช้ในทางตรงข้ามกับ “ประชาธิปไตย”) รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่เคยได้รับสิทธิในการกำหนดให้ทหารอยู่ภายใต้ การควบคุมของพลเรือน และเข้าควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบายทางทหารได้ ที่จริงแล้ว แนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ได้ถูกจัดขึ้นโดยรัฐไทยตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 2500 เป็นต้นมา โดยหมายถึงรูปแบบรัฐบาลที่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่มีการกำหนดข้อจำกัดเข้มงวดเรื่องเสรีภาพของพลเมือง และเรื่องขอบเขตอำนาจที่เจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งสามารถใช้ได้ ระบบ รัฐบาลแบบนี้ที่อยู่บนฐานของการยินยอมอย่างไม่ใยดีของประชากรไทยส่วนใหญ่ ได้รักษาอำนาจของทหาร ข้าราชการ นายทุนขนาดใหญ่ และกลุ่มองคมนตรี (หรือเรียกรวมๆว่า “กลุ่มอำนาจเก่า”) ในการกำหนดนโยบายระดับชาติส่วนใหญ่เอาไว้

เหตุการณ์ต่างๆ หลังจากการยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยกองทัพที่นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อปีพ.ศ. 2533 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องอำนาจนำของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการ เลือกตั้งเหนือระบบการเมืองไทย การประท้วงโดยประชาชนจำนวนมากที่ต่อต้านการ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา หลังจากที่มีการเลือกตั้งที่มีเปลือกนอกว่าเป็น “ประชาธิปไตย” ในเดือนมีนาคม 2535 ได้นำไปสู่การปะทะรุนแรงเป็นประวัติการณ์ระหว่างพลเรือนกับทหารในช่วงวันที่ 17-20 พฤษภาคม ผู้ประท้วงหลายสิบคนที่เรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออกและนำประเทศ กลับสู่ระบอบประชาธิปไตยถูกสังหารโดยโหดร้ายโดยทหารในช่วงระหว่างเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ” ปี 2535 ในท้ายที่สุด พลเอกสุจินดา ได้ลาออกหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏพระองค์ต่อสาธารณะ และนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ในเดือนกันยายน 2535

โศกนาฏกรรมพฤษภาทมิฬทำให้ประเทศเดินเข้าสู่หนทางการเป็น “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” อย่างแท้จริง และมีกระบวนการปฏิรูปเป็นเวลานานห้าปี อันสิ้นสุดลงด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างสูงในกระบวนการที่นำไปสู่การออกรัฐธรรมนูญ รวมถึงการที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยอย่างไม่กำกวม รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นำมาซึ่งยุคใหม่แห่งการเมืองที่ไม่มีการกีดกันในไทย  เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ผู้แทนของประชาชนเป็นผู้ร่างและรับรอง รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการกำหนดมาจากกลุ่มอำนาจเก่าอย่างแต่เดิม นำไปสู่ยุคแห่งประชาธิปไตยที่แท้จริง ความโปร่งใส และการรับผิดตรวจสอบได้  รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมือง ซึ่งฉบับก่อนหน้านี้ไม่ได้รองรับ และยังกำหนดกลไกอีกบางประการ รวมถึงเรื่องการเลือกตั้งสภาทั้งสอง ระบบการเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสต์เพื่อมาใช้พร้อมกับระบบแบ่งเขตแบบเดิม และตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกแบบมาเพื่อรับประกันว่าจะมีรัฐบาลตัว แทนอย่างเต็มที่ และเพื่อสร้างสนามเลือกตั้งที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่ยังรักษาความเป็นธรรมและความซื่อสัตย์เอาไว้ให้ได้ [5]  ที่สำคัญก็คือ รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 นี้ยังห้ามการใช้สิทธิหรือเสรีภาพในการล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย และยังห้ามความพยายามใดๆ ในการ “ให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้” [6] และยังห้ามทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยกเว้นแต่เป็นไปตามหลักการและวิธีการที่บัญญัติไว้ [7]

รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ยังได้สร้างเสถียรภาพทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้รับการรับรองในช่วงที่มีวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและทางการเงินอย่าง หนักในประเทศ การส่งออกลดลงและความกังวลเรื่องสถานการณ์ของภาคการเงินทำให้เกิดการไหลออก ของทุนขนาดใหญ่อย่างทันที จนเกิดวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงปลายปีพ.ศ. 2540 [8]  ในสถานการณ์ที่ประชาชนต่างไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่สามารกู้วิกฤติเศรษฐกิจของปะ เทศได้ จึงเป็นที่คาดกันว่าอาจจะเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 12 อย่างแน่นอน  แต่ถึงกระนั้นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ก็ไม่ได้นำไปสู่วิกฤตทางการเมือง  ข้อผูกพันมุ่งมั่นของประเทศที่จะเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้ จริงดูเหมือนจะยังคงถูกรักษาไว้ได้ในที่สุด [9]

รัฐธรรมนูญ 2540 ยังกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเมืองแบบใหม่  ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองที่อ่อนแอและแตกแยกต้องขึ้นอยู่กับผู้มีอิทธิพลใน ท้องถิ่นและเครือข่ายเส้นสายของระบบอุปถัมภ์ ในการระดมพลังสนับสนุนในพื้นที่การเลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องจากพรรคเหล่านั้นมีเนื้อหาเชิงโครงการน้อยมาก และมีภาพลักษณ์ของพรรคไม่ชัดเจน  ด้วยระบบตรวจสอบและถ่วงดุลย์ การป้องกันการคอร์รัปชั่น และด้วยบทบัญญัติใหม่ๆ ที่เสริมอำนาจของฝ่ายบริหารโดยการทำให้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งมี ความเปราะบางต่อการแปรพรรคน้อยลง รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ได้เปิดช่องทางให้เกิดการเติบโตของผู้นำทางการเมืองใหม่ๆ ที่พยายามจะสร้างพรรคการเมืองระดับชาติที่เข้มแข็งที่อยู่บนฐานของวาระ นโยบายเชิงโครงการที่ชัดเจน ที่อาจจะเป็นที่สนใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ นี่เป็นบริบทที่ทำให้ ทักษิณ ชินวัตร ตั้งพรรคไทยรักไทยและนำพรรคไปสู่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้จินตนารของคนนับล้านๆเป็นจริง และได้มอบปากเสียงให้แก่พลังทางการเมืองที่ปัจจุบันนี้คัดค้านการบริหาร ปกครองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างมั่นคง

 

000

 

3. การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย

ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2492 เป็นคนจังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจในปีพ.ศ. 2516 และรับราชการเป็นเวลา 14 ปี จนมียศพันตำรวจโท ซึ่งในระหว่างนั้นเขาได้ลาไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาอาชญา วิทยาที่มหาวิทยาลัย Eastern Kentucky และมหาวิทยาลัย Sam Houston ในเท็กซัส

ในปีพ.ศ. 2526 ขณะรับราชการตำรวจอยู่นั้น ทักษิณก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์กรุ๊ป กับภรรยาและพี่ชายภรรยา หลังจากออกจากราชการตำรวจในปี 2530 และทุ่มเทความสนใจทั้งหมดให้กับธุรกิจ บริษัทของเขาก็เติบโตเป็นบริษัทชิน คอร์ป  ในช่วงทศวรรษ 1990s (2533-2542) บริษัทนี้เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังเริ่มต้น ในประเทศไทย ในปี 2537 อันเป็นปีที่เขาเข้าสู่วงการการเมือง นิตยสาร Forbes ประเมินว่าเขามีทรัพย์สินประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญ

ทักษิณเข้าสู่การเมืองโดยเข้าร่วมในรัฐบาลชวน หลีกภัย ในปี 2537 เมื่อเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสมาชิกพรรคพลังธรรมของพลตรีจำลองศรีเมือง จากนั้นเขาก็เป็นรองนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นๆ ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา (2538-2539) และรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ (2540)  ในวันที่ 14 กรกฏคม 2541 เขาก่อตั้งพรรคไทยรักไทยอย่างเป็นทางการร่วมกับสมาชิกพรรครุ่นก่อตั้ง 22 คน  ภายใต้การนำของทักษิณ ไม่นานพรรคก็ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองใดทำได้มาก่อนเลย ในประเทศไทย

ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการเงินในปี 2540 รัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  เงินกู้จำนวน 1.7 หมื่นล้านเหรียญนั้นต้องแลกมาด้วยกับการยอมรับเงื่อนไขของ IMF ที่จะต้องมีการปฏิรูประบบการเงิน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมาตรการอื่นๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (foreign direct investment) [10]  ในช่วงแรก การปฏิรูปเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ค่าจ้างตกต่ำลง อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรและแรงงาน [11] บรรดานักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงได้เข้าร่วมขบวนการชาตินิยมที่กำลังขยายตัวต่อ ต้าน IMF และพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลขณะนั้น  นายกฯ ชวน หลีกภัยถูกโจมตีจากหลายด้าน  ทั้งภาคธุรกิจขนาดใหญ่ นักวิชาการ องค์กรประชาสังคมก่นประนามเขาว่าทำลายเศรษฐกิจ รับนโยบายจากต่างประเทศ ปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาฮุบทรัพย์สินของไทยในราคาถูก [12]

ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยของทักษิณปราศรัยถึงประเด็นเหล่านี้อย่างดุเดือด พรรคมีนโยบาย ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา และพลังงาน ในขณะเดียวกันนโยบายสวัสดิการสังคมของไทยรักไทยและการพัฒนาชนบทก็ได้รับความ นิยมอย่างมากจากชนชั้นแรงงานในเมืองและเกษตรกรในต่างจังหวัดที่ได้รับผล กระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมากที่สุด

ด้วยมาตรฐานของประเทศที่คุ้นชินกับการมีรัฐบาลผสมที่เคยประกอบด้วยพรรค การเมืองมากถึง 16 พรรค พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 อย่างถล่มทลาย ได้ที่นั่งในสภาถึง 248 ที่นั่งจากทั้งหมด 500 และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองหนึ่งเกือบจะได้เสียงข้างมากในสภา และผลจากการเลือกตั้ง ทักษิณ ชินวัตรก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกฯ คนที่ 23 ของไทย

ชัยชนะของพรรคไทยรักไทยที่หีบเลือกตั้งและการเพิ่มจำนวนสส.จากการรวมกับ พรรคอื่นในภายหลังนำไปสู่สภาพการณ์ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกลุ่มอำนาจ เก่าของไทย ซึ่งก็คือ องคมนตรี ผู้นำกองทัพ ข้าราชการระดับสูง ศาลระดับสูง ผู้นำทางธุรกิจ ที่ได้สะสมความมั่งคั่งในระบบการเมืองก่อนที่จะมีทักษิณ ก็สนับสนุนการการขึ้นมาของทักษิณอย่างกระตือลือล้นในช่วงแรก แต่เมื่อความชอบธรรมจากการกุมเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำให้นายกฯ อยู่ในฐานะที่สามารถผลักดันนโยบายของพรรคไทยรักไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องต่อ รองหรือขอความเห็นชอบจากกลุ่มอำนาจเก่า ความเข้มแข็งที่ได้มาด้วยความนิยมชม ชอบของประชาชนในการเลือกตั้ง คุกคามอำนาจในการกำหนดนโยบายประเทศที่พวกอมาตย์ยึดกุมมาตลอดตั้งแต่ประเทศ ไทยดูคล้ายจะเป็นประชาธิปไตยมา

ก่อนหน้านี้กลุ่มอำนาจเก่ากุมอำนาจเหนือระบบการเมืองของประเทศและนักการ เมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอาศัยยุทธวิธีแบ่งแยกและปกครอง  ภาวะเบี้ยหัวแตกของระบบพรรคการเมืองของไทยได้ป้องกันการรวมตัวเป็นกลุ่ม ก้อนที่มีฐานจากการเลือกตั้งที่จะสามารถท้าทายอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่ม อำนาจเก่า การเลือกตั้งปี 2544 ทำให้ทักษิณมีฐานมวลชนสนับสนุนอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งเขาใช้ฐานสนับสนุนนั้นในการทำสิ่งที่เขาได้สัญญาไว้  ในช่วง 1 ปีแรก เขาดำเนินนโยบายตามที่ได้เสนอไว้ในการหาเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย [13] ทักษิณยังกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ทำงานครบวาระ  พรรคไทยรักไทยหาเสียงในการเลือกตั้งปี 2548 ด้วยนโยบายต่อเนื่องภายใต้สโลแกน สี่ปีซ่อม สี่ปีสร้าง [14] และผลการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ก็เป็นชัยชนะที่ถล่มทลายยิ่งกว่าเดิม หลังจากการเลือกตั้งปี 2548 พรรคไทยรักไทยกุมเสียงข้างมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดคือประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งกว่าหนึ่งในสี่ เหลือไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา และถือเป็นครั้งแรกอีกเช่นเดียวกันที่ทักษิณได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกฯ อีกครั้ง

ในขณะที่หลายคนในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยเคยมองทักษิณว่าเป็นคนที่อาจสามารถ ช่วยกอบกู้ให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ที่ทำลายความมั่งคั่งของพวกเขาไปไม่น้อย พอเริ่มต้นวาระที่สอง ทักษิณก็ได้กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอำนาจทาง การเมืองของกลุ่มอำนาจเก่า  มาถึงปี 2548 นี้ ทักษิณไม่เพียงแต่ยึดกุมสนามการเลือกตั้งในประเทศไทยได้เท่านั้น การที่เขาได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนยังทำให้เขามี โอกาสขับเคลื่อนในทิศทางที่ดึงอำนาจตามรัฐธรรมออกมาจากกลุ่มอำนาจเก่า ชนิดที่ไม่มีนายกฯ พลเรือนคนไหนเคยทำได้มาก่อน ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้วรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยส่วนใหญ่ก็มอบอำนาจดังกล่าวไว้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว

รัฐบาลทักษิณมีลักษณะเป็นภัยคุกคามหลายประการต่อกลุ่มหลักๆ 4 กลุ่มที่ประกอบเป็นกลุ่มอำนาจเก่าของไทยอันได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจการเงินในกรุงเทพฯ 2) ผู้นำทางทหาร 3) ข้าราชการพลเรือนชั้นสูง 4) กลุ่มองคมนตรี

พวกนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ทักษิณเคยทอดสะพานให้ครั้งเขาลงชิงตำแหน่งนายกฯ ครั้งแรก กลับหันมาต่อต้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเพราะดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่ง เน้นไปที่เกษตรกรและคนจนในเมือง ตลอดจนการเปิดเสรีทางการค้า โดยผู้ต่อต้านนั้นพูดอย่างชัดเจนว่า “เป้าประสงค์นั้นคือการต่อต้านนโยบายแบบทักษิโนมิคส์” [15]

น่าขำที่ทักษิณมักถูกโจมตีเรื่อง “ประชานิยม” (เมื่อเร็วๆนี้ พวกเสื้อแดงก็ถูกเรียกว่าเป็นพวก “มาร์กซิสต์”) การสนับสนุนการค้าเสรีของเขานั่นเองที่สร้างความระคายเคืองแก่คนรวยมากที่ สุด นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ Suehiro Akira อธิบายเศรษฐกิจประเทศไทยยุคหลังสงครามว่าถูกครอบงำโดยครอบครัวที่เป็นทุนนิยมพวกพ้อง (client capitalist) ไม่กี่สิบครอบครัว ที่ยึดกุมและรักษาการผูกขาดเกือบโดยสิ้นเชิงเหนือภาคส่วนทางเศรษฐกิจขนาด ใหญ่จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากเส้นสายความสัมพันธ์ที่พวกเขามีกับเจ้าหน้าที่ รัฐที่ทรงอิทธิพล  ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความมั่งคั่งส่วนตัว เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในฝ่ายพลเรือนหรือนายทหารระดับสูงจะคอยดูแลให้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ภายในประเทศต้องได้รับผลประโยชน์จากนโยบายต่างๆ ความอ่อนแอของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และการป้องกันการแข่งกันจากภายในและภายนอกประเทศของรัฐ [16]

วิกฤติการเงินเอเชียทำให้หลายครอบครัวในกลุ่มนี้ต้องมีหนี้สิน ทำให้พวกเขาต้องยอมขายกิจการให้กับต่างชาติ รัฐบาลไทยได้เข้ามาช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่เมื่อต้นปี 2544 โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ เพื่อซื้อหนี้เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loans)มูลค่า1.2 พันล้านเหรียญทั้งที่เกิดจากภาครัฐและเอกชน [17] ซึ่งหนี้เงินกู้เหล่านี้หลายตัวก็ยังคงไม่ก่อรายได้ (underperforming)อยู่จนถึงปี 2548 และบริษัทที่กู้เงินก็ยังมีหนี้ค้างชำระกับธนาคารจำนวนมาก [18]  ภายใต้การบริหารงานของทักษิณ บรรดานักธุรกิจชั้นนำของกรุงเทพ ผู้ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาเคยอาศัยอิทธิพลทางการเมืองในการปกป้องผลประโยชน์ทาง ธุรกิจของตน เริ่มที่จะเสี่ยงต่อการสูญเสียอิทธิพลที่มีต่อรัฐบาลและสถาบันอื่นๆ ของรัฐ ทำให้พวกเขาตกอยู่ในฐานะที่อ่อนแอในการต่อรองกับธนาคารเกี่ยวกับหนี้ที่ยัง ค้างชำระ  นอกจากนี้ การที่นโยบายเศรษฐกิจของไทยรักไทยมุ่งเน้นสนับสนุนการค้าเสรีก็คุกคามกลุ่ม ธุรกิจภายในประเทศให้ต้องเผชิญกับการแข่งขันจริงๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่คุ้นที่จะต้องเผชิญ [19]  ครอบครัวที่ควบคุมอาณาจักรเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ไทยเบเวอเรจ เจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป และทีพีไอ โพลีน กลายมาเป็นปฏิปักษ์ตัวฉกาจของทักษิณ

นอกจากทุนนิยมพวกพ้อง เหล่านี้แล้ว นโยบายของทักษิณได้คุกคามเครือข่ายราชการ (หรืออำมาตยา) ที่ได้คอยดูแลให้ครอบครัวเหล่านี้มีอำนาจครอบงำเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด  ในด้านหนึ่ง การที่ทักษิณพยายามลดทอนอำนาจของทหาร ข้าราชการ และองคมนตรีในการกำหนดนโยบายประเทศนั้นยังได้ไปบ่อนเซาะเกราะคุ้มกันจากการ แข่งขันที่พวกนักธุรกิจชั้นนำเคยได้รับเสมอมาจากระบบอมาตยาอีกด้วย และในอีกทางหนึ่ง ความมุ่งมั่นของทักษิณที่จะลดบทบาทของสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งให้ เหลือเพียงบทบาทที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ก็เป็นภัยคุกคามต่ออิทธิพลและรายได้ของของกลุ่มอมาตย์

ข้าราชการอาชีพอาจเป็นกลุ่มหันมาต่อต้านรัฐบาลทักษิณเร็วที่สุด ตั้งแต่ แรกทีเดียว ทักษิณได้กำหนดตนเองเป็นตัวเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในระบบราชการและนักการ เมืองอาชีพ  ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาล การดำเนินนโยบายของไทยรักไทยทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลกระบวนการกำหนดนโยบาย โดยตรง ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาอยู่ในมือของข้าราชการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในการ พยายามที่จะทำให้รัฐบาลมีอำนาจควบคุมการออกแบบและดำเนินการนโยบายใหม่ๆ ทักษิณได้ทำให้ข้าราชการระดับสูงมีบทบาทลดน้อยถอยลง ทั้งโดยการให้อำนาจแก่ฝ่ายการเมืองและการปฏิรูประบบราชการที่ทำให้เกิด กระทรวงใหม่ขึ้นมาหกกระทรวงเพื่อให้ระบบราชการทำงานได้คล่องแคล่วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและการสนองตอบต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง [20]

ทักษิณพยายามอย่างหนักที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ [21]  ในช่วงเวลาที่ทักษิณเข้ารับตำแหน่ง กองทัพยังคงมีภาพพจน์ที่ไม่ดีที่ผู้นำกองทัพกระทำไว้จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี 2535  อย่างไรก็ตาม ด้วยประวัติศาสตร์ของไทย บรรดานายพลก็ยังคงเป็นกลุ่มอำนาจที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่สามารถจะมอง ข้ามได้  งบประมาณของกองทัพที่ถูกหั่นลงอย่างมากหลังวิกฤติทางการเงินเอเชีย ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงสมัยแรกของทักษิณ จาก 71.3 พันล้านบาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 86.7 ในปี 2549 [22] ทว่า ในเวลาเดียวกัน ทักษิณก็พยายามที่จะทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนมากขึ้น ในทางหนึ่งเขาปฏิเสธที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายของกองทัพตามที่ขอมา (ที่กองทัพต้องการนั้นดูได้จากงบประมาณทหารที่เพิ่มขึ้นมา 35 เปอร์เซ็นต์ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอนุมัติหลังการรัฐประหาร) [23] ในอีกทางหนึ่ง ทักษิณใช้การโยกย้ายตำแหน่งเพื่อสร้างความพอใจให้กับผู้ที่ภักดีต่อรัฐบาล และตัวเขาเอง ซึ่งทำให้นายทหารชั้นสูงหลายคนไม่พอใจที่ถูกข้ามหัวหรือเห็นอนาคตตีบตัน [24]

การต่อต้านของเครือข่ายที่ปรึกษาของราชสำนักที่นำโดยประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการถูกถอดจากตำแหน่งของทักษิณ สำหรับพลเอกเปรมและพันธมิตรแล้ว ประเด็นขัดแย้งคือการบ่อนเซาะอำนาจทางการเมืองที่เป็นผลมาจากความพยายาม อย่างเป็นระบบของทักษิณที่จะขจัดระบบอุปถัมภ์อันเป็นช่องทางที่บรรดาผู้แวด ล้อมราชสำนักใช้อำนาจอิทธิพลในการบริหารราชการแผ่นดินแทบทุกแง่มุม [25] การที่ทักษิณพยายามทำให้กองทัพและราชการพลเรือนอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาล ตลอดจนลดอิทธิพลของพล.อ.เปรมที่มีต่อศาลและองค์กรอิสระ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการต่อต้านจากองคมนตรี  ในปี 2549 หลังจากประสบความสำเร็จในการผลักดันให้พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพ พลเอกเปรมก็เริ่มวางแผนการรัฐประหารอยู่หลังฉากและทำการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาล อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยมุ่งหมายบ่อนทำลายความภักดีของกองทัพที่มีต่อรัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็น การเฉพาะ [26]

กฎสำคัญข้อหนึ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของการเมืองไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่สองเป็นต้นมาก็คือ รัฐบาลพลเรือนจะเป็นที่อดรนทนได้ตราบใดที่เป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ แตกแยกภายใน ต้องคล้อยตามระบบอมาตยาในกองทัพ ราชการ และองคมนตรี และรับใช้ผลประโยชน์ของนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ  รัฐบาลใดที่พยายามจะทำในสิ่งที่แตกต่าง ก็จะถูกบ่อนทำลายอย่างเป็นระบบ และหากบ่อนทำลายไม่สำเร็จ ก็จะถูกขจัดออกไปโดยกองทัพ ทักษิณไม่เพียงแต่ละเมิดกฎอันไม่เป็นทางการข้อ นี้ด้วยการทุ่มเทบริหารประเทศอย่างไม่บันยะบันยัง การอยู่ในตำแหน่งนายกฯ จนครบวาระและชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งสองครั้งซ้อนอันเนื่องมาจาก การสนับสนุนอย่างล้นหลามจากมวลชนที่พึงพอใจในนโยบาย เป็นการคุกคามที่จะเปลี่ยนทิวทัศน์ทางการเมืองของไทยโดยขจัดอำนาจนอกรัฐ ธรรมนูญที่มีมาอย่างยาวนานของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการเลือก ตั้ง ด้วยสังขารที่ร่วงโรยของผู้นำที่มีบารมีสูงสุดบางคนของอมาตย์ กลุ่มอำนาจเดิมก็ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องลงมืออย่างรวดเร็วและเด็ดขาดเพื่อ ทำลายล้างพรรคไทยรักไทยและการท้าทายอำนาจอย่างใหญ่หลวงที่สุดที่พวกเขาเคย ประสบในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา

 

000

 

4. ถนนสู่การปฏิวัติ 2549

เพื่อเป็นการตอบโต้การยืนยันการคุมอำนาจของพรรคไทยรักไทยเหนือระบบการ เมืองของประเทศ กลุ่มก้อนต่างๆ ในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยได้ออกมาตรการหลากหลายเพื่อกู้บทบาทของตนคืนมาก่อน ที่มันจะสายเกินไป  พวกเขาให้การสนับสนุนการชุมนุมประท้วงที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศสับ สนอลหม่านที่จะสร้างความชอบธรรมในการนำการปกครองโดยทหารกลับมาในประเทศอีก ครั้ง พวกเขายังบ่มสร้างข้อกล่าวหาเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้  เมื่อยุทธศาสตร์เหล่านี้ล้มเหลวพวกเขาก็อาศัยวิธีการเดิมๆ อย่างการรัฐประหาร

แผนการที่จะขับไล่ทักษิณและพรรคไทยรักไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่หลังการเลือก ตั้งทั่วไปในปี 2548  หนึ่งในแกนนำคนสำคัญที่ต่อต้านทักษิณคือสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าพ่อธุรกิจสื่อผู้ล้มเหลวซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของ ทักษิณ  สนธิกล่าวหาว่ารัฐบาลทักษิณนั้นเป็นเผด็จการและมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด อย่างเป็นระบบ สนธิให้เหตุผลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ทักษิณลาออกว่าเพราะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคุ้มครองพระมหากษัตริย์จากแผนการลับของทักษิณที่ ต้องการให้ประเทศปกครองด้วยระบบประธานาธิบดี

ในกฎหมายและสังคมไทย พระมหากษัตริย์เป็นดั่งสมมติเทพ และได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงสุดจากประชาชน  รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดบัญญัติไว้ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ”  การไม่แสดงความเคารพนับถือพระมหากษัตริย์โดยทางอ้อมนั้นอาจจะถูกดำเนินคดี ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปีสำหรับแต่ละกรรมได้

ที่ร้ายไปกว่านั้น ข้อกล่าวหาที่ว่านายรัฐมนตรีนั้นเป็นภัยใกล้ตัวต่อเกียรติยศของสถาบัน กษัตริย์ หรือตัวองค์พระมหากษัตริย์เอง นั้นดูคล้ายจะเป็นข้ออ้างที่นำไปสู่การกำจัดและเนรเทศอดีตนายกรัฐมนตรีที่มี ชื่อเสียงหลายคนมาแล้ว ข้อกล่าวหาผิดๆ ว่าลอบปลงพระชนม์และเหยียดหยามพระมหากษัตริย์นั้นเป็นฐานของการทำลายชื่อ เสียงและการที่ต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศอย่างถาวะของนายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในแกนนำของการปฏิวัติในปี 2475 และเป็นวีรบุรุษของขบวนการใต้ดินเสรีไทยที่ต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่สอง  พลตำรวจเอกเผ่า สียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ถูกโค่นจากอำนาจและเนรเทศออกจากประเทศโดยหนึ่งในสมาชิกสามทรราชย์ในยุค เผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยข้อหาที่ว่าพวกเขาเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของสถาบันฯ ในปี 2534 ก็มีข้อกล่าวหาคล้ายๆ กันต่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ว่าพลเอกชาติชายได้พยายามที่จะสร้าง “เผด็จการรัฐสภา” อย่างถาวร อันเป็นสิ่งอันตรายยิ่งที่ทำให้นายพลต่างๆ ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ต้องก่อการรัฐประหาร ในประเทศไทยข้อกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อระบอบ กษัตริย์เป็นเรื่องที่มักจะถูกนำมาใช้ในการพยายามทำลายชื่อเสียง กักขัง เนรเทศ และสังหาร ผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองที่เป็นภัยคุกคามต่ออำนาจที่ถือมั่นอยู่

ครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างน้อยตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี 2500 ข้อกล่าวหาว่าด้วยการเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์นั้นมักถูกใช้เป็นข้ออ้างให้ ความชอบธรรมแก่การทำการรัฐประหารโดยทหาร และการปกครองประเทศโดยทหารเป็นเวลานาน  นี่เป็นฐานของการ “ปฏิวัติ” ปี 2501 ของจอมพลสฤษดิ์  การรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อปีพ.ศ. 2514 เหตุการณ์การสังหารอยู่ของเผด็จการในปี 2516 และการขับไล่พลเอกชาติชายให้ออกจากตำแห่งเมื่อปี 2534 ตั้งแต่การเข้ามามีอำนาจในปีพ.ศ. 2500 หรือ 25 ปีหลังจากที่ระบบการปกครองโดยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สิ้นสุดลง จอมพลสฤษดิ์เป็นเผด็จการทหารคนแรกที่อ้างเหตุผลส่วนตนบนฐานของความชอบธรรม ทางการเมืองในความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ และบนการอุทิศตนให้แก่การฟื้นเกียรติ การไม่อาจละเมิดได้ และความเคารพศรัทธาของสาธารณะต่อสถาบันฯ อีกด้วย  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มอำมาตย์ได้เปลี่ยนรูปความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ทั้งจาก ภัยคุกคามที่เป็นจริงและที่เป็นจินตนาการไปสู่ข้อโต้แย้งที่ไม่สามารถเถียง ได้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ความชอบธรรมแก่การใช้อำนาจที่ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญ ใดให้ไว้ เพื่อเป้าหมายที่แทบไม่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสถาบันจริงๆ เลย หลังจากนั้นเป็นต้นมา ใครก็ตามที่ปฏิเสธอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่มอำมาตย์ก็ถูกตีตราเป็นสัตว์ ร้ายและป้ายสีว่าเป็นศัตรูของสถาบันกษัตริย์

ในเดือนเมษายน 2548 หลังจากได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ทักษิณเป็นประธานในพิธีทำบุญที่จัดขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งปกติแล้วจะเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นองค์ประธาน (แต่ไม่ได้จำกัดไว้ว่าต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น)  เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความกราดเกรี้ยวในประเทศไทย  ถึงแม้ทักษิณจะไม่ได้ถูกกล่าวหาอย่างเป็นทางการ แต่เรื่องนี้ก็ช่วยให้พวกกลุ่มอำนาจเก่าได้เสนอว่าตนเป็นผู้ทักษ์พระมหา กษัตริย์ขึ้นอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม หตุการณ์ที่กระตุ้นการต่อต้านทักษิณและพรรคไทยรักไทยมากที่สุดคือการขายหุ้น บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 3 มกราคม 2549 ก่อนหน้านั้นทักษิณได้โอนหุ้นในบริษัทชินคอร์ปของเขาไปแล้วก่อนจะเข้า มาเล่นการเมืองตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมาย โดยการโอนการถือหุ้นของตนไปให้ลูกคนโตสองคน เพื่อเป็นการตอบกับข้อกล่าวหา เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ครอบครัวของทักษิณตัดสินใจขายหุ้น 49.6 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทให้แก่กองทุนเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของสิงคโปร์  หลังจากการขายหุ้น ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณร้องเรียนว่าทักษิณได้ขายสมบัติสำคัญของชาติให้ แก่ต่างชาติ และยังมีข้อกล่าวหาด้วยว่าลูกๆ ของเขานั้นใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมายภาษีของไทยโดยการขายหุ้นผ่านทาง บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อจะได้ไม่ต้องเสีย ภาษี  ข้อกล่าวหาว่า “ขายชาติ” และหลบเลี่ยงภาษีกลายมาเป็นเหตุแห่งสงครามที่ฝ่ายตรงข้ามหยิบยกมาใช้

ช่วงเวลาที่ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปนั้นบังเอิญตรงกับช่วงที่สอดรับกับเป้า หมายของฝายตรงข้าม นั่นคือเกิดขึ้นก่อนการเดินขบวนต่อต้านทักษิณที่มีการกำหนดไว้ในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549 ณ ท้องสนามหลวง  ประเด็นนี้ทำให้กลุ่มผู้จัดการประท้วงได้พลังสนับสนุน เป้าหมาย และพลังงานสำหรับการประท้วง ที่สำคัญกว่านั้นคือ มันทำให้ฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณทั้งปัญญาชน นักพัฒนาองค์กรเอกชน นักธุรกิจชั้นนำ ชนชั้นกลางระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ นักเคลื่อนไหวพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สนับสนุนนักระดมมวลชนอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตที่ปรึกษาของทักษิณ เริ่มก่อตัวชัดขึ้นในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งจัดตั้งขึ้นไม่ กี่วันหลังจากนั้น ผู้ประท้วงกว่าห้าหมื่นคนนำโดยสนธิและจำลองเรียกร้องให้ ทักษิณลาออกในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549 สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ถวายฎีกาผ่านทางองคมนตรีพลเอกเปรม ติณสูนานนท์ ให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านทางมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ในการถอดถอนทักษิณและแต่งตั้งนากยกรัฐมนตรีขึ้นมาใหม่ [27]  วิธีการของสนธิซึ่งตั้งอยู่บนการอ่านรัฐธรรมนูญที่ค่อนข้างจะน่าสงสัยนั้น ได้เลี่ยงวิธีการตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่ให้มีการเลือกตั้งรัฐสภาเพื่อ ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ทักษิณตอบโต้การประท้วงที่ขยายตัวขึ้นด้วยการประกาศยุบสภาไม่นานหลังการ เดินขบวนประท้วงที่สนามหลวง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549  พรรคการเมืองฝ่ายค้านหลักๆ ทั้งหมดคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้  ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดายตามอย่างที่คาดการณ์ และได้ที่นั่งในสภามากกว่าร้อยละ 90  ฝ่ายค้านออกมาบอกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านไปมีความผิดปกติในทันที   ในหลายเขตของกรุงเทพฯ และในภาคใต้ของประเทศ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเสียงที่น้อยกว่าเสียง “ไม่ลงคะแนน” ในบางพื้นที่ภาคใต้ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยที่ลงสมัครโดยไม่มีคู่แข่งสอบตกการเลือกตั้งเนื่องจาก ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามที่กำหนดไว้ ทำให้ผลกรเลือกตั้งในพื้นที่นั้นเป็นโมฆะ  กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเรียกร้องให้การ เลือกตั้งเป็นโมฆะทั้งหมด  พธม. กล่าวโทษคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ลงคะแนนเสียง และกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยทุจริตการเลือกตั้ง [28]  สองวันหลังจากการเลือกตั้ง ทักษิณประกาศลาออกและดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี

ในวันที่ 26 เมษายน 2549 พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวฯ มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะเกี่ยวกับการเลือกตั้ง  โดยได้ตรัสต่อศาลปกครองโดยตรงว่า

ให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร ซึ่งท่านจะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดูมันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป แต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่า ท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไป ดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ [29]

ไม่นานหลังจากนั้น ศาลปกครองยกเลิกการเลือกตั้งใหม่ที่กำหนดเป็นการเลือกตั้งซ่อมในเขตที่มีผล การเลือกตังค์แบบตัดสินไม่ได้ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาว่าการเลือกตั้งในเดือนเมษายนเป็นโมฆะทั้งหมดและ ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม  ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญได้เรียกร้องต่อสาธารณะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลาออก  เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิเสธที่จะลาออก ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกพวกเขา 4 ปี ในข้อหาผิดวินัยร้ายแรง ทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งและต้องออกจากตำแหน่ง [30]

หลังจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับการเลือกตั้งในเดือนเมษายน ศูนย์กลางของผู้ที่ต่อต้านทักษิณได้ย้ายจากกลุ่มพธม. ไปสู่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีผู้ทรงอำนาจ  พลเอกเปรมเกิดเมื่อปีพ.ศ. 2463 เขาเป็นบุคคลที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย  จุดเริ่มต้นของการก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งที่มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างไม่อาจ เปรียบได้ของเขาสามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี 2484 ในขณะที่ยังเป็นทหารสังกัดเหล่าทหารม้า เปรมได้ร่วมรบต่อต้านสัมพันธมิตรเคียงข้างกองทัพญี่ปุ่นภายใต้อนาคตจอมเผด็จ การสฤษดิ์ ธนะรัชต์

[31]

 การ ขึ้นมามีอำนาจของเปรมในเวลาต่อมานั้นเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสฤษดิ์ ซึ่งเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่าเขาเป็นคนที่โหดร้ายและเป็นนายทหารที่ ทุจริตที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย  จอมพลสฤษดิ์เลื่อนยศให้เปรมให้ขึ้นเป็นพันเอก และแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ควบคุมโดยทหารในปี 2502  เปรมยังมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้นำทหารที่ชื่อเสียงชั่วร้ายผู้เลื่อนยศให้เขาเป็นพลตรีในปี 2514  และเขายังเป็นเพื่อนสนิทกับพลตรีสุดสาย หัสดิน ผู้นำกองกำลังกระทิงแดงที่เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการสังหารหมู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2519 อีกด้วย

ในเดือนกันยายน ปี 2521 เปรมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2520-2522) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก  ไม่นานหลังจากนั้นในเดือนมีนาคม 2522 สภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี  แม้ว่าเปรมจะไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเลย แต่ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงระหว่างปี 2522-2531 ซึ่งในช่วงเวลานั้นเขารอดพ้นจากความพยายามที่จะก่อการรัฐประหารโดยทหารถึง สองครั้ง (คือในปี 2524 และ 2528) และได้รับการรับรองในสภาฯ ถึงสองครั้งหลังการเลือกตั้งในปี 2526 และ 2528 บางทีจุดสูงสุดของอำนาจของเปรมคือหลังจากที่เขาลาออกจากการเป็นนายก รัฐมนตรีเมื่อเขาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี และเป็นประธานองคมนตรีตั้งแต่ปี 2541 กว่า 70 ปีในหน้าที่การงาน เปรมสร้างเครือข่ายอิทธิพลและอำนาจแผ่ขยายลึกสู่ทหาร ข้าราชการ และตุลาการ รวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย  นอกจากนั้นพลเอกเปรมยังเป็นประธานกรรมการของธนาคารกรุงเทพ และดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของกลุ่มบริษัทซีพีซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับ สนุนหลักของพรรคประชาธิปัตย์จนกระทั่งไม่นานมานี้

หลังจากที่ศาลมีคำตัดสินว่าผลของการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนเป็นโมฆะ พลเอกเปรมได้กล่าวบรรยายเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของทักษิณหลายครั้ง [32]  ด้วยสถานะและอำนาจของพลเอกเปรม การรณรงค์ต่อสาธารณะของเขาส่อให้เห็นถึงการขจัดทักษิณออกจากอำนาจ มีการแข่ง ขันกันควบคุมกองทัพและรัฐ และมีรายงานสาธารณะถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการรัฐประหารปรากฏขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ในการกล่าวกับข้าราชการกลุ่มหนึ่ง ทักษิณได้อ้างอิงถึงพลเอกเปรม และกล่าว่าตนปฏิเสธความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่โดย “ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญ” และการไม่ “เคารพหลักนิติธรรม” เพื่อบั่นทอนรัฐบาล นักวิจารณ์สังคมที่มีชื่อเสียงต่างๆ กล่าวหาทักษิณโดยทันทีว่าล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ [33]  พลเอกเปรมพร้อมด้วยองคมนตรีและพลเอกสุรยุทธ์ จุลนานนท์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ได้ปรึกษากับนายทหารผู้ใหญ่หลายคนและเดินทางเข้าเยี่ยมหน่วยทหารต่างๆ ในวัน ที่ 14 กรกฎาคม เขาได้กล่าวเตือนบรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายว่าความจงรักภักดีนั้นไม่ควรมีให้ กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องมีต่อพระมหากษัตริย์ [34]

โพลสำรวจความคิดเห็นหลายโพลที่ทำในช่วงก่อนจะมีการเลือกตั้งในเดือน ตุลาคมชี้ว่าทักษิณจะชนะการเลือกตั้งอีกครั้งโดยเสียงส่วนมาก เหตุการณ์ตึง เครียดสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อมีรถยนต์บรรจุระเบิดหนัก 70 กิโลกรัมถูกพบไม่ไกลไปจากที่พักของทักษิณ  เจ้าหน้าที่ทหาร 5 นายถูกจับแต่ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาในไม่ช้าเพราะขาดพยานหลักฐาน  ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทักษิณรีบออกมาให้ข่าวว่าคาร์บอมบ์นี้เป็นฝีมือ ของรัฐบาลเองที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายชื่อเสียงของฝ่ายตรงข้ามและเพื่อระดม การสนับสนุนรัฐบาล

 

000

 

5. การฟื้นฟูระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างผิดกฎหมาย

การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เมื่อปี 2549 อภิสิทธิ์เป็นผู้นำพรรคระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ซึ่งมีนั่งน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่นั่งในสภาทั้งหมด) มีช่องทางเดียวคือการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และการล้มล้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยซึ่งประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2540 หลังจากรัฐประหาร รัฐบาลทหารดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อทำลายล้าง “ระบอบ” ทักษิณ กระบวนการทำลายล้างนั้นรวมความถึงการยุบพรรคไทยรักไทยผ่านการบังคับใช้ กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ย้อนหลัง การตัดสิทธิเลือกตั้งของนักการเมืองที่โดดเด่น การกำหนดโทษในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการฟ้องร้องทักษิณ ชินวัตรเป็นคดีอาญาจำนวนมาก แต่แม้จะใช้มาตรการเหล่านี้แล้ว ก็ยังไม่สามารถขัดขวางประชาชนจากการลงคะแนนให้กับพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทย รักไทยในการเลือกตั้งปลายปี 2547 ที่สำคัญไปกว่านั้น ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของคนรากหญ้ายังได้ถือกำเนิดขึ้น เนื่องจากการทำลายเจตจำนงของประชาชนซ้ำๆ ทำลายสถาบันตัวแทนของประเทศไทย รวมถึงการปราบปรามทางการเมืองที่เปิดฉากโดยการรัฐประหารปี 2549 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยนี้ค่อยๆ เข้มข้นขึ้นเป็นผลมาจากการที่ฝ่ายอำมาตย์คว่ำผลการเลือกตั้งในปี 2550 ส่งผลให้อภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปลายปี 2551

 

5.1 การยึดอำนาจโดยทหาร

หลังทศวรรษแห่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งที่เป็น อิสระและเปิดเผย 3 ครั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็ถูกยึดครองโดยการใช้กำลังทหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ขณะที่ทักษิณเข้าร่วมการประชุมทั่วไปขององค์การสหประชาชาติในกรุงนิวยอร์ก ทหารเข้ายึดครองเมืองหลวง การรัฐประหารนำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก โดยได้รับความร่วมมือของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐบาลทหารมีชื่อว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเหลือเพียง “คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย” (คปค.) เพื่อป้องกันการ “เข้าใจผิด” เกี่ยวกับ “บทบาทของสถาบันกษัตริย์” [35]

เหตุผลที่ใช้กล่าวอ้างในการทำรัฐประหารนั้น คปค. ประกาศว่า (1) รัฐบาลทักษิณนำไปสู่ “ปัญหาความแตกแยกและบ่อนเซาะความสามัคคีในหมู่คนไทย (2) คนไทยส่วนใหญ่มีข้อกังขาต่อรัฐบาลทักษิณว่ามี “สัญญาณของการคอร์รัปชั่นและทุจริตอย่างรุนแรง และ (3) องค์กรอิสระถูก “แทรกแซง” ซึ่งนำไปสู่ “ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการกับพฤติกรรมทางการเมือง [36] คปค.ระบุว่า แม้จะมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะ “ประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ยังไม่สามารถที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้” ดังนั้นพลเอกสนธิจึง “มีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน” [37]

แม้ว่าพลเอกสนธิ จะให้คำมั่นต่อสาธารณะในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ว่า “กองทัพจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง” เพราะ “การรัฐประหารโดยทหารนั้นเป็นเรื่องในอดีต” [38] แต่ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตรได้ยอมรับในเวลาต่อมาว่าการรัฐประหารนั้นถูกเตรียมการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ [39] พลเอกสนธิซึ่งทำหน้าที่อย่างเต็มประสิทธิภาพในฐานะหัวหน้า คปค. [40] ควบคุมรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จและรวดเร็ว และวางรากฐานสำหรับการฟื้นฟูบทบาททางการเมืองของกองทัพในระยะยาวและและหาทางสืบทอดอำนาจในอนาคต

พลเอกสนธิประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศไทย [41] โดยหวังควบคุมการเคลื่อนไหวของกองทัพและตำรวจอย่างเต็มที่ [42] เขายกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ยกเลิกวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ เขาทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในนามของหัวหน้า คปค. (ทั้งโดยผ่านตัวเขาเอง) หรือผ่านผู้ที่เขาแต่งตั้ง [43] พร้อมทั้งทำหน้าที่ในส่วนที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งในระดับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา [44] ยิ่งไปกว่านั้น เขาประกาศว่า ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอัตถคดี “ตามบทกฎหมายและตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข” [45] ที่น่าสังเกตคือ พลเอกสนธิประกาศว่าองคมนตรี “คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป” [46]

คปค.กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมกระบวนการทางการเมืองทั้งหมดของประเทศทันที พลเอกสนธิประกาศว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม 2549 จะถูกเลื่อนไปอีก 1 ปี [47] แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการเลือกตั้งใดๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้นเป็นไปตามที่ คปค.กำหนดเท่านั้น

คณะกรรมการการเลือกซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เพื่อจัดการปัญหาการซื้อเสียงที่มีมาอย่างยาวนานนั้นมีหน้าที่จัดการและวาง ระเบียบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก รวมถึงมีหน้าที่ในการไต่สวนการทุจริตเลือกตั้ง ความเป็นอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหลักประกันอยู่ที่การกำหนดวาระการ ดำรงตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้งวาระละ 7 ปี และห้ามดำรงตำแหน่งซ้ำหลังจากหมดวาระ [48] หลังการรัฐประหาร พลเอกสนธิแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเพิ่งได้รับคัดเลือกจากวุฒิสภา และเพื่อให้แน่ใจว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นเป็นไปโดย “กระบวนการและการจัดการที่เป็นธรรมและเป็นกลาง” [49] พลเอกสนธิให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่สามารถเพิกถอนสิทธิเลือก ตั้งของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งหากเชื่อได้ว่าบุคคลผู้นั้นได้กระทำการ ทุจริตหรือละเมิดกฎหมายในการเลือกตั้ง [50]

คปค. ยังประกาศห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และ/หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท [51] ทั้งห้ามพรรคการเมืองจัดการประชุมหรือดำเนินกิจกรรมอื่นใดทางการเมือง และระงับการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมือง [52] ที่สำคัญที่สุดอาจได้แก่การที่ คปค.เขียนกฎหมายตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบพรรคในการมี ส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี แม้ว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหานั้นจะได้กระทำลงก่อนการรัฐประหารก็ตาม [53]

 

5.2 ระเบียบรัฐธรรมนูญใหม่

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของคณะรัฐบาลทหาร เริ่มใช้ธรรมนูญชั่วคราว [54] และแต่งตั้งสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและองคมนตรี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราวนั้นได้ฟื้นฟูรูปแบบของการแก้รัฐธรรมนูญที่ยอม รับผู้นำการรัฐประหารโดยทำให้การยึดอำนาจโดยทหารเป็นสิ่งที่โดยชอบด้วย กฎหมาย ตัวอย่างเช่น ธรรมนูญชั่วคราวถือว่าประกาศหรือคำสั่งของ คมช.ที่ประกาศใช้หลังการรัฐประหารมี “ความชอบธรรมและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ” [55] ธรรมนูญชั่วคราวยังกำหนดให้ผู้นำ คมช. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง “ไม่ต้องถูกลงโทษจากความรับผิดและการลงโทษใดๆ” แม้จะพบในภายหลังว่าในการยึดอำนาจนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก็ตาม [56]

ธรรมนูญชั่วคราวกำหนดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งสมาชิกมาจากการแต่ง ตั้งโดย คมช. เพื่อทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเดิม โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการออกกฎหมายทั้งหมด [57]

ธรรมนูญชั่วคราวยังกำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ เริ่มจากการตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้นโดยมีสมาชิกสมัชชาจำนวน 2,000 คนซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ หัวหน้าคมช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาฯ โดยหัวหน้าคมช. นั้นเองเป็นผู้จัดเตรียมรายชื่อและควบคุมการเสนอชื่อบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง สมาชิกสมัชชาฯ [58]จาก นั้นสมัชชาแห่งชาติให้ความเห็นชอบรายชื่อที่ถูกคัดเหลือ 200 คนเป็นผู้ชิงตำแหน่งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [59] รายชื่อนั้นถูกนำเสนอต่อ คมช. ซึ่งจะทำการตัดลงให้เหลือ 100 คนเพื่อทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการโดยคมช. [60] คมช. คัดสมาชิกจากจำนวน 100 คนเหลือ 25 คน จากนั้นแต่งตั้ง “ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย” อีก 10 คน ที่สุดแล้วจะได้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คน โดยกระบวนการเช่นนี้ คมช. สามารถใช้อำนาจควบคุมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยตรง [61]

ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญกำลังจะเสร็จสมบูรณ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เริ่มโหมประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าร่างรัฐธรรมนูญ นั้นจะผ่านการลงประชามติ สสร.ใช้งบประมาณราว 30 ล้านบาทเพื่อการรณรงค์ซึ่งรวมถึงการรณรงค์ผ่านสถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิทยุ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและแม้แต่ป้ายโฆษณา  [62] และแม้ว่าจะมีการจัดอภิปรายเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแต่ก็กลับถูกถ่ายทอดผ่าน ทางช่องเคเบิลทีวีเท่านั้น ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดการผ่านสถานีฟรีทีวีที่รัฐบาลเป็นเจ้าของคลื่น รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการให้มีการรณรงค์แบบเคาะประตูบ้านเพื่อผลัก ดันให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ สสร.จัดตั้งให้มีการรณรงค์ทั่วประเทศในช่วงใกล้การลงประชามติ และผู้ที่จะไปลงประชามติได้เดินทางฟรี ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่มีความผิดทางอาญาฐานละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง

เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพประการหนึ่งที่รัฐบาลทหารใช้เพื่อสร้างความ มั่นคงให้กับการลงคะแนนเสียงเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ก็คือการนำเสนอว่ากระบวนการลงประชามตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นจะนำไปสู่การเลือก ตั้ง การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลทหารก็คือสร้างความเชื่อมั่นว่าการยอมรับร่างรัฐ ธรรมนูญจะเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการจัดการเลือกตั้ง ผู้ลงประชามติจำนวนมากเลือก “รับ”ด้วยความมุ่งหวังที่จะกลับไปสู่ระบอบรัฐสภา ไม่ใช่เพราะพวกเขาเข้าใจความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญปี 2550 กับรัฐธรรมนูญปี 2540 [63] ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลทหารถือสิทธิ์ที่จะนำเอารัฐธรรมนูญเก่าฉบับอื่นๆ ซึ่งบางฉบับมีลักษณะเสรีนิยมมาก มาใช้แทน (และปรับแก้ตามสมควร) หากว่าประชาชนลงประชามติไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

สมัชชาแห่งชาติผ่านพระราชบัญญัติประชามติโดยกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับ การแสดงความเห็นในทางสาธารณะที่มีลักษณะต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองถูกปิดกั้นไม่ให้โน้มน้าวผู้ลงประชามติให้เห็นชอบหรือไม่เห็น ชอบร่างรัฐธรรมนูญโดยกำหนดโทษจำคุก 10 ปี ผู้ใด “ขัดขวาง” การลงประชามติจะถูกดำเนินคดีอาญา และหากผู้นั้นเป็นผู้บริหารพรรคการเมืองก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี [64] กฎอัยการศึกยังคงมีผลบังคับ ผู้ที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญถูกข่มขู่และเอกสารที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ นั้นถูกยึดจากบ้านและที่ทำการไปรษณีย์ ผู้ประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร 2549 ถูกจับกุมด้วยความผิดอาญา [65] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียประณามว่าพระราชบัญญัติประชามตินั้นเป็น ความพยายามที่ชัดเจนว่ามุ่ง “ข่มขู่และปิดปากบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับทางการ” [66] ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกระบวนการรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

วันที่ 19 สิงหาคม 2550 รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ผ่านการลงประชามติด้วยจำนวนผู้ลงคะแนนที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกประกาศใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 [67] รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นั้นมีความแตกต่างอย่างสำคัญจากหลักที่รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ความคุ้มครองไว้ ตัวอย่างคือ รัฐธรรมนูญ 2550 นั้นกลับไปสู่ระบบก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 นั่นคือการเลือกตั้งแบบหลายเขต ซึ่งเป็นให้โอกาสแก่พรรคการเมืองขนาดเล็กมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่ไม่มีเสถียรภาพ ขณะที่ยังคงระบบบัญชีรายชื่อไว้ แต่ก็ลดสัดส่วนปาร์ตี้ลิสต์จาก100 คน เหลือ 80 คน ยิ่งไปกว่านั้น ฐานคะแนนของระบบปาร์ตี้ลิสต์จากเดิมที่กำหนดให้ทั่วประเทศเป็นหนึ่งเขตเลือก ตั้ง ก็ถูกเปลี่ยนเป็นฐานคะแนนตามภูมิภาค การแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่ยุติธรรมและค่อนข้างเทอะทะนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดแรงสนับสนุนของผู้ที่จงรักภักดีต่อทักษิณ [68] ระบบเลือกตั้งวุฒิสมาชิกตามรัฐธรรมนูญ 2540 ถูกเปลี่ยนเป็นกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกจำนวน 150 คน โดย 76 คนมาจากการเลือกตั้ง และอีก 75 คนมาจากการแต่งตั้งโดยผ่านคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งมีที่มาจากผู้พิพากษาและ ข้าราชการระดับสูง [69] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถูกดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันอำนาจจากการเลือกตั้งที่โดดเด่นแบบที่เคยเกิดกับพรรคไทยรักไทย [70]

 

5.3 การยุบพรรคไทยรักไทย

คมช. ซึ่งเข้าสู่อำนาจด้วยการใช้กำลังบังคับ ทำลายพรรคไทยรักไทยและทำลายความนิยมของพรรค ในเดือนมกราคม 2550 รัฐบาลทหารจัดสรรงบประมาณลับจำนวน 12 ล้านบาท สำหรับการรณรงค์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือและนโยบายของรัฐบาลทักษิณ [71] ตามรายงานกล่าวว่ารัฐบาลทหารอนุมัติให้มีการโฆษณารณรงค์โดยใช้เงินภาษีจาก ประชาชน-ดำเนินการโดยบริษัทโฆษณาซึ่งมีญาติของรองเลขาธิการ คมช.- พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นเจ้าของกิจการ - ทั้งยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คนสำคัญ รวมถึงกรณ์ จาติกวณิช และกอบศักดิ์ สภาวสุ [72]

ดังที่กล่าวไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปทันทีเมื่อมีการรัฐประหาร ธรรมนูญชั่วคราวแต่งตั้งองค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คน โดยองค์คณะทั้งหมดเป็นผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คมช. [73] ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 องค์คณะตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นทำการวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย [74] ชัดเจนว่าการตัดสินคดีนั้นวางอยู่บนการวินิจฉัยว่าพรรคไทยรักไทยติดสินบน พรรคการเมืองฝ่ายค้านพรรคเล็กๆ ให้เข้าร่วมการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์ (คู่ต่อสู้สำคัญของไทยรักไทยในสภา) ถูกกล่าวหาด้วยข้อกล่าวหาอย่างเดียวกัน แต่ศาลตัดสินให้พ้นผิด นอกจากการตัดสินยุบพรรคที่เคยเป็นพรรครัฐบาลแล้ว ศาลยังตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คนเป็นเวลา 5 ปีโดยอาศัยความตามประกาศ คมช.ฉบับที่ 27 ที่กำหนดให้บทลงโทษมีผลย้อนหลัง นี่เป็นการทำให้แน่ใจว่าเมื่อพรรคการเมืองถูกยุบ แกนนำพรรคจะไม่อาจลงเลือกตั้งได้อีกในนามของพรรคการเมืองอื่น ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นการกระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้น เกิดขึ้นหลายเดือนก่อนการประกาศใช้ประกาศ คมช. ฉบับที่ 27 แกนนำพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสในการแก้ต่างในศาล [75]

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าวถึงการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่า

“ด้วยเหตุนี้ เราได้เห็นปรากฏการณ์พิเศษที่คณะผู้พิพากษาซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาล ทหารที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งและต่อต้านประชาธิปไตยดำเนินการตัดสินการกระทำ ของพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งซึ่งถูกกล่าวหาว่าบ่อนทำลายกระบวนการ ประชาธิปไตย” [76]

ในระบอบใหม่นี้ การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ แกนนำพรรคถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง ภาพลักษณ์ของพวกเขาเสื่อมเสีย และพรรคที่ครั้งหนึ่งไม่มีใครเอาชนะได้แตกสลายเป็นเสี่ยงๆ

 

5.4 การรัฐประหารทางศาลและเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ถูกจัดตั้งขึ้น

ในเดือนสิงหาคม 2550 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยรวมตัวกันอีกครั้งอย่างไม่สะทกสะท้านต่อผลการยุบ พรรคไทยรักไทย โดยใช้ชื่อพรรค “พลังประชาชน” ผู้นำพรรคคือนายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองชาวกรุงเทพฯ ผู้แก่พรรษา เพียงไม่นานหลังจากที่พรรคพลังประชาชนก่อตั้งขึ้น คมช.ก็มีคำสั่งห้ามกิจกรรมทางการเมืองของพรรค ทำให้พรรคร้องทุกข์กล่าวโทษ คมช. ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกเฉยต่อคำร้องทุกข์ดังกล่าวซึ่งกล่าวหาว่า คมช. มีความผิดจากการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่แทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. [77]

วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกนับจากมีรัฐประหาร แม้ คมช.จะต่อต้านและใช้กลยุทธ์ในการปราบปรามอย่างหนัก แต่พรรคพลังประชาชนก็ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนจำนวนมาก โดยชนะการเลือกตั้ง 233 ที่นั่งจากทั้งหมด 480 ที่นั่ง แม้ว่าคณะกรมการการเลือกตั้งตัดสิทธินักการเมืองคนสำคัญที่ลงเลือกตั้งในนาม พรรคพลังประชาชนไปจำนวนมากแล้วก็ตาม [78] พรรคจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ โดยนายสมัคร สุนทรเวชขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 29 มกราคม 2551 ถือเป็นอีกครั้งที่การเลือกตั้งแสดงให้เห็นถึงระดับความมุ่งมั่นของคนไทยใน การกำหนดใจตนเองผ่านการเลือกตั้งขณะที่เผชิญกับการประหัตประหารกันทางการ เมือง เมื่อต้องเผชิญกับการเลือกตั้งที่ส่งผลให้ได้รัฐบาลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผล ประโยชน์ของตนเอง อำมาตย์ก็ใช้แนวทางใหม่ แทนที่จะยึดอำนาจโดยการใช้กองกำลังอีกครั้ง อำมาตย์เลือกทำลายรัฐบาลโดยอาศัยการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงบนท้องถนนและการ ขัดขวางบริการสาธารณะที่สำคัญ

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลับมาปรากฏตัวบนท้องถนนของกรุงเทพฯ อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 5 เดือนหลังรู้ผลการเลือกตั้ง และเมื่อการประท้วงที่ยืดเยื้อกว่าสามเดือนบนถนนราชดำเนินไม่ประสบความ สำเร็จในการสร้างแรงเสียดทานใดๆ ในปลายเดือนสิงหาคมผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ติดอาวุธก็บุกเข้าไปในสถานีโทรทัศน์ในกรุงเทพฯ บุกกระทรวงหลายกระทรวงและยึดทำเนียบรัฐบาลไว้เพื่อกีดกันไม่ให้รัฐบาลสามารถ ทำงานได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ยึดสนามบินในจังหวัดภูเก็ต กระบี่และหาดใหญ่ ปิดกั้นถนนสายหลักและทางด่วน สหภาพรัฐวิสาหกิจขัดขวางการเดินรถไฟทั่วประเทศและขู่ว่าจะตัดน้ำตัดไฟ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำของพันธมิตรฯ มีโอกาสถอนเงินจำนวนมหาศาลจากบัญชีธนาคารซึ่งได้มาจากผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ที่ร่ำรวย [79]

พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ “รัฐบาลหุ่นเชิด” ของนายสมัคร ลงจากตำแหน่ง แต่น่าสังเกตว่าไม่ได้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่เพื่อหารัฐบาลมาทำ หน้าที่แทน [80] แต่กลับเรียกหาการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ดังที่นิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ระบุว่า “พันธมิตรฯ อ้างว่า ไม่ว่าอย่างไรรัฐบาล (สมัคร) ก็ไม่ชอบธรรม เพราะเชื่อว่าคนจนไม่สมควรจะมีสิทธิลงคะแนนเสียงเนื่องจากพวกเขาโง่เกินไป” [81]

เมื่อครั้งที่พันธมิตรฯ พยายามขับไล่รัฐบาลทักษิณในปี 2549 นั้น กลุ่มพันธมิตรฯ อภิปรายว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่ระบอบเผด็จการภายใต้การนำของทักษิณ และพันธมิตรฯ ร้องหาการแทรกแซงจากพระมหากษัตริย์โดยอ้างว่าเป็นความจำเป็นของประเทศเพื่อ เป็นหนทางไปสู่การเป็น “ประชาธิปไตย” ที่สมบูรณ์ แนวทางในการรณรงค์ที่เล่นโวหารเรื่องประชาธิปไตยของพันธมิตรฯ อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมพันธมิตรฯ จึงสามารถเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจจากคนทั่วไปจำนวนมากในกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่นิยมและให้การสนับสนุนพันธมิตรฯ ส่วนใหญ่ค่อยๆ ลดลง ขณะที่พันธมิตรฯยังคงกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในปี 2551 จากการต้องเผชิญกับการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อยและความล้มเหลวของการ รัฐประหาร กติกาใหม่จึงถูกกำหนดตามมา การล่าแม่มดเกิดขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อ ต้านเศษซากที่เหลืออยู่ของพรรคไทยรักไทยเพื่อให้รัฐบาลเอื้อประโยชน์ต่อ อำมาตย์มากขึ้น ยุทธศาสตร์ของพันธมิตรฯ นั้นรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสุดโต่ง ประการแรก พันธมิตรฯ เพิ่มแนวทางที่รุนแรงมากขึ้น ประการที่ 2 แกนนำอภิปราย ต่อต้าน ประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยตำหนิว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัดและชนชั้นล่างจำนวนมากยังคงถูก หลอกได้ง่าย ไม่มีการศึกษา และถูกครอบงำจากความต้องการทำให้ไม่อาจลงคะแนนอย่างมีเหตุผล [82] สิ่งที่พันธมิตรฯ เสนอให้นำมาใช้แทนก็คือการลดจำนวนนักการเมืองในสภาลงให้เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์จากที่นั่งในสภาทั้งหมด และปล้นอำนาจในการกำหนดนโยบายของประเทศจากนักการเมืองเหล่านั้น

แม้ว่าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยจะมีลักษณะผกผัน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่จะได้ยินกลุ่มจัดตั้งประกาศต่อสาธารณะว่าต่อต้าน ประชาธิปไตยด้วยท่าทีที่ถืออภิสิทธิ์และแข็งกร้าว แต่กระนั้น สิ่งที่โลกได้เห็นจากพันธมิตรฯ ก็คืออุดมการณ์อย่างเป็นทางการของประเทศซึ่งฝังลึก นั่นคือการแยกแยะความแตกต่างอย่างเด่นชัดทางจารีตระหว่างชนชั้นปกครองจำนวน น้อยกับผู้อยู่ใต้การปกครอง ในความเป็นจริง ดูเหมือนว่าสิ่งที่ทำให้พันธมิตรฯ หวาดกลัวไม่ใช่การคาดการณ์ว่าทักษิณ “คอร์รัปชั่น” หรือ เป็น “เผด็จการ” การที่พันธมิตรฯ ต้องการให้กองทัพซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นองค์กรที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุดของ ประเทศเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยไม่เอ่ยถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเลวร้าย ขององค์กรนี้เลยนั้น เป็นตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นว่าพันธมิตรฯ ไม่ใส่ใจต่อประชาธิปไตยและนิติรัฐ สิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดของพันธมิตรฯ ก็คือความนิยมที่ทักษิณได้รับอันเนื่องมาจากนโยบายและการที่ทักษิณปลูกฝัง และให้อำนาจแก่กลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเคยมีบทบาทในการเมืองไทยในฐานะผู้ ถูกกระทำ ดังที่นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า “อาชญากรรมที่แท้จริง” ของทักษิณก็คือเขา “ไม่จำเป็นต้องชนะการเลือกด้วยการซื้อเสียงอีกต่อไป” [83]

กลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งโดยแก่นแท้แล้วเป็นองค์กร “รากหญ้าเทียม” นั้นมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนรวยในกรุงเทพฯ ได้รับเงินทุนจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และเป็นหนี้ต่อเหล่าอิทธิพลที่หนุนหลังผู้มีอำนาจในกองทัพ สภาองคมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์ เช่นเคย พันธมิตรฯและผู้หนุนหลังรู้สึกว่าการคุกคามจาก พรรคไทยรักไทยและพรรคที่สืบทอดนั้นทบทวี

ในด้านหนึ่ง ทักษิณได้ให้สิทธิพิเศษกับกลุ่มอำนาจในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยได้ประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ ในเรื่องนี้ คาร์ล ดี. แจคสัน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อสกินส์อภิปรายว่า “ปัญหาพื้นฐานของระบบการเมืองไทยก็คือเงินกระจุกอยู่ในกรุงเทพฯจำนวนมาก ขณะที่ผู้มีสิทธิคะแนนเสียงส่วนใหญ่นั้นอยู่นอกกรุงเทพฯ” [84] สิ่งที่ศ.แจ็คสันละเลยไม่ได้กล่าวถึงก็คือ แม้ว่าจุดศูนย์รวมความมั่งคั่งของประเทศอยู่ในเมืองหลวงที่มีลักษณะพิเศษ อย่างยิ่ง แต่ว่าบรรดาผู้มีฐานะในกรุงเทพฯ กลับยังไม่ยอมรับแนวคิดว่าประเทศควรจะปกครองด้วยตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือก จากเสียงส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัด

ในอีกด้านหนึ่ง ข้อเท็จจริงอันบริสุทธิ์ก็คือกลุ่มพลเมืองที่ตื่นตัวและรวมกลุ่มกันลงคะแนน ให้กับพรรคการเมืองเดียวนั้นเป็นการคุกคามและลดทอนความสำคัญของสถาบันที่ไม่ ผ่านการเลือกตั้งและนักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมองเห็นแล้วว่าความ แข็งแกร่งในการเลือกตั้งลดลงอย่างต่อเนื่อง นักการเมืองคนสำคัญของพรรคอย่างสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และสำราญ รอดเพ็ชร ยังมีสถานะเป็นแกนนำพันธมิตรฯ อีกด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน,กษิต ภิรมย์ ก็ปรากฏตัวในการชุมนุมของพันธมิตรฯ บ่อยครั้งในช่วงที่พันธมิตรฯ ยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิอย่างผิดกฎหมาย รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน กรณ์ จาติกวณิช กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่าเขาสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ แม้ในที่สุดแล้วจะมีการก่อความรุนแรงอย่างน่ารังเกียจ และมีลักษณะของการต่อต้านประชาธิปไตยอย่างรุนแรง แต่กรณ์ได้เขียนอธิบายผ่านบทความในบางกอกโพสต์ ซึ่งใช้สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรฯ กับพรรคประชาธิปัตย์ว่า :

“เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันดีว่าแกนนำคนหนึ่งของ พันธมิตรเป็น ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าเขาจะเข้าร่วมกับพันธมิตรในนามส่วนตัวก็ตาม

“ผู้ปราศรัยจำนวนมากก็เป็นผู้ลงสมัครรับเลือก ตั้งในสมัยที่ผ่านมา มากกว่าหมื่นคนที่เข้าร่วมการชุมนุมเป็นผู้ที่ลงคะแนนให้กับพรรคประชาธิปัต ย์ ที่สำคัญที่สุด พันธมิตรฯ และผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ มีข้อคิดเห็นเช่นเดียวกันกับเราว่ารัฐบาลนั้นไม่มีความชอบธรรมทั้งในทาง กฎหมายและในทางจริยธรรม”

เขาเสริมว่า:

“ผมเชื่อด้วยว่า ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์โดยตัวเองแล้วไม่สามารถจะต้านทานพรรคพลังประชาชนหรือรัฐบาล จากการใช้อำนาจในทางที่ผิดในช่วงเวลา 7 เดือนที่ปกครองประเทศ ผมคิดว่าหากปราศจากความพยายามของเราที่เคียงข้างกันมา ก็เหมือนว่ารัฐธรรมนูญนั้นได้รับการแก้ไขและให้ความคุ้มครองเฉพาะทักษิณและ พรรคพลังประชาชนเท่านั้น” [85]

ด้วยการกระทำอย่างเดียวกันนั้น ผู้ที่สนับสนุนคนเสื้อแดงถูกฟ้องร้องในข้อหากบฏและแกนนำเสื้อแดงถูกกล่าวหา ในความผิดฐานก่อการร้ายซึ่งอาจมีโทษประหารชีวิต แต่คนอย่างกรณ์และกษิต ได้รับรางวัลเป็นตำแหน่งรัฐมนตรี

วันที่ 9 กันยายน 2550 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายกรัฐมนตรีสมัครพ้นจากตำแหน่งตามคำฟ้องของนักการ เมืองฝ่ายค้านและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้วยความผิดจากการดำเนินรายการสอนทำอาหารผ่านรายการโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นการกระทำต้องห้าม ที่ห้ามรัฐมนตรีรับค่าตอบแทนจากนายจ้างอื่น [86] นายสมัครโต้แย้งว่าเขาไม่ได้ถูกว่าจ้างโดยสถานีโทรทัศน์และแม้ว่ารายการจะ ออกอากาศในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่การบันทึกเทปนั้นทำก่อนที่จะเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งเหล่านั้นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าฟังไม่ขึ้นและลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้เขาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เรื่องที่น่าตลกก็คือว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งคือ นายจรัญ ภักดีธนากุลเองก็รับเชิญไปออกรายการวิทยุและได้รับค่าตอบแทนจากการสอนกฎหมาย ในมหาวิทยาลัยเอกชนเป็นประจำขณะที่กำลังดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ด้วย วันที่ 18 กันยายน 2551 สมชาย วงษ์สวัสดิ์ น้องเขยของทักษิณขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายสมัคร กลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่ปฏิเสธที่จะสลายการชุมนุม

บางที จุดเปลี่ยนอาจจะอยู่ที่วันที่ 7 ตุลาคม เมื่อเกิดความรุนแรงระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและพันธมิตรฯ ราวๆ สองถึงสามพันคนที่หน้าสภาผู้แทนราษฎร โดยฝ่ายพันธมิตรฯ พยายามปิดกั้นทางเข้ารัฐสภา มีประชาชนบาดเจ็บหลายร้อยคนจากเหตุชุลมุน การ์ดพันธมิตรยิงปืนและขว้างระเบิดปิงปองเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตาและไม้กระบอง สมาชิกของกลุ่ม พันธมิตรฯ เสียชีวิตไป 2 คน รายหนึ่งเป็นหญิงสาวซึ่งเสียชีวิตเพราะถูกแก๊สน้ำตาที่ผลิตจากประเทศจีนยิง เข้าใส่โดยตรง อีกรายหนึ่งเป็นการ์ดซึ่งไม่ได้เสียชีวิตจากการปะทะ แต่เสียชีวิตขณะที่รถของเขาระเบิดหน้าที่ทำการพรรคชาติไทย พระราชินีเสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หญิงสาวที่เสียชีวิตหน้าสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมาก็ได้แสดงการสนับสนุนพันธมิตรฯ ด้วยการไปร่วมงานศพของนายเมธี ชาติมนตรี ซึ่งเป็นไปได้ว่าเสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายด้วยระเบิดของเขาเอง

ในเวลานั้น อภิสิทธิ์ได้แสดงความเห็นอย่างต่อเนื่องซึ่งขัดแย้งอย่างรุนแรงกับสิ่งที่ เขาทำในการสังหารประชาชนภายใต้การกำกับดูแลของเขาเอง [87] ยิ่งไปกว่านั้นเขายังแถลงข่าวอย่างเกรี้ยวกราดประกาศท่าทีของพรรคต่อกรณีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับพันธมิตรฯ ว่า:

“ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่นายกฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ว่าเป็นผู้ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือมิเช่นนั้นก็จงใจให้เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้น แต่ว่าที่เลวร้ายกว่าการโยนความผิดหรือความพยายามปัดความรับผิดชอบไปให้เจ้า หน้าที่ก็คือว่า วันนี้พัฒนาไปสู่กระบวนการใส่ร้ายประชาชน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าเรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสแล้ว เรายังมีรัฐที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ ผมเคยได้ยินคนในฝ่ายรัฐบาลชอบถามคนนั้นคนนี้ว่า เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่พฤติกรรมที่ท่านแสดงอยู่นั้น ไม่ใช่เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่เป็นคนหรือเปล่า

วันนี้ในทางการเมืองความชอบธรรม(ของรัฐบาลสมชาย) มันหมดไปแล้วครับ เราเรียกร้องความรับผิดชอบจากท่าน (นายกรัฐมนตรี) ท่านจะลาออก หรือถ้าท่านกลัวว่าถ้าท่านลาออกแล้วจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จะ ไปมีอำนาจท่านก็ยุบสภาเถิดครับ แต่ท่านเพิกเฉยไม่ได้ เพราะถ้าท่านเพิกเฉยแล้ว ท่านทำร้ายบ้านเมืองและท่านกำลังทำร้ายระบบการเมือง

“ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ” [88]

บันทึกเหตุการณ์ถัดจากนี้ แสดงให้เห็นว่าอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ฝ่าฟันการเปลี่ยนแปลง ครั้งสำคัญบนเส้นทางที่นำพาเขาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ม็อบพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ทำให้มีนักท่องเที่ยวตกค้างเป็นจำนวนหลายแสนคน พร้อมกันนั้น พันธมิตรฯ ยังทำการยึดสนามบินนานาชาติดอนเมืองเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลที่จะ จัดเส้นทางการบินเข้าออกใหม่ ผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ หลายพันคนใช้โล่มนุษย์ป้องกันการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีรายงานข่าวด้วยว่าพันธมิตรฯ หลอกใช้เด็กโดยการจ้างพ่อแม่ของเด็กเพื่ออนุญาตให้เด็กเข้าร่วมการชุมนุม [89] ขณะเดียวกันการ์ดพันธมิตรฯ ซึ่งสามารถเอาชนะตำรวจได้ทำการตั้งด่านปิดกั้นทางเข้าสนามบินสุวรรณ [90] รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเรียกให้ทหารเข้ามาทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพปฏิเสธที่จะทำตาม ในทางตรงกันข้าม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กลับเรียกร้องผ่านทางสาธารณะให้รัฐบาลลาออก ความพยายามของรัฐบาลในการขับไล่ผู้ชุมนุมไม่ประสบความสำเร็จ เศรษฐกิจเสียหายจากการยึดสนามบินราวหนึ่งหมื่นสองพันล้านเหรียญสหรัฐ [91]

ในวันที่ 2 ธันวาคม เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรมที่ถูกการเมืองครอบงำเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ แสดงความจำนนให้เห็น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชนและพรรค ร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรคเป็นเวลา 5 ปี ในบรรดานักการเมืองที่ถูกตัดสิทธินั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที [92] ภายในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา สนธิ ลิ้มทองกุลจัดแถลงข่าวและประกาศว่าพันธมิตรฯ จะยุติการยึดสนามบิน เขาไม่ลืมที่จะประกาศด้วยว่าพันธมิตรฯ จะกลับมาต่อสู้อีกหากหุ่นเชิดของทักษิณกลับมามีอำนาจ [93] ตรงกันข้ามกับแกนนำ นปช. ซึ่งถูกทหารควบคุมตัวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ไม่มีแกนนำคนไหนของพันธมิตรฯ ที่ต้องนอนค้างคืนในคุกด้วยความผิดฐานฝ่าฝืนกฎอัยการศึก ยึดสนามบิน ทำลายสิ่งก่อสร้างในทำเนียบรัฐบาล หรือยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อกำหนดเรื่องการยุบพรรคซึ่งศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็น ฐานในการตัดสินคดีนั้นอยู่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตามที่คณะรัฐบาลทหารเรียกร้อง มองเผินๆ แล้วก็เหมือนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายตุลาการต่อสู้กับ การคอร์รัปชั่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะทหารใช้อำนาจ อย่างกว้างขวางในการล้มล้างอำนาจผู้ที่ประชาชนเลือกมา ด้วยลักษณะที่คล้ายกันมากกับธรรมนูญชั่วคราวซึ่งถูกนำมาใช้ภายหลังการรัฐ ประหาร รัฐธรรมนูญ 2550 ให้ทางเลือกแก่ศาลในการยุบพรรคการเมืองใดๆ ก็ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่าคณะกรรมการบริหารพรรคหรือผู้สมัครของ พรรคแม้เพียงรายเดียวทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อมีการตัดสินยุบพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญอาจตัดสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี คดีตัวอย่างเช่น ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคโดยอาศัยฐาน การกระทำความผิดของยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานทุจริตการเลือกตั้งครั้งล่าสุด แม้ว่าจะมีการฟ้องร้องพรรคประชาธิปัตย์ในกรณีเดียวกัน แต่กลับพบว่าศาลเลี่ยงที่จะสั่งให้มีการยุบพรรค

มันเป็นเพียงควันหลงจากการปะทะที่ชอกช้ำระหว่างรัฐบาลกับพันธมิตรฯ สนามบินถูกยึด ผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมและ ส่งผลให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ธันวาคม 2551 รัฐบาลผสมนั้นเป็นหนี้บุญคุณมุ้งการเมืองที่สำคัญในพรรคไทยรักไทยซึ่งหัว หน้ามุ้งก็คือนายเนวิน ชิดชอบผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และอดีตพรรคร่วมรัฐบาลพลังประชาชนอย่างเช่นพรรคชาติไทยพัฒนาซึ่งตั้งขึ้น โดยอดีตนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา ผู้เคยเป็นพันธมิตรกับทักษิณมาก่อน ข้อตกลงบรรลุในวันที่ 6 ธันวาคมที่บ้านของผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา มีรายงานข่าวว่าในการประชุมครั้งนั้น พล.อ.อนุพงษ์กล่าวเตือนผู้ร่วมการประชุมว่า เขาพูดแทน “ชายเจ้าของถ้อยคำที่ไม่อาจปฏิเสธได้” [94]

แม้ว่าในการเลือกตั้งในปี 2544, 2548, 2549 และ 2550 ซึ่งประชาชนไทยได้แสดงความนิยมต่อพรรคที่เชื่อมโยงกับทักษิณด้วยเสียงข้าง มาก ซึ่งครองเสียงข้างมากทั้งโดยพรรคเดียวและหลายพรรครวมกันในการเลือกตั้งแต่ละ ครั้ง อำมาตยาธิปไตยฟื้นฟูได้ด้วยรัฐประหารโดยทหาร 15 เดือนแห่งการปราบปราม ฟ้องร้อง ทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน การยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินหลักของชาติอย่างผิดกฎหมาย และคำพิพากษาตามอำเภอใจที่มีออกมาเป็นลำดับเพื่อยุบพรรคการเมืองใหญ่ 4 พรรค ยุบรัฐบาล 3 รัฐบาล และปรับเปลี่ยนระบบกฎหมายของประเทศให้เป็นไปตามความพอใจและผลประโยชน์ของ อำมาตย์

กระนั้นก็ตาม การที่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการชุมนุมของพันธมิตรฯ บทบาทพันธมิตรฯ ในฐานะเครื่องมือที่ผลักดันอภิสิทธิ์สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการที่พรรคประชาธิปัตย์ให้คำมั่นต่อพันธมิตรฯ ว่าจะไม่ถูกลงโทษภายใต้รัฐบาลประชาธิปัตย์ ทำให้ความสัมพันธ์ของกลุ่มการเมืองทั้งสองอยู่ในสภาวะน่าวิตก แกนนำพันธมิตรฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนธิ ลิ้มทองกุลตำหนิการเมืองแบบเก่าของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีการต่อรองทางการเมืองซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ถูกบังคับให้ต้องเกี่ยวดองกับ นักการเมืองที่ฉาวโฉ่เรื่องการทุจริตเนื่องจากความพยายามตั้งรัฐบาลผสมและ ประคับประคองไปด้วยกัน [95]

ยิ่งกว่านั้น พันธมิตรฯ หวนกลับมาวิพากษ์วิจารณ์จุดอ่อนอันเป็นที่รับรู้รวมถึงความไม่แน่วแน่ของของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่พันธมิตรฯ ตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง “พรรคการเมืองใหม่” [96] ตั้งแต่เดือนแรกๆ ที่อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่ง โดยมีนโยบายปกป้องสถาบันกษัตริย์และทำความสะอาดการเมืองไทย อันเป็นภารกิจที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการให้พวกเขาได้ดี พอ สนธิ ลิ้มทองกุลวิพากษ์ว่าอภิสิทธิ์ไม่มีศักยภาพที่จะนำพาประเทศไปข้างหน้า และเรียกร้องให้ “คืนอำนาจรัฐสภาให้พระมหากษัตริย์” [97] และเสนอแนะว่ากองทัพควรจะทำการรัฐประหารหากอภิสิทธิ์ไม่สามารถที่จะสร้าง “ธรรมาธิปไตย” ที่ห่างไกลจากระบบรัฐสภาซึ่งเขาเรียกว่าเป็น “ที่อยู่ของเหล่าอสูร” [98]

ตามความเป็นจริง ความสัมพันธ์อันกลมกลืมระหว่างพันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์และการดำรงอยู่ร่วมกันที่น่าอึดอัดนั้น อาจอธิบายได้ว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรฯ เป็นเสมือนปีกสองข้างของโครงสร้างหลวมๆ ของกลุ่มอำนาจเก่าในประเทศไทย พันธมิตรฯ เป็นปีกนอกกลไกรัฐสภาซึ่งทำให้มีการปฏิบัติการบนท้องถนนได้เมื่อต้องการ ขณะที่ประชาธิปัตย์เป็นปีกภายใต้กลไกรัฐสภาซึ่งมีหน้าที่แสดงบทบาทรัฐบาลที่ ถูกครอบงำโดยกองทัพ ที่ปรึกษาของกษัตริย์และผู้นำทางธุรกิจ สำหรับทั้งสององค์กร สิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของฝ่ายอำมาตย์ถือเป็นประเด็นสำคัญทั้งในแง่ อุดมการณ์และความจำเป็น อย่างน้อยที่สุดทั้งสองกลุ่มนี้ไม่อาจที่จะบรรลุถึง อำนาจที่ตนถือครองอยู่ในปัจจุบันหากไม่ได้รับการหนุนหลังจากกองทัพ การอุปถัมภ์จากคนในราชสำนักที่ทรงอิทธิพล และการเกื้อหนุนจากครอบครัวที่มั่งคั่งในกรุงเทพฯ

การที่กลุ่มอำนาจเก่าสนับสนุนพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ส่งผลต่อความวุ่นวายที่ไปไกลกว่าความขัดแย้งภายใน ประเทศ พันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงในประเด็นปราสาทเขาพระวิหาร นำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงที่จะก่อสงครามกับประเทศกัมพูชาในพื้นที่พิพาท ซึ่งถูกศาลระหว่างประเทศตัดสินไปแล้วตั้งแต่ปี 2505 (โดยสร้างความพึงพอใจแก่คู่กรณีทั้งสองประเทศ) แต่ในปี 2551 นายสมัครและพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลลงนามยินยอมให้รัฐบาลกัมพูชา นำเขาพระวิหารขอขึ้นทะเบียนต่อคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) พันธมิตรฯ และบรรดาผู้สนับสนุนปั้นแต่งว่านี่เป็นหลักฐานว่า “นอมินีของทักษิณ” มีเจตนาที่จะยกเขตแดนไทยให้กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชาถูกกดดันให้ลาออก ในเดือนกรกฎาคม 2551 กลุ่มชาตินิยมพยายามปักธงชาติไทยในพื้นที่ทับซ้อนบริเวณใกล้เขาพระวิหาร ซึ่งเป็นการกระทำที่ส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารไทยกับทหาร กัมพูชา [99] ช่วงเวลาที่เวทีพันธมิตรฯ เรียกร้องทุกคืนให้ “คืนเขาพระวิหารให้กับประเทศไทย” [100] และกษิต ภิรมย์ ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศบนเวทีพันธมิตรฯ ขณะที่ยึดสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ว่าจะเอาเลือดสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชามาล้างเท้า นับแต่นั้นมากำลังทหารของทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชายิงตอบโต้กันในพื้นที่ใกล้ ปราสาทเขาพระวิหารหลายครั้ง ความผันผวนของภูมิภาคที่ถูกจุดขึ้นโดยการกระทำของพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์สร้างความตื่นตระหนกให้กับคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ประเทศไทยค่อยๆไหลลื่นไปสู่การปกครองแบบเผด็จการทหาร และทำลายศักยภาพของภูมิภาคอาเซียนด้วยระบบที่โหดร้ายในระดับเดียวกับรัฐบาล ทหารพม่า ความมืดบอดด้วยความเกลียดชังที่พวกเขามีต่อทักษิณ อำมาตย์และหมู่มิตรในพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่เคยยับยั้งการกระทำของตัวเองแม้ว่าจะเกิดผลกระทบ ระหว่างประเทศร้ายแรงตามมา

 

000

 

6. ฤดูร้อนสีดำของประเทศไทย : การสังหารหมู่คนเสื้อแดง

ด้วยความโกรธและคับข้องใจที่ถูกทำลายเจตจำนงของตนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตลอดจนการปราบปรามการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างเป็นระบบต่อ สมาชิกและผู้ที่เห็นอกเห็นใจกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่รู้จักกันในนาม “คนเสื้อแดง” หลายแสนคนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศจึงเริ่มเคลื่อนสู่กรุงเทพฯ ในวันที่ 12 มีนาคม 2553 โดยประกาศว่าจะไม่เลิกชุมนุมจนกว่านายอภิสิทธิ์จะยุบสภาและมีการเลือกตั้ง ใหม่ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องบนท้องถนนของเมืองหลวง กรณีที่รับรู้กันดี คือการชุมนุมครั้งใหญ่ที่เมื่อเดือนเมษายน 2552 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมครั้งใหม่นี้ถูกอธิบายว่าเป็น “สงครามต้านเผด็จการครั้งสุดท้าย” สองเดือนให้หลัง กลุ่มคนเสื้อแดงยังคงปักหลักอยู่หลังแนวป้องกัน ซึ่งสร้างขึ้นรอบจุดยุทธศาสตร์และจุดที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์

 

6.1 คนเสื้อแดงต้องการอะไร

สำหรับ นปช. แล้ว การแสดงพลังครั้งนี้คือผลจากการทำงานด้วยความอุตสาหะตลอดหลายปี เป็นก่อตัวขึ้นหลังการรัฐประหารโดยกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ถูกโค่นอำนาจ กลุ่มคนเสื้อแดงกลายมาเป็นพลังกดดันเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยใน ช่วงเวลาหลายปีที่ถูกแทรกแซง ขอบคุณความพยายามอย่างไม่รู้เหนื่อยที่สร้างความตระหนักรู้ ระดมกำลังสนับสนุน และสร้างองค์กรที่ซับซ้อนขยายไปทั่วพื้นที่ของประเทศ ถือเป็นขบวนการทางสังคมที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยปรากฎขึ้นในประวัติ ศาสตร์ไทย จนอาจบอกได้ว่า ในขณะนี้ นปช. ก่อให้เกิดขบวนการประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

เนื่องจากกลุ่มคนเสื้อแดงได้รับแรงสนับสนุนจำนวนมากจากภาคเหนือของไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ยากแค้น ชนชั้นล่างในเมือง กลุ่มคนที่สนับสนุนและนักวิจารณ์จึงมักอธิบายไปในทางเดียวกันว่าการต่อสู้ ของพวกเขาเป็น “การต่อสู้ทางชนชั้น” แม้ว่าชนชั้นจะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างยิ่งต่อวิกฤตทางการเมืองของไทย แต่กลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้ต่อสู้ใน “สงครามชนชั้น” ระหว่างคนจนกับคนรวย

นปช.ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะขจัดความแตกต่างทางชนชั้นหรือแก้ไขโครง สร้างพื้นฐานทางสังคมของประเทศ อันที่จริง แม้ว่าการเรียกร้องมาตรการความยุติธรรมทางสังคมและโอกาสทางเศรษฐกิจจะเป็น องค์ประกอบหลัก แต่กลุ่มคนเสื้อแดงให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่อง “โอกาสที่เท่าเทียม” และ “ความเสมอภาค” แบบเดียวกับการเคลื่อนไหวกระแสหลักที่ต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง การเมืองมากกว่าความคิดเรื่องความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ตามแบบฉบับของลัทธิมาร์กซ

โดยแท้จริงแล้ว การเคลื่อนไหวของเสื้อแดงเป็นเรื่องของเศรษฐกิจน้อยกว่าเรื่องของการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อสู้เพื่อการถูกนับรวมและสิทธิในการออกเสียงทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ นปช.ได้สรุปประเด็นทางการเมืองของพวกเขาไว้ในหลัก 6 ประการ เพื่อเน้นให้เห็นถึงมิติการต่อสู้ทางการเมืองของพวกเขา ที่มากกว่าความไม่พอใจทางเศรษฐกิจ: 

1) เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองการปกครองคือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุข ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไทยอย่างแท้จริง เราปฎิเสธความพยายามใดๆ ทั้งในอดีตและอนาคต ในการใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือเพื่อปิดปากความเห็นต่างหรือเพื่อขับ เคลื่อนประเด็นโดยจำเพาะเจาะจง

2) ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ และปรับปรุงแก้ไขด้วยขั้นตอนที่โปร่งใส ผ่านการปรึกษาหารือและเป็นประชาธิปไตย

3) ผสานคนไทยเข้าด้วยกันเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจสังคม โดยใช้พลังของประชาชนเอง

4) ทำให้เกิดนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรม และระบบความยุติธรรมที่เท่าเทียม ปราศจากการขัดขวางหรือสองมาตรฐาน

5) รวบรวมคนไทยผู้รักประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และความยุติธรรมโดยเสมอหน้าทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อรื้อถอนและก้าวให้พ้นระบอบอำมาตยาธิปไตย

6) ใช้สันติวิธีเพื่อบรรลุเป้าหมายข้างต้น

เช่นเดียวกับขบวนการทางสังคมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงทางสังคม คนเสื้อแดงได้ใช้เป้าหมายอย่างกว้างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีความหลากหลายซึ่งอาจไม่จำ เป็นต้องมีอุดมการณ์ใดร่วมกันโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม โดยแก่นแล้ว ขบวนการคนเสื้อแดงก็สู้เพื่อประเทศไทยที่เป็นประชาธิปไตย กลุ่มคนเสื้อแดงต้องการที่จะเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ประเทศที่ให้ความ สำคัญกับการเลือกตั้ง รัฐบาลจากการเลือกตั้งมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริง และพลเมืองทุกคนได้รับการประกันสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐาน ที่สำคัญที่สุด ผู้สนับสนุน นปช. ก็คือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งมีสิทธิ์เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และ เท่าเทียม แต่ไม่เคยเป็นที่ยอมรับ เนื่องมาจากระดับรายได้ของพวกเขา รวมถึงสถานะทางสังคม การศึกษา ถิ่นฐานบ้านเกิด และภูมิหลังชาติพันธุ์ สำหรับพวกเขาแล้ว การต่อสู้ของคนเสื้อแดงในประเด็นเรื่องชนชั้นนั้น สำคัญน้อยการต่อสู้เพื่อการยืนยันว่า พวกเขามีความเสมอภาคเทียบเท่ากลุ่มอำนาจเก่าในกรุงเทพฯ จำนวนน้อย ซึ่งผูกขาดอำนาจทางการเมืองมาอย่างยาวนานโดยอ้างว่าเสียงข้างมากโง่เขลา ไร้การศึกษา และซื้อได้ง่าย เกินกว่าจะวางใจให้เลือกผู้ปกครองประเทศ

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตร ได้จุดประกายการเคลื่อนไหวนี้ด้วยการเพาะความรู้สึกมีอำนาจทางการเมืองให้ กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ไม่ถูกให้ความสำคัญมาเนิ่นนาน ด้วยการสนับสนุนให้ตระหนักถึงสิทธิของพวกตนเอง และด้วยการกระตุ้นให้เกิดความมั่นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในพลังของตนที่ จะก่อร่างอนาคตของประเทศ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมหลายทศวรรษคือรากฐานที่ทำให้ประชาชนไทย ตื่นตัว ระบบการปกครองที่วางอยู่บนการยอมรับเสียงส่วนใหญ่ปราศจากความมั่นคงในระยะ ยาวจากหลายสาเหตุ ซึ่งกระบวนการทำให้ประเทศก้าวสู้ความเป็นสมัยใหม่เป็น สาเหตุที่สำคัญที่สุด เมื่อคำนึงว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนมากในประเทศกำลังเปลี่ยนเป็น พลังที่ซับซ้อน ทะเยอะทะยาน และทันสมัย ประเด็นก็มีอยู่ว่าใครจะเป็นผู้ลงมือช่วงชิงกรสนับสนุนจากคน กลุ่มนี้ผ่านกระบวนการที่ทำให้มวลชนมีบทบาทที่ได้สัดส่วนกับพลัง ปริมาณ และความปรารถนาที่พวกเขามีอย่างมหาศาล ทักษิณเข้าใจปรากฎการณ์นี้และใช้ประโยชน์จากมัน แต่เขาไม่ได้สร้างมันขึ้นมา และแม้คนเสื้อแดงจำนวนมากอยากเห็นทักษิณกลับสู่ตำแหน่งที่เคยได้รับเลือกอีก ครั้ง แต่ขบวนการคนเสื้อแดงก็ก้าวข้ามทักษิณไปแล้ว

ในการปราศรัยกับผู้ชุมนุมเมื่อปี 2551 แกนนำ นปช. และอดีตโฆษกรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ผู้ปราศรัยที่มีวาทศิลป์ที่สุดคนหนึ่งในขบวนการคนเสื้อแดงบอกเล่าถึงการ ต่อสู้ของพวกเขาเพื่ออนาคตที่พวกเขาจะมีส่วนร่วมและมีความเป็นประชาธิปไตย มากขึ้น :

เราเกิดบนผืนแผ่นดิน เราโตบนผืนแผ่นดิน เราก้าวเดินบนผืนแผ่นดิน เมื่อเรายืนอยู่บน ดิน เราจึงห่างไกลเหลือเกินกับท้องฟ้า พี่น้องครับ

เมื่อเรายืนอยู่บนดิน ต้องแหงนคอตั้งบ่า แล้วเราก็รู้ว่า ฟ้าอยู่ไกล

เมื่อเราอยู่บนดิน แล้วก้มหน้าลงมา เราจึงรู้ว่า เรามีค่า เพียงดิน

แต่ผมแน่ใจว่า ด้วยพลังของคนเสื้อแดง ที่มันจะมากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทุกนาที ทุกนาที แม้เรายืนอยู่บนผืนดิน แม้เราพูดอยู่บนผืนดิน แต่จะได้ยินถึงท้องฟ้า แน่นอน

เสียงไชโยโห่ร้องของเราในยามนี้ จากคนที่มีค่าเพียงดิน จากคนที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดิน จะได้ยินถึงท้องฟ้า แน่นอน

คนเสื้อแดง จะบอกดิน บอกฟ้าว่า คนอย่างข้าก็มีหัวใจ

คนเสื้อแดง จะบอกดิน บอกฟ้าว่า ข้าก็คือคนไทย

คนเสื้อแดง จะถามดิน ถามฟ้าว่า ถ้าไม่มีที่ยืนที่สมคุณค่า จะถามดิน ถามฟ้าว่า จะให้ข้าหาที่ยืนเองหรืออย่างไร [101]

คนเสื้อแดงไม่ได้สู้เพื่อทักษิณ แต่พวกเขาสู้เพื่อตัวพวกเขาเอง

 

6.2 มาตรการอันผิดกฎหมายของการรณรงค์ประหัตประหารและความรุนแรง

ก่อนที่ นปช.จะเริ่มประท้วงต่อต้านการช่วงชิงเจตจำนงของประชาชนครั้งล่าสุด รัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามปิดปากผู้ที่เห็นต่างด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพและพ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เฉพาะในปี 2552 มีรายงานว่าศาลรับฟ้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (การกระทำความผิดต่อมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทย) จำนวน 164 คดี มากกว่าสถิติของปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงหลังรัฐประหารที่มีอยู่ 126 คดี และมากกว่าสองเท่าของคดีในปี 2551 ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของพรรคพลังประชาชน (77 คดี) ควรจะต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่าจำนวนคดีสูงสุดก่อนการรัฐประหารที่บันทึกไว้ ในปี 2548 มีการรับฟ้อง 33 คดี และผลจากความเข้มงวดของกฎหมายและความไม่เต็มใจของสื่อกระแสหลักในการ เปิดพื้นที่เพื่อถกเถียงในเรื่องซึ่งอาจทำลายภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ ทำให้คดีจำนวนมากหายไปจากการนำเสนอของสื่อในระดับชาติและนานาชาติ [102]

นอกจากนี้ ปี 2552 ยังเป็นปีแห่งการฟ้องร้องอย่างต่อเนื่องอีกด้วย บางคดีมีการตัดสินและลงโทษอย่างรุนแรงต่อนักกิจกรรมเสื้อแดงซึ่งถูกกล่าวหา ด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หนึ่งปีก่อนหน้า เมื่อครั้งที่ นปช.ตั้งเวทีขนาดเล็กต่อต้านการชุมนุมที่ยืดเยื้อของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย สิ่งที่รบกวนจิตใจที่สุดคือคดีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) ซึ่งพิพากษาคดีไปเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ให้จำคุก 18 ปี สำหรับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 3 กระทง (หนึ่งกระทงต่อหนึ่งการกระทำผิด) จากการปราศรัยของเธอ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 การพิจารณาคดีของเธอเป็นไปอย่างปิดลับด้วยเหตุผลเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” ดา ตอร์ปิโดต่างจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่ที่ถูกตั้งข้อหาคล้ายคลึงกันและถูกปฏิเสธ หลักการตามกระบวนการยุติธรรม เธอปฏิเสธที่จะยอมรับข้อกล่าวหา สิ่งที่เธอได้รับกลับมาไม่ใช่เพียงโทษร้ายแรงเป็นพิเศษเท่านั้น ทันทีที่มีการพิพากษา เธอก็ถูกขังเดี่ยวและให้เปลี่ยนป้ายชื่อซึ่งระบุถึงฐานความผิดของเธอ ซึ่งทำให้เธอเป็นเป้าในการถูกคุกคาม

[103]

การ ใช้ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในทางที่ผิดมีส่วนทำให้การฟ้อง ร้องด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสมบูรณ์ขึ้น พันตำรวจเอกสุชาติวงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ออกมายอมรับเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้ปิดกั้นเว็บไซต์ที่กระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไปแล้วกว่า 50,000 เว็บไซต์ [104]

การดำเนินคดีในข้อหาการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่สาธารณะให้ความสนใจมากที่สุด 2 คดี ได้แก่ คดีของสุวิชา ท่าค้อ และจีรนุช เปรมชัยพร สุวิชา ท่าค้อ ถูกจับกุมเมื่อเดือนมกราคม 2552 เนื่องจากโพสต์ภาพซึ่งอาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาถูกพิพากษาในเวลาต่อมาด้วยโทษจำคุก 20 ปีจากความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย แต่เนื่องจากให้การรับสารภาพจึงได้รับการลดโทษเหลือ 10 ปี และเมื่อถูกจำคุกอยู่ 1 ปี 6 เดือน ในที่สุด สุวิชาก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553

จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ข่าวอิสระประชาไท ถูกจับกุมในเดือนมีนาคม 2552 และถูกตั้งข้อกล่าวหา 10 กระทงจากการละเมิด พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ เธอถูกตั้งข้อหาเนื่องจากไม่สามารถลบความเห็นในเว็บบอร์ดประชาไทที่ทางการ มองว่าเป็นการให้ร้ายระบอบกษัตริย์ได้ทันท่วงที ต่อมา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ขอให้ลบความเห็นเหล่านี้ออก ในการไต่สวนคดีซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เธออาจถูกตัดสินจำคุก 50 ปี ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ประชาไทก็ถูกทางการปิดกั้นอยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่มีการชุมนุมครั้งล่าสุดของคนเสื้อแดง จากกรณีดังกล่าวทำให้มีการตัดสินใจปิดเว็บบอร์ดในปลายเดือนกรกฎาคม 2553

การจับกุมด้วยข้อหาละเมิด พรบ. คอมพิวเตอร์ฯ รายอื่นๆ รวมถึง ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์ (จากการเผยแพร่ซ้ำวิดีโอที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์) ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล (จากการโพสท์ข้อความต่อต้านสถาบันกษัตริย์) วิภาส รักสกุลไทย (จากการโพสท์ข้อความหมิ่นในเฟซบุ๊ค) และอีก 4 รายที่ถูกกล่าวหาว่า เผยแพร่ "ข่าวลือ" เกี่ยวกับพระอาการประชวร ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 2 รายที่เพียงแค่แปลข่าวในประเด็นนี้จากสำนักข่าวบลูมเบิร์กเท่านั้น [105]

การใช้อำนาจอย่างเป็นระบบในการจัดการกับผู้กระทำผิดทางการเมืองทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกประณามจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว [106] และองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน [107] จากการที่รัฐบาลมีการฟ้องร้องดำเนินคดีและคุกคามคู่แข่งทางการเมือง ในเดือนมกราคม 2553 ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน แสดงความเสียใจกับ "การถดถอยอย่างร้ายแรง" ของสิทธิมนุษยชนในไทย จากการสังเกตการณ์นับตั้งแต่อภิสิทธิ์ขึ้นเป็นรัฐบาล [108] ตามรายงาน การไล่ล่าคู่แข่งทางการเมืองจะยังดำเนินต่อไปตราบเท่าที่รัฐบาลชุดนี้ยัง อยู่ในอำนาจ จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคนใหม่ ให้คำมั่นว่าจะมีการปราบปรามต่อไปด้วยเหตุผลว่า "รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากเกินไป" [109] โดย สอดคล้องกัน ในเดือนมิถุนายน คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งหน่วยงานใหม่คือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อกำจัดเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ [110] ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีก็จัดตั้งโครงการ "ลูกเสือไซเบอร์" เพื่อแนะนำให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตอย่าง "ถูกต้อง" [111] ซึ่งในวันถัดมานั่นเอง มีผู้ต้องหาคดีข่มขืนเด็กได้รับการประกันตัวและอนุญาตให้ออกนอกประเทศ [112] กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประกาศว่าพวกเขาได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่ 300 นาย เพื่อตรวจสอบผู้ที่มีความเห็นหรือพฤติกรรม "เป็นภัยหรือไม่ประสงค์ดี" ต่อสถาบันกษัตริย์ [113] รักษาการผู้อำนวยการกรมสอบสวนคดีพิเศษ พล.ต.เสกสรรค์ ศรีตุลาการ รายงานต่อสภาว่ามีผู้ต้องสงสัยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพราว 2,000 รายที่กำลังอยู่ภายใต้การสืบสวน เขากล่าวอีกว่าการกดดันจากภายนอกอย่างต่อเนื่องทำให้ดีเอสไอเริ่มกลายเป็น "เครื่องมือทางการเมือง" [114]

ทั้งหมดทั้งมวลแล้วรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ดำเนินนโยบายที่มีความรุนแรงอย่าง ฉกรรจ์ต่อกลุ่มคนเสื้อแดง ก่อนหน้าการสังหารหมู่ครั้งล่าสุด กรณีใกล้เคียงกันที่เป็นที่รับรู้คือ การใช้กองกำลังทหารปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ปะทุขึ้นในช่วงเทศกาล สงกรานต์ในเดือนเมษายน 2552 ซึ่งเกิดขึ้นในระดับที่เล็กกว่า

ในวันที่ 11 เมษายน 2552 ผู้ชุมนุมเสื้อแดงหลายร้อยคนใช้ความรุนแรงทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่พัทยาต้องยกเลิก โดยการบุกเข้าไปในโรงแรมที่มีการประชุมอยู่ ภายหลังปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างไม่ได้คาดหมาย จุดสนใจของการชุมนุมเริ่มเคลื่อนไปที่กรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงได้ปิดถนนและเกิดการชุมนุมที่ไร้การนำขึ้นรอบเมือง

สำหรับรัฐบาล ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้กลุ่ม "เสื้อน้ำเงิน" ของเนวิน ชิดชอบโจมตีเสื้อแดงที่พัทยา หันมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดโดยรอบ เพื่อเตรียมการปราบปรามอย่างเด็ดขาด เช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน กองทัพส่งกำลังเข้ามาสลายการชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งทำให้เสื้อแดงแตกระจายกันไปตามจุดต่างๆ ทั่วกทม. การปราบปรามทำให้แกนนำนปช. ยอมจำนนและยุติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือด อีกเช่นเคยที่รัฐบาลอ้างว่ากองทัพปฏิบัติตามมาตรฐานสากล โดยการยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อเตือน และใช้กระสุนยางเพื่อป้องกันตัว ซึ่งข้ออ้างนี้ถูกปัดตกไปด้วยภาพถ่ายและวิดีโอของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ต่อมาคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดงสรุปว่าไม่ มีคนเสื้อแดงเสียชีวิตจากการปะทะดังกล่าว [115] มีผู้บาดเจ็ด 123 ราย ขณะที่ฝ่ายผู้ชุมนุมระบุว่าคนเสื้อแดงอย่างน้อย  6 ราย ซึ่งบาดเจ็บจากการถูกยิง ถูกลำเลียงขึ้นรถบรรทุกทหารไปอย่างรวดเร็วและไม่พบเห็นอีกเลย หลายวันหลังจากการปราบปรามผู้ชุมนุมมีการพบศพของการ์ดนปช. 2 รายในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีร่องรอยของการซ้อมทรมาน [116]

ในรายงานประจำปี 2553 ขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุถึงมาตรการที่รัฐบาลใช้กับผู้ชุมนุมในช่วงต้น ปี 2552 ซึ่งแสดงให้เห็นการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต่อ ต้านกลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มเสื้อเหลืองที่สนับสนุนกลุ่มอำนาจเก่า ในข้อกล่าวหาเดียวกัน

- การใช้สองมาตรฐานในการบังคับใช้กฏหมายของรัฐบาลทำให้ความตึงเครียดทางการ เมืองยิ่งทวีขึ้น และการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายหยั่งลึกมากขึ้น แกนนำและสมาชิก นปช. ถูกจับกุม กักขัง และตั้งข้อกล่าวหาทางอาญาหลังการชุมนุมยุติ แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของสาธารณะที่เรียกร้องให้มีการสืบสวน เหตุการณ์อย่างไม่แบ่งแยกฝ่าย ซึ่งรวมถึงกรณีความรุนแรงซึ่งมีแรงจูงใจทางการเมืองและการละเมิดสิทธิมนุษย ชนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง ในช่วงที่มีการชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อปี 2551 ซึ่งเปิดโอกาสให้อภิสิทธิ์ได้ขึ้นสู่อำนาจ การยืดเวลาดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรฯ ยิ่งทำให้สาธารณชนเข้าใจว่า พันธมิตรฯ ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทางกฏหมาย [117] 

รัฐบาลทหารของไทยอุปโลกน์ให้คนเสื้อแดงจำนวนมากมีแนวโน้มว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" ขณะเดียวกันยังมีความพยายามอย่างเป็นระบบในการทำลายความน่าเชื่อถือของขบวน การคนเสื้อแดง ด้วยการสั่งดำเนินคดี การคุกคาม และการใช้อำนาจศาลพิเศษ ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์นำมาใช้กับกลุ่ม นปช. และศัตรูทางการเมืองของตนอย่างไม่หยุดหย่อน นับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจในเดือนธันวาคม 2551โดยกลไกของกองทัพ องคมนตรี ศาล และกลุ่มพันธมิตรฯ

 

6.3 บดขยี้เสื้อแดง

ในวันที่ 8 มีนาคม 2553 ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ประกาศว่าเสื้อแดงจะชุมนุมใหญ่ที่ กทม. เริ่มจากวันที่ 14 มีนาคม เขากล่าวย้ำว่าการชุมนุมจะเป็นไปอย่างสงบสันติ โดยระบุว่าเสื้อแดงจะดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตย และพวกเขาไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในชาติ วันถัดมาอภิสิทธิ์ก็ประกาศใช้ พรบ. ความมั่นคงฯ

เมื่อเสื้อแดงเข้ามาที่กรุงเทพฯ พวกเขาเริ่มปักหลักชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าฯ บนถนนราชดำเนิน การเลือกพื้นที่ชุมนุมมีนัยเชิงสัญลักษณ์อย่างยิ่งเพราะทำให้เห็นได้ว่าการ เคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการสืบทอดมรดกจากผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง ประชาธิปไตยในปี 2516 และ 2535 ซึ่งใช้พื้นที่เดียวกัน แม้จำนวนผู้ชุมนุมต่ำกว่าที่เคยลั่นวาจาไว้ว่าคนเสื้อแดงเข้ามาชุมนุม กรุงเทพจำนวนล้านคน แต่การชุมนุมที่ถูกจัดตั้งมาอย่างดีครั้งนี้อาจจะเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่ สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย และแน่นอนว่าใหญ่ที่สุดในรอบ 35 ปีที่ผ่านมา ข้อเรียกร้องของพวกเขาก็ง่ายๆ เพียงแค่ให้อภิสิทธิ์ลาออก "คืนอำนาจให้ประชาชน" และจัดการเลือกตั้งใหม่

การตอบรับที่คนเสื้อแดงได้รับในกรุงเทพฯ มีหลากหลาย มีรายงานว่าจริง ๆ แล้วผู้ชุมนุมเสื้อแดงส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ นปช. ได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากประชาชนหลายล้านคนจากภาคเหนือและภาคอีสานที่ ย้ายเข้ามากรุงเทพฯ ทั้งแบบถาวรและการย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาล มีประชาชนจำนวนมากพอๆ กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานความมั่นคงที่คอยให้กำลังใจพวกเขา เวลาที่พวกเขาเคลื่อนขบวนไปทั่วเมืองตลอดหลายสัปดาห์ในช่วงต้นของการชุมนุม เป็นไปได้ว่าชาวกรุงเทพฯยังไม่ได้ตัดสินใจใดๆ บางส่วนรู้สึกว่าการดำเนินชีวิตไม่ได้รับความสะดวกอันเนื่องมาจากการชุมนุม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าของกลุ่ม "เสื้อสี" ขณะที่หลายคนอาจไม่แน่ใจว่าการชุมนุมจะก่อให้เกิดผลอะไร

อย่างไรก็ตาม ภาพของโครงสร้างสังคมไทย คนเสื้อแดงถูกเกลียดชังและดูถูกโดยสื่อในกรุงเทพฯ และชนชั้นกลางระดับบนจำนวนมากที่สนับสนุนเสื้อเหลือง โดยมากแล้ว สื่อที่ถูกรัฐบาลควบคุมต่างเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องและความคับแค้นของพวกเขา แต่กลับนำเสนอซ้ำ ๆ อย่างเป็นระบบว่าผู้ชุมนุมเป็นกลุ่มคนที่ทักษิณว่าจ้างมา ถูกซื้อ หรือถูกล้างสมองเพื่อเข้าร่วมชุมนุมโดยมีเป้าหมายเพียงต้องการคืนคน ๆ หนึ่งสู่อำนาจ นำความมั่งคั่งของเขากลับมา และนิรโทษกรรมให้เขา ในวันที่ 13 มีนาคม เมื่อคนมารวมตัวกันที่เมืองหลวง หน้าแรกของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์ก็พาดหัวว่า “นปช. บ้านนอกแห่เข้ากรุง” การเรียกร้องให้มีการปราบปรามยิ่งทำให้การชุมนุมต่อต้านและด่าทอรัฐบาลมาก ขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญมากที่สุดคือ การที่เสื้อแดงเข้ายึดพื้นที่ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ใจกลางย่านการค้าระดับสูงในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวยและสิทธิพิเศษ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านการค้า เดาได้ไม่ยากว่ากลุ่มพันธมิตรฯ จะออกมาโจมตีอย่างแข็งกร้าวและเรียกร้องให้รัฐบาลปราบปรามผู้ชุมนุมอย่าง เด็ดขาด

แม้ว่าในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการชุมนุมจะเป็นไปอย่างสงบสันติ จนแทบจะกลายเป็นงานรื่นเริง แต่เมื่อมาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน รัฐบาลก็ตัดสินใจขับไล่ผู้ชุมนุมออกไปจากถนนกรุงเทพฯ ในปฏิบัติการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลออกประกาศสั่งห้ามชุมนุมในพื้นที่ ในวันที่ 7 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นำโดยรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณ [118] ในวันที่ 8 เมษายน ทหารบล็อกสัญญาณดาวเทียมสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชนแนล แต่เมื่อผู้ชุมนุมพากันไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์ไทยคม จังหวัดปทุมธานี ก็สามารถทำให้พีทีวีกลับมาออกอากาศได้ระยะหนึ่ง รัฐบาลก็ตัดสัญญาณพีทีวีอีก

คนจำนวนมากถูกสังหารในช่วงที่เกิดเหตุรุนแรงวันที่ 10 เมษายน ขณะที่เสื้อแดงใช้ก้อนหิน ประทัด ระเบิดขวด และอาวุธที่ประกอบขึ้นเองอย่างง่ายๆ ตอบโต้กับกองกำลังทหารที่ติดอาวุธหนัก เมื่อรัฐบาลยอมหยุดยิง มีผู้เสียชีวิต 27 คน ประกอบด้วยสมาชิก นปช. 21 ราย และเจ้าหน้าที่ทหารอีกจำนวนหนึ่งซึ่งถูกสังหารโดยกลุ่มคนลึกลับที่เรียกว่า "ชายชุดดำ" ซึ่งยังไม่ชัดเจนเรื่องแรงจูงใจและไม่ทราบว่าอยู่ฝ่ายใด ปฏิบัติการสลายการชุมนุมที่ล้มเหลวทำให้การเผชิญหน้าตึงเครียดขึ้น ฝ่ายรัฐบาลรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อหาวิธีการอื่นๆ แก้วิกฤติ ด้านกลุ่มเสื้อแดงหันมาปักหลักชุมนุมต่อที่ราชประสงค์

3 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีประกาศแผนการปรองดอง ซึ่งในนั้นมีข้อเสนอจะจัดการเลือกตั้งอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤศจิกายนนี้ ด้วย โดยแลกกับการให้เสื้อแดงยอมยุติการชุมนุม ไม่มีหลักประกันใดว่าอภิสิทธิ์จะยุบสภาตามที่เสนอ รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการส่งสัญญาณว่า จะผ่อนปรนมาตรการปิดกั้นสื่อที่ดำเนินมาอย่างเข้มข้นในช่วงที่มีการชุมนุมลง ก่อนการเลือกตั้ง รวมถึงไม่มีการให้คำมั่นว่าจะดำเนินสอบสวนที่เป็นอิสระในกรณีเหตุรุนแรงที่ เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน เสื้อแดงยอมรับข้อเสนอปรองดองของรัฐบาลแต่ก็ปฏิเสธข้อเสนอที่ปราศจากหลัก ประกันเหล่านั้น และหากมองย้อนกลับมาที่ปัจจุบัน การที่คนเสื้อแดงเคลือบแคลงในคำสัญญาของอภิสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แล้ว

13 พฤษภาคม หนึ่งวันหลังจากที่รัฐบาลถอนข้อเสนอให้มีการเลือกตั้ง พล.อ. ขัตติยะ สวัสดิผล ทหารนอกแถวที่รู้จักกันในนาม เสธ.แดง ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นแกนนำสายฮาร์ดคอร์ ถูกยิงเข้าที่ศีรษะด้วยสไนเปอร์ขณะยืนอยู่หน้าไมโครโฟนและกล้องและต่อหน้า ต่อตาผู้สื่อข่าวตะวันตก ที่มุมหนึ่งของสวนลุมพินี [119] กระสุนที่ปลิดชีวิตของเสธ.แดง (เขาเสียชีวิตไม่กี่วันหลังจากนั้น) เป็นเพียงกระสุนนำทางก่อนให้กับกระสุนอีกหลายพันนัดซึ่งทหารยิงใส่ผู้ชุมนุม ที่ไม่มีอาวุธ ผู้บริสุทธิ์ที่สัญจรไปมา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครและผู้สื่อข่าวในสัปดาห์ถัดมา ขณะที่ทางเสื้อแดงพยายามติดต่อเรียกร้องความช่วยเหลือจากต่างชาติเพื่อเปิด ทางสู่การเจรจาซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยวิธีทางการเมือง แต่รัฐบาลก็ยังเลือกบดขยี้พวกเขาด้วยกำลังทหาร มีการลำเลียงกองกำลังทหารหลายพันนายด้วยรถหุ้มเกราะสู่ท้องถนนของกรุงเทพฯ

หลายวันหลังการลอบสังหารเสธ.แดง รัฐบาลปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขายืนยันว่าจะยิง "ผู้ก่อการร้าย" [120] และก่อนหน้านี้ก็เคยระบุว่าเสธ.แดงเป็น “ผู้ก่อการร้าย” [121] การสังหารหมู่เกิดขึ้นทางทิศเหนือและทิศใต้ของพื้นที่การชุมนุมที่ราชประสงค์ รวมถึงพื้นที่แถวดินแดงและลุมพินี

ทหารประกาศให้พื้นที่บางแห่งเช่น ซอยรางน้ำซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ชุมนุมและถนนพระราม 4 ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ เป็น "เขตใช้กระสุนจริง" ที่นั่นทหารได้รับอนุญาตให้ยิงผู้ชุมนุมทุกคนที่พบซึ่งแทบทั้งหมดไม่มีอาวุธ  ผู้เห็นเหตุการณ์ที่ได้บันทึกในส่วนนี้ไว้อย่างละเอียด คือ ผู้สื่อข่าวที่ชื่อ นิค นอสติตซ์ [122] ไม่ว่าจะโดยอุบัติเหตุหรือด้วยยี่ห้อของทหารไทยที่ไม่เคยไยดีชีวิตคนก็ตาม มีผู้สัญจรไปมาจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บและถูกทหารยิงเสียชีวิต หนึ่งในคนเหล่านั้นมีเด็กอายุ 10 ปีถูกยิงที่ท้องใกล้กับสถานีแอร์พอร์ทลิงค์มักกะสัน [123] ในเวลาต่อมาโรงพยาบาลก็แถลงว่าเขาเสียชีวิต มีสิ่งที่ส่อให้เห็นว่าผู้สื่อข่าวตกเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน พยานผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งในแนวหลังทหารที่ถนนพระราม 4 ได้ยินทหารถามผู้บังคับบัญชาว่า "ยิงชาวต่างชาติกับนักข่าวได้ไหม?" [124] 

ที่น่าอับอายที่สุดคือการที่ทหารปิด "พื้นที่สีแดง" ไม่ให้อาสาสมัครหน่วยแพทย์พยาบาลฉุกเฉินเข้าไปในพื้นที่ [125] รวมถึงระดมยิงใส่เจ้าหน้าที่อาสาฯ ขณะที่พวกเขากำลังช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บ [126] และกำลังทำหน้าที่กู้ชีวิตผู้ประท้วงที่มีบาดแผลอีกเป็นจำนวนมาก

การปะทะที่ดุเดือดและอันตรายถึงชีวิตผ่านไปหลายวันทำให้การป้องกันของ เสื้อแดงอ่อนลงอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาป้องกันตนเองด้วยการเผายางอันเป็นความพยายามที่ไร้ ประโยชน์ในการจะสกัดกั้นการรุกคืบของกองทัพสมัยใหม่ แม้กระทั่งความพยายามเจรจาต่อรองในครั้งสุดท้ายซึ่งยังคงค้างคาอยู่ในวันที่ 18 พฤษภาคม ก็ถูกรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัดทิ้ง [127] จนกระทั่งในวันที่ 19 พฤษภาคม ทหารก็ทะลวงผ่านแนวกั้นของเสื้อแดงได้ หลังจากนั้นไม่นานนัก แกนนำเสื้อแดงที่ราชประสงค์ประกาศยุติการชุมนุมและยอมมอบตัวกับตำรวจเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการนองเลือดมากกว่านี้ ขณะที่วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 กลายเป็นวันที่มืดมนที่สุดวันหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เพราะมีการสังหารหมู่ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งเลวร้ายที่สุดของ ประเทศ จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มอีกมากกว่านี้หากแกนนำนปช.ไม่ประกาศยุติการ ชุมนุมภายในเวลาที่เกือบจะสายเกินไป

อย่างไรก็ตาม การยอมแพ้ของแกนนำเสื้อแดงก็ยังไม่ทำให้การเข่นฆ่าจบลง หลายชั่วโมงหลังจากที่เสื้อแดงถูกสลายการชุมนุม ประชาชนอีก 6 รายเสียชีวิตจากการโจมตีที่วัดปทุมวนาราม ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเขตอภัยทานของผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ต้องการหลบซ่อนจากการ ใช้ความรุนแรง ผู้สื่อข่าวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บในพื้นที่อธิบายว่ามีสไนเปอร์ยิงจากมา จากบนรางรถไฟฟ้าเข้าใส่กลุ่มคนที่ไม่มีอาวุธในเขตอภัยทานของวัด ป็นส่วนหนึ่งของพลเรือนที่ถูกยิงเสียชีวิตมีพยาบาลอาสานอกเครื่องแบบอยู่ หนึ่งราย [128]

จากตัวเลขอย่างเป็นทางการ มีประชาชนเสียชีวิต 55 รายในช่วงที่มีการปราบปรามนานนับสัปดาห์จนทำให้เสื้อแดงสลายการชุมนุมไปใน วันที่ 19 พฤษภาคม แม้จะมีการกล่าวหาเรื่อง "การก่อการร้าย" ซ้ำ ๆ แต่ก็ไม่รายงานเจ้าหน้าที่เสียชีวิตเลยในช่วงที่มีปฏิบัติการ ขณะที่ผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงไม่มีใครเลยที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีอาวุธ ฝ่ายรัฐบาลก็ยังคงปฏิเสธความรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ซึ่งกำลังจะปลดเกษียณปฏิเสธเมื่อไม่นานมานี้ว่าทหารไม่ได้ยิงใส่ผู้ชุมนุม ที่ไม่มีอาวุธ เขาบอกว่าทหาร "ไม่เคยตั้งใจทำร้ายประชาชน" การดำเนินการสลายการชุมนุมนั้นกระทำตามหลัก "มาตรฐานสากล" [129]

 

6.4 มาตรการสากลว่าด้วยการใช้กำลัง

ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ดูแลและเป็นผู้ ตีความ โดยคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 18 คนตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติของ ICCPR เพื่อดูแลการบังคับใช้ ICCPR ในความเห็นทั่วไปเรื่องสิทธิในการมีชีวิตอยู่ซึ่งได้รับการประกันไว้ในมาตรา 6 ของ ICCPR นั้น คณะกรรมการระบุว่า:

รัฐภาคีควรมีมาตรการ...ในการป้องกันไม่ให้เกิด การใช้อำนาจสั่งการสังหารประชาชนของตนเอง การที่ผู้มีอำนาจในรัฐปล่อยให้เกิดการสูญเสียชีวิตเป็นเรื่องที่สร้างแรงกด ดันอย่างมาก เพราะฉะนั้นกฏหมายควรจะควบคุมอย่างเข้มงวดและจำกัดสถานการณ์ที่จะนำไปสู่การ สูญเสียในชีวิตจากการใช้อำนาจรัฐ [130]

อย่างน้อยที่สุด หากจะให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ระบุไว้ใน ICCPR แล้ว รัฐต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของสหประชาติ ในเรื่องการใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฏหมาย (ตาม "หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติ") หลักการนี้มีไว้เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติเช่นไทยรับรองและ สนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นระบบขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้ กฏหมาย หลักการเหล่านี้จะต้องได้รับการพิจารณาและต้องคำนึงถึงในกฏหมายส่วนท้องถิ่น รวมถึงระเบียบปฏิบัติของประเทศสมาชิกอื่นๆ [131] หลักการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและการสังหารหมู่เสื้อแดงอย่างยิ่ง โดยควรได้รับการคำนึงถึงขอบเขตที่เหมาะสมในการใช้กำลังในสถานการณ์ที่มีการ ชุมนุม รวมถึงกรณีเกิดการชุมนุมที่ไม่ถูกกฎหมายหรือเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงด้วย

หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติเป็นหลักการที่ตั้งขึ้นโดยมีลดการใช้อาวุธ ร้ายแรงต่อพลเรือนให้น้อยที่สุด ดังนั้นหลักการของสหประชาชาติจึงจำเป็นสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งหมด :

หลักการข้อที่ 3 การพัฒนาหรือการวางกำลังอาวุธยับยั้งที่ไม่อยู่ในขั้นร้ายแรง ควรกระทำอย่างระมัดระวังเพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการทำอันตรายต่อผู้ที่ไม่ เกี่ยวข้องและการใช้อาวุธนั้นควรมีการควบคุมอย่างดี

หลักการข้อที่ 4 การบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หากเป็นไปได้ควรใช้วิธี การปลอดความรุนแรงให้ถึงที่สุด ก่อนพิจารณาการใช้กำลังหรืออาวุธ พวกเขาใช้กำลังอาวุธเพียงแค่ในกรณีที่วิธีการอื่น ๆ ไม่สามารถใช้ได้แล้ว หรือไม่มีสิ่งใดที่บ่งบอกว่าจะทำให้เกิดผลตรงตามเป้าหมายแล้วเท่านั้น

หลักการข้อที่ 5 เมื่อใดก็ตามที่จำเป็นต้องใช้กำลังและอาวุธอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายควร

a) ปฏิบัติอย่างอดกลั้นในการใช้กำลังและปฏิบัติตามสัดส่วนความร้ายแรงของสถานการณ์ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ทางกฎหมาย

b) ทำให้เกิดความเสียหาย การบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงควรเคารพและรักษาชีวิตมนุษย์

c) ทำให้แน่ใจว่าการช่วยเหลือและการรักษาพยาบาลสามารถเข้าถึงผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือคนที่ได้รับผลกระทบ โดยด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [132]

หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติในเรื่องการสลายการชุมนุมมีดังนี้ :

หลักการข้อ 12 เมื่อทุกคนได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในการชุมนุมที่สงบและถูกกฎหมาย ตามหลักการของประกาศสิทธิมนุษยชนและสนธิสัญญานานาชาติด้านสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง รัฐบาลและหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายและเจ้าหน้าที่ควรรับรู้ว่ากำลังและ อาวุธจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติตามหลักการข้อ 13 และ 14

หลักการข้อ 13 ในการสลายการชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย แต่ไม่ได้มีความรุนแรง เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายควรหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง หรือหากไม่สามารถกระทำได้ ก็ควรใช้กำลังให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น

หลักการข้อ 14 ในการสลายการชุมนุมที่มีความรุนแรง เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายอาจใช้อาวุธได้ก็ต่อเมื่อวิธีการอื่นๆ ที่อันตรายน้อยกว่าไม่สามารถใช้ได้ และควรใช้กำลังให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายไม่ควรใช้อาวุธสงครามในกรณีนี้ เว้นแต่สภาพการเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักการข้อ 9 [133]

หลักการข้อที่ 9 ระบุว่า:

หลักการข้อที่ 9 เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่สามารถใช้อาวุธปืนกับบุคคลได้ ยกเว้นเพื่อป้องกันตนเอง หรือปกป้องบุคคลอื่นจากอันตรายถึงชีวิตหรือการบาดเจ็บขั้นร้ายแรงเฉพาะหน้า เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิต เพื่อจับกุมบุคคลซึ่งกำลังกระทำอันตรายและตอบโต้เจ้าหน้าที่ หรือเพื่อไม่ให้บุคคลดังกล่าวหลบหนีการจับกุม และในกรณีที่ไม่มีวิธีการใดที่มีประสิทธิภาพที่จะให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การใช้อาวุธสังหารโดยตั้งใจสามารถกระทำได้ ต่อเมื่อเผชิญสถานการณ์คับขันและหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อปกป้องชีวิตเท่านั้น

ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ และกองทัพไทยดูเหมือน จะไม่สนใจการควบคุมฝูงชนด้วยหลักการดังที่กล่าวมา แต่รัฐบาลกลับใช้วิธีการสลายการชุมนุมที่ขัดกับ “มาตรฐานนานาชาติ” ด้วยการใช้ “อาวุธที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต” เพียงจำนวนน้อย ไม่ได้แสดงความห่วงใยในการ “ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด” และเพื่อ “รักษาชีวิตคนไว้” นโยบายยิงเพื่อสังหารที่พวกเขานำมาใช้กับผู้ชุมนุมที่เผา ยางและจุดประทัด ก็ไม่ได้อยู่ในหลักการของการโต้ตอบ “ในสัดส่วนเดียวกับความร้ายแรงของการจู่โจม” การโจมตีใส่หน่วยแพทย์อาสา เป็นคำสั่งที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อการรับรองว่า “การช่วยเหลือและการรักษาพยาบาลควรทำให้สามารถเข้าถึงผู้ได้รับบาดเจ็บและ ผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” แม้ว่าการชุมนุมของเสื้อแดงอาจถูกตราว่าเป็นการชุมนุมที่ “รุนแรง” และ “ผิดกฎหมาย” แม้หากว่า พรก.ฉุกเฉินฯ จะทำให้พวกเขาผิดกฎหมาย แต่พยานที่อยู่ในเหตุการณ์การใช้อาวุธกระสุนจริงของรัฐบาลก็กล่าวยืนยันหนัก แน่นว่า การใช้กำลังนั้นไม่จำกัดอยู่แค่ “การใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น” (ในหลักการข้อ 13) นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่เสียชีวิตไม่มีใครเลยที่พบเห็นว่ามีอาวุธร้ายแรง ทำให้การ “จงใจใช้อาวุธร้ายแรง” ของรัฐบาลนั้น ไม่สอดคล้องตามกรณี “ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผ่อนปรนได้ ในการจำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาชีวิต” (ในหลักการข้อ 9)

แทนที่จะปฎิบัติตามหลักสากลในสลายการชุมนุม รัฐบาลกลับใช้กองกำลังที่ได้รับการฝึกฝนอาวุธสงครามเพื่อสู้รบกับกองทัพของ ต่างชาติเข้าไปสลายการชุมนุมเสื้อแดง กล่าวอย่างเรียบๆ คือ มันเป็นสิ่งที่กองทัพไทยทำมาตลอดเมื่อเจอกับการชุมนุมใหญ่ที่เรียกร้อง ท้าทายอำนาจการควบคุมระบอบการเมืองของไทย พวกเขาละเลยมาตรฐานสากลและใช้กำลังทหารกับผู้ชุมนุม

 

000

 

7. ฤดูกาลใหม่ของการปกครองโดยทหาร

ประชาชน 90 รายถูกสังหาร และอีกประมาณ 1,800 รายได้รับบาดเจ็บในช่วง 6 สัปดาห์ก่อนถึงการบุกสลายชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม ชีวิตที่สูญเสียเพิ่มมากขึ้นในเหตุการณ์ความขัดแย้งแสดงให้เห็นถึงความเส แสร้งของ “กฎเกณฑ์ประชาธิปไตย” และ “ความเคารพในหลักนิติธรรม” ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามปกป้องมาตลอดการดำรงตำแหน่ง เมื่อความชอบธรรมของรัฐบาลถูกท้าทายจากกลุ่มคนจำนวนมากที่มีการจัดตั้งมา อย่างดีและส่วนใหญ่ก็มาโดยสันติแล้ว อภิสิทธิ์แสดงให้เห็นถึงการไร้ความสามารถในการปกครอง และไม่สามารถปกป้องแม้แต่สิ่งที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2007 หลังรัฐประหารได้ให้การคุ้มครองแก่ประชาชนไทย แม้กระทั่งก่อนการชุมนุมจะเริ่มต้น รัฐบาลได้ระงับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญโดยการประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคง เพื่อพยายามจำกัดกิจกรรมของเสื้อแดง ก่อนหน้าการปราบปรามการชุมนุมครั้งแรกไม่กี่วัน รัฐบาลก็ยังได้ใช้อำนาจเผด็จการ ประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน อีก 3 เดือนถัดมา พรก.ฉุกเฉินก็ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปอย่างไม่มีกำหนด

กองทัพกลับมาควบคุมประเทศนี้อีกครั้ง โดยต่างจากช่วงหลังรัฐประหารในปี 2006 การปกครองครั้งใหม่นี้ดำเนินการโดยใช้หลักกฎหมายมาบดบัง กล่าวอย่างเจาะจงคือ มาจากการใช้อำนาจโดยมิชอบผ่านร่างกฎหมายที่กดทับสิทธิ ทำให้เผด็จการทหารใหม่สามารถเข้าสู่อำนาจได้โดยอยู่เหนือการตรวจสอบใดๆ ทั้งปวง และลิดรอนสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง รวมถึงการคัดเลือกกฎหมายมาบังคับใช้ให้ตรงกับความต้องการและผลประโยชน์ของตน เท่านั้น การที่รัฐบาลปัจจุบันนำ พรก.ฉุกเฉิน มาใช้โดยมิชอบ ถือเป็นการลดทอนหลักนิติธรรมแทบทั้งหมด ขาดก็แต่การประกาศรัฐประหารอย่างเป็นทางการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเสแสร้งว่ามีความชอบธรรมทางกฎหมายของรัฐบาลนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรประเมิน ผิดพลาด การบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉิน และการขยายเวลาบังคับใช้ออกไปอย่างไม่มีกำหนดถือเป็นการรัฐประหารเงียบ (ทั้งยังถือว่ารุนแรงอย่างไม่อาจยอมรับได้) ในส่วนของคณะรัฐบาลอภิสิทธิ์และทหารที่หนุนหลัง ในตอนนี้มันชัดเจนแล้วว่า พรก.ฉุกเฉินซึ่งยังคงถูกบังคับใช้ต่อไป ไม่ใช่เพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่เพื่อให้อำนาจเผด็จการแก่รัฐบาลตามที่ต้องการ และเพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและเพื่อดำรงอำนาจทางการเมืองที่ได้มาโดย ไม่ถูกต้องต่อไป

พรก. ฉุกเฉิน จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ละเมิด ICCPR ในมาตราที่ 4 ที่ระบุว่าการระงับสิทธิ์บางประการของ ICCPR เป็นการชั่วคราว เช่น ระงับสิทธิในการชุมนุมนั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ “เป็นการใช้โดยขยายขอบเขตอย่างเคร่งครัดตามความฉุกเฉินของสถานการณ์”

 

7.1 พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน

พรบ. ความมั่นคงฯ ออกมาในปี 2008 โดยมีการให้นิยาม “การรักษาความมั่นคงภายใน” อย่างกว้างครอบคลุมทุกทิศ โดยรวมถึง “ปฏิบัติการเพื่อป้องกัน, ควบคุม, แก้ไข และฟื้นฟู เหตุใด ๆ ก็ตามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายโดยมาจากบุคคลหรือกลุ่มคนที่สร้างความวุ่นวาย สร้างความเสียหายต่อชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือทำให้เกิดการเสียเลือดเนื้อของประชาชน รวมถึงความสูญเสียต่อชาติ [134] อย่างไรก็ตาม พรบ. นี้อนุญาตให้ใช้มาตรการพิเศษ ข้อบังคับพิเศษ เพียงเพื่อ “ให้เกิดการฟื้นฟูสถานการณ์สู่สภาพปกติ ในนามของความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยของประชาชน หรือต่อความมั่นคงในชาติ [135]

กฏหมายฉบับนี้ดำรงอยู่ภายใต้อำนาจการดำเนินงานของสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้กฏหมายฉบับนี้ระบุว่า “ในเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายใน แต่ยังไม่จำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐมนตรี คณะรัฐบาลจะลงมติให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) รับผิดชอบด้านการป้องกัน, ปราบปราม และขจัดหรือบรรเทาเหตุการณ์ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงภายใน ภายในพื้นที่และเวลาที่กำหนด” กอ.รมน. เป็นหน่วยงานสาขาหนึ่งของกองทัพ ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องความมั่นคงในชาติจากภัยภายในประเทศ [136] โดยดำเนินงานภายใต้คำสั่งโดยตรงจากนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ตามพรบ. ระบุว่าเป็น “ผู้อำนวยการความมั่นคงภายใน” [137]

เมื่อมีการลงมติดังกล่าวแล้ว รัฐบาลของประเทศจะไม่ใช่รัฐสภา, คณะรัฐมนตรี, ศาลอีกต่อไป แต่จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ, มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นรักษาการผู้อำนวยการ และเสนาธิการเหล่าทัพเป็นเลขาธิการ [138] สิ่งที่พอจะทำหน้าที่แทรกแซงระหว่างสองขั้วอำนาจได้คือคณะรัฐบาล แต่อิทธิพลนั้นต่ำมาก เนื่องจากถูกจำกัดโดยการรับรองการพิจารณาผ่านนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจในการ “อนุมัติมติดังต่อไปนี้”

1. ให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้เกี่ยวข้องกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการใด ๆ

2. ห้ามการเข้า-ออก อาคาร สถานที่ หรือพื้นที่ที่กำหนดในช่วงที่มีการปฏิบัติการ เว้นแต่จะมีการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้มีคุณสมบัติ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการงดเว้น

3. ห้ามการออกจากอาคารที่พักอาศัยภายในเวลาที่กำหนดไว้

4. ห้ามการพกพาอาวุธภายนอกเขตอาคารที่พักอาศัย

5. ห้ามการใช้เส้นทางหรือยานพาหนะ หรือกำหนดสภาพการใช้เส้นทางหรือยานภาหนะ

6. เพื่อสั่งการให้บุคคลกระทำหรือยับยั้งการกระทำ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายต่อชีวิต, เลือดเนื้อ หรือทรัพย์สินของประชาชน [139]

ข้อที่ 2 - 6 มีไว้เพียงเพื่อเพิ่มความชัดเจน เพราะขอบเขตอำนาจของนายกรัฐมนตรีถูกระบุไว้หมดแล้วในข้อที่ 1 คืออำนาจในการ “ให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้เกี่ยวข้องกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการใด ๆ” นี่คือการใช้อำนาจจากการอนุมัติ “มติ” ของนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องผ่านสภา ไม่ผ่านการตรวจสอบโดยวิถีทางประชาธิปไตย ไม่มีการพิจารณาของรัฐสภา มีเพียงนายกรัฐมนตรี, คณะรัฐบาล และกองทัพเท่านั้นที่มีอำนาจปกครอง นี่คือสถานภาพความเป็นนิติรัฐของประเทศไทย ตั้งแต่ 11 มีนาคม 2010 เป็นต้นมา

 

7.2 การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

แม้ว่าจะมีการประกาศใช้ พรบ. ความมั่นคงและความพยายามกำจัดการเคลื่อนไหวของพวกเขา แต่ก็ไม่สามารถขัดขวางกลุ่มเสื้อแดงได้ กลุ่มเสื้อแดงหลายพันคนจากทุกชนชั้นของสังคมพากันเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อประท้วงรัฐบาลปัจจุบันและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการตอบโต้ผู้ที่แห่แหนมาต่อต้านรัฐบาล นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และครอบครัวพากันหนีออกจากที่พักในกรุงเทพฯ ไปยังค่ายทหาร ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงการที่อภิสิทธิ์ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเหล่านายพล ในวันที่ 7 เมษายน หลังจากไตร่ตรองมาหลายสัปดาห์แล้ว รัฐบาลได้เพิ่มอำนาจของ พรบ.ความมั่นคงขึ้นอีกโดยการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ในกรุงเทพฯ และในเขต 5 จังหวัดใกล้เคียง

ตามมาตราที่ 9 ของพระราชกำหนดการบริหารงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) รัฐบาลมีการสั่งห้ามไม่ให้มี “การชุมนุมหรือรวมตัวร่วมกันกระทำการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป” รวมถึง “การกระทำใด ๆ ที่ยั่วยุให้เกิดความไม่สงบ” ภายใต้ความหมายดังนี้

การกีดขวางทางจราจรในลักษณะที่ทำให้การคมนาคมตามปกติมิอาจกระทำได้
การปิดกั้นทางเข้า-ออก อาคารหรือสถานที่ในทางที่จะเป็นการกีดขวางการขนส่ง การทำธุรกรรม หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป
การโจมตีหรือใช้กำลังในทางที่จะสร้างความเสียหาย ความหวาดกลัว ความวุ่นวาย และความวิตกกังวลต่อความปลอดภัยในชีวิต เลือดเนื้อ และทรัพย์สิน ของประชาชน

การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ผู้มีคุณสมบัติเกี่ยวข้องกับการ ชุมนุม ผู้มีเป้าหมายเพื่อรักษาความสงบและป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายต่อชีวิต ประจำวันของประชาชน

การลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนประกอบด้วย “การจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท [140] นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังสั่งห้าม “การเผยแพร่ข่าวสาร การผลิตซ้ำ หรือแพร่กระจาย ข่าวสาร สิ่งพิมพ์ หรือการสื่อสารด้วยช่องทางใด ๆ ที่มีเนื้อหาสร้างความหวาดกลัวต่อประชาชน หรือมีการจงใจบิดเบือนข้อมูลข่าวสารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อย หรือจริยธรรมอันดีของประชาชนในราชอาณาจักร” [141]

ตามมาตรา 11 ของ พรก.ฉุกเฉิน รัฐบาลได้มีมติจากการประชุมฝ่ายบริหารโดยให้มีการขยายอำนาจพิเศษอย่างไร้ข้อ จำกัด นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้มีอำนาจในการ “จับกุมและกักขังบุคคลที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยุยงปลุกปั่น สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือบุคคลที่โฆษณา หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าว” “เรียกตัวปัจเจกบุคคลเพื่อรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ ให้ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน” และ “สั่งห้ามหรือสั่งให้กระทำการใด ๆ ที่จำเป็นต่อความมั่นคงของชาติหรือความปลอดภัยของประชาชน” [142]

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินให้อำนาจรัฐบาลในการสถาปนาอำนาจ ทางกฎหมายจอมปลอม ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสลายการชุมนุมที่ผิดพลาด อย่างเช่นกรณีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อ 10 เม.ย. ในวันที่ 13 พ.ค. วันที่ เสธ.แดง ถูกลอบสังหาร มีการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปยัง 15 จังหวัดในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่มีการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พ.ค. มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกินพื้นที่กว่า 24 จังหวัด จาก 76 จังหวัดของประเทศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังคงมีผลบังคับใช้ แม้รัฐบาลจะยกเลิกประกาศห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิวส์) ล่าสุด พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังคงมีผลบังคับใช้ใน 19 จังหวัดจนถึงต้นเดือนตุลาคมโดยไม่มีที่ท่าว่าจะยกเลิก (หมายเหตุจากผู้แปลเอง มติ ครม. 21 ก.ค. มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 3 จังหวัด ส่วนอีก 16 จังหวัดที่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.อุบลราชธานี จ.มหาสารคาม จ.หนองบัวลำภู จ.มุกดาหาร จ.อุดรธานี จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ, จ.ขอนแก่น จ.ชลบุรี และ จ.สมุทรปราการ)

นี่เป็นเพียงการแทนที่หลักนิติรัฐด้วยความคิดเพ้อฝันของพวกเขาเอง ด้วยวิธีนี้ ทำให้เสรีภาพของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของชาวไทยซึ่งมีหลักประกันคือรัฐ ธรรมนูญปี 2550 ถูกระงับชั่วคราว รัฐธรรมนูญฉบับนี้เองที่นายกรัฐมนตรีและกองทัพผู้หนุนหลังหวังว่าจะนำมาใช้ หยุดยั้งการท้าทายต่ออำนาจการปกครองอันไม่ชอบธรรมของพวกเขา บรรดาผู้ท้าทายเหล่านี้ยังคงต่อต้านโดยมีราคาที่ต้องจ่ายคือชีวิต อวัยวะ หรือเสรีภาพของพวกเขา

ควรบันทึกด้วยว่า วิธีการที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินบังคับใช้หลังการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้สร้างวิธีปฏิบัติของรัฐบาลเป็นสองมาตรฐาน นอกจากที่แกนนำหลักของ นปช. ยังคงถูกควบคุมตัวและมีความเป็นไปได้ที่จะถูกตัดสินประหารชีวิตจากข้อหาก่อ การร้ายแล้วนั้น และเมื่อ 10 มิ.ย. มีรายงานว่ารัฐบาลได้จับผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดงแล้ว 417 คน ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในจำนวนนี้มีหลายรายที่ถูกสอบสวนและตัดสินโทษภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจาก ถูกจับ และเมื่อ 26 มิ.ย. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมถูกควบคุมตัวและตั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะที่เขาผูกริบบิ้นสีแดงที่สี่แยกราชประสงค์เพื่อรำลึกถึงผู้ที่ถูกสังหาร โดยรัฐซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนก่อนหน้า

การที่รัฐบาลควบคุมบังคับคนเสื้อแดงอย่างสุดขั้วนั้น ขัดแย้งอย่างยิ่งกับการผ่อนปรนให้กับการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันของผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย/กลุ่มคนเสื้อหลากสี และองค์กรของพวกเขาที่กระทำในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่มีใครถูกจับระหว่างที่นักกิจกรรมฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลนับพันชุมนุมที่ ลานพระบรมรูปทรงม้าและ ถ.สีลม ในการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ห้ามการรวมกลุ่มทางการเมืองใดๆ ในขณะที่คนเสื้อแดงชุมนุมที่ราชประสงค์นั้น เมื่อ 22 เม.ย. กลุ่ม “เสื้อหลากสี” ถูกตำรวจไล่ตามหลังจากผู้ชุมนุมเหล่านี้โจมตีที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า แต่คนเสื้อหลากสีนี้ก็ได้รับการอารักขาอยู่หลังแนวทหาร บันทึกวิดีโอได้แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ทหารเล็งปืนมายังศีรษะของเจ้า หน้าที่ตำรวจซึ่งอยู่ระหว่างไล่จับกองกำลังของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล

 

7.3 การควบคุมข้อมูลข่าวสาร

ในช่วงเวลาของการดำรงตำแหน่ง รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้พยายามควบคุมการแพร่กระจายข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่ มีต่อเหตุการณ์ที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับรัฐบาลด้วยการใช้ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างเข้มข้น โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ [143] ที่แต่งตั้งโดยทหารผ่านกฎหมายนี้ออกมา เมื่อ 10 มิ.ย. 2550 โดยสิ่งที่แทรกอยู่ในเนื้อหาของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการระบุความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อความใน คอมพิวเตอร์ “ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร … หรือ [] มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน [144] ซึ่งบทบัญญัติที่คลุมเครือนี้ ต้องตีความโดยอัตวิสัยอย่างยิ่ง และด้วยความดกดื่นของการสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเครื่องมือทลายการปิด กั้นอย่างทรงพลัง ทำให้รัฐบาลพบว่ามีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายที่มีเนื้อหากีดกันเสรีภาพนี้ใน ทางตรงข้ามกับสิ่งที่กฎหมายบัญญัติ ในช่วงที่มีการชุมนุมรอบล่าสุด เว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาลจึงถูกสั่งปิดกั้น (บล็อก) โดยไม่มีการยื่นเรื่องร้องขอต่อศาล

เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งตั้งตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งตั้งหลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้เพิ่มมาตรการยับยั้งการเผยแพร่ข้อเท็จจริงที่รัฐบาลไม่ต้องการให้เปิดเผย และข้อมูลที่รัฐบาลไม่พอใจ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายโดยอ้างตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยทั้ง ศอ.รส. และ ศอฉ. ได้ปิดกั้นเว็บไซต์โดยอ้างตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะที่เว็บไซต์ที่ถูกปิดนี้มักเกี่ยวข้องกับการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เว็บข่าวอิสระ และเว็บไซต์ที่เปิดให้แสดงความคิดเห็นรวมอยู่ด้วย [145] ทั้งนี้ ตามที่โฆษกรัฐบาลแถลงชี้แจง เว็บไซต์ที่ถูกปิดเนื่องจากเผยแพร่ข้อมูลที่ “เป็นเท็จ” อย่างเช่น “อภิสิทธิ์อนุญาตให้ใช้กำลังจัดการผู้ชุมนุม [146]

ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลได้ปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม PTV นิตยสาร 5 ฉบับ สถานีวิทยุชุมชนซึ่งดำเนินการโดยผู้ชุมนุมเสื้อแดง ทั้งนี้โดยอ้างตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการปิดกั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นอีกครั้งหนึ่ง โดยนายอภิสิทธิ์ระบุว่า “เพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความสงบเรียบร้อยและเพื่อหยุดการเผยแพร่ข้อมูลที่ ผิดไปยังสาธารณชนชาวไทย” [147]

 

7.4 เสื้อแดงนะหรือคือผู้ก่อการร้าย

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อ้างถึงสถานการณ์ที่รัฐบาลอาจจะระงับสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนได้หลาย ทาง ซึ่งก่อให้เกิดคำถามต่อความเหมาะสมของการประกาศใช้และการยืดอายุ พ.ร.ก.ออกไปอย่างไม่มีกำหนดโดยอ้างตาม พ.ร.ก. ในมาตรา 11 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวางที่สุด เป็นตัวอย่าง "ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคง ของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล" ข้ออ้างในการใช้อำนาจอย่างเผด็จการทำให้รัฐบาลต้องทำการรณรงค์ผ่านสื่อโดยมี เป้าหมายที่จะอธิบายภาพของคนเสื้อแดงว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ใช้ความ รุนแรงอันเป็นภัยต่อความเป็นเอกภาพและความมั่นคงของชาติไทย

รัฐบาลยังคงยืนยันเหตุผลในการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ ต่อไปโดยกล่าวอ้างถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การจัดการของ นปช. (และความเคลื่อนไหวในขอบเขตที่กว้างกว่าในนามของคนเสื้อแดง) รวมถึงข้อกล้าวหาว่าคนเสื้อแดงกำลังเคลื่อนไหวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการ เมือง

ตั้งแต่การชุมนุมเริ่มขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามทำให้ประชาชนรู้สึกว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกจ้างหรือ ล้างสมองให้เข้าร่วมการชุมนุม แต่รัฐบาลยังใส่ใจ/ระวัง ที่จะย้ำว่า อย่างน้อยที่สุด ความคับข้องใจทางเศรษฐกิจของมวลชนเสื้อแดงเป็นเรื่องชอบธรรมตามกฎหมาย สิ่ง ที่เรียกกันว่า “แผนปรองดอง” ซึ่งนายกรัฐมนตรีประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม มีคำมั่นสัญญาว่านโยบายทางสังคม ใหม่จะแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่ขยายไปทั่วประเทศได้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ละเลยวาระทางการเมืองของ นปช. เรื่องความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ในด้านหนึ่ง รัฐบาลอภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องความไม่ชอบธรรม และโต้เถียงว่า เขาได้ขึ้นสู่อำนาจผ่านกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ขณะที่อีกด้านรัฐบาลทำให้ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงที่ต้องการให้มี “การทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย” กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่าการกระทำที่ตั้งใจจะปกปิดเป้า หมายบางอย่างเอาไว้เบื้องหลัง

ข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้กับคนเสื้อแดงมากที่สุดคือการบอกว่า วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพวกเขาคือการสร้าง “รัฐไทยใหม่” ซึ่งจะทำให้ปราศจากสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ และแทนที่ด้วยระบอบสาธารณรัฐที่ปกครองโดยประธานาธิบดี ซึ่งอย่างน้อยในช่วงเริ่มต้น สันนิษฐานกันว่าจะนำโดยทักษิณ ชินวัตร ข้อกล่าวหานี้มีความเป็นมาอย่างยาวนาน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ฝ่ายตรงข้ามของทักษิณอ้างเหตุผลเรื่องความจำเป็นในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ในการต่อสู้เพื่อกำจัดเขาออกจากตำแหน่ง ข้อกล่าวหานี้ติดต่อมาถึงกลุ่มคนเสื้อแดง แม้ว่าแกนนำจะปฎิเสธเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

หลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงการค้นพบเครือข่ายซึ่งมีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวพันกับแนวร่วมที่สมรู้ร่วมคิดกันโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ หลักฐานเพียงอย่างเดียวที่ ศอฉ. แสดงก็คือแผนผังที่ยุ่งเหยิงซึ่งโยงรายชื่อหลายสิบชื่อของแกนนำคนเสื้อแดง นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักเขียน/บรรณาธิการสื่อที่เห็นต่าง อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักธุรกิจจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง อภิสิทธิ์ใช้ “การค้นพบ” นี้เป็นข้ออ้างในการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยอ้างว่า อำนาจที่เพิ่มขึ้นมานี้จะช่วยให้ ศอฉ. ได้มองทะลุถึงแผนการและดำเนินการอย่างเด็ดขาดยิ่งขึ้นเพื่อปกป้องสถาบัน กษัตริย์ [148]

ในการแถลงของรัฐบาลต่อสาธารณะหลายครั้งนั้น จากเดิมที่คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติได้ถูกขยายจน กลายเป็น “ผู้ก่อการร้าย” คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่ายั่วยุหรือกระทำการเพื่อให้เกิดความรุนแรง หลังสลายการชุมนุม รัฐบาลยื่นฟ้องข้อหาก่อการร้ายกับแกนนำ นปช.หลายสิบคนรวมถึงทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกกล่าวหาโดยปราศจากหลักฐานว่า เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำการก่อการร้ายและเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่ การชุมนุม

อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป กลุ่มแก้ปัญหาวิกฤติระหว่างประเทศ (International Crisis Group) ลงความเห็นว่า “เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายว่า บทบาทของทักษิณต่อเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเร็วๆ นี้ เข้าข่ายคำจำกัดความของการก่อการร้าย แบบที่แพร่หลายในระหว่างประเทศ” [149] แกนนำคนเสื้อแดง 10 คนไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ตั้งแต่หลังการปราบปรามเป็นต้นมา

แม้ว่า จะมีการใช้คารมที่เผ็ดร้อนของผู้ปราศรัยบางราย แต่แทบจะไม่มีหลักฐานใดเลยที่เชื่อมโยง นปช.และแกนนำหลักเข้ากับเหตุการณ์ความรุนแรงที่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ ลงมือกระทำ

ประการแรก รัฐบาลล้มเหลวในการหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่จะโยงแกนนำคนเสื้อแดงเข้ากับ เหตุระเบิดหลายสิบครั้งที่เกิดขึ้นกับธนาคาร กรมทหาร สถานที่ราชการ ที่ทำการพรรค บ้านพักส่วนตัวของนายบรรหาร ศิลปอาชา นักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล ในช่วงเริ่มต้นการชุมนุม ถึงแม้จะมีผู้สังเกตการณ์บางรายมองว่า มีกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากคนเสื้อแดงที่ได้ประโยชน์กว่ามากจากการสร้างบรรยากาศความกลัวที่ เกิดจากเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ แต่รัฐบาลกลับกล่าวหาคนเสื้อแดงโดยอัตโนมัติ เหตุระเบิดก่อนการชุมนุมจะเริ่มไม่นานนั้นเป็นเครื่องมือเพื่อให้รัฐบาล ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ขณะที่เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น มีความสำคัญในการใช้เป็นเหตุผลในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อีกด้านหนึ่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษประกาศโครมๆ ว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม คนเสื้อแดงวางแผนโจมตีวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของไทย ด้วยเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี แต่ล้มเหลว โดยอ้างอิงจาก “คำรับสารภาพ” ของชายคนหนึ่งซึ่งระบุว่า ได้รับเงินจากนักการเมืองคนหนึ่งให้ปฎิบัติการระเบิดครั้งนี้ [150] นับตั้งแต่รัฐบาลออกมากล่าวอ้างถึงแผนการดังกล่าว ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้อีกหลังจากนั้น

ประการที่สอง ขณะที่ยังไม่ทราบว่า “ชายชุดดำ” ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นผู้สังหารเจ้าหน้าที่ทหารระหว่างการปะทะกันเมื่อวัน ที่ 10 เมษายน เป็นใคร หน่วยรบพิเศษนี้ถูกมองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี ไม่ว่าจะเกษียณแล้วหรือยังปฎิบัติราชการอยู่ก็ตาม [151] แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าคนเหล่านี้ทำงานให้กับคนเสื้อแดง โดยอาจปฎิบัติตามคำสั่งของพล.อ.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) แต่รัฐบาลก็ไม่เคยมีหลักฐานเพื่อสนับสนุนการกล่าวอ้างนั้น ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ซึ่งเป็นสื่อที่สนับสนุนกลุ่มอำนาจเก่า อาวุธ ปานะนันท์ คอลัมนิสต์หัวอนุรักษ์คาดการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การสังหาร พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรมน่าจะมีเกี่ยวข้องกับการที่กลุ่มทหารเสือราชินีและ “บูรพาพยัคฆ์ [152] ครองอำนาจในกองทัพ  

ประการที่สาม รัฐบาลโทษว่าเป็นฝีมือของ นปช. โดยทันที หลังมีการโจมตีด้วยระเบิดเอ็ม 79 ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดง ระหว่างการเผชิญหน้ากันของกลุ่มคนเสื้อแดงและกลุ่ม “เสื้อหลากสี” ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 เมษายน อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ขณะที่ผู้ต้องสงสัยซึ่งถูกจับได้ในตอนแรกกลับถูกปล่อยตัวอย่างรวดเร็ว ขัดกับการลงความเห็น ศอฉ. ที่ว่าระเบิดถูกยิงมาจากพื้นที่ชุมนุมคนเสื้อแดงใกล้กับอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 มีประจักษ์พยานซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมฝั่งสนับสนุนรัฐบาลอ้างว่าระเบิดถูก ยิงมาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง [153]

ประการที่สี่ รัฐบาลเตือนประชาชนหลายครั้งว่า กลุ่มคนเสื้อแดงมีอาวุธร้ายแรงและมีคลังอาวุธขนาดใหญ่อยู่ในที่ชุมนุม

หลายวันหลังเหตุสังหารหมู่ 13-19 พฤษภาคม ศอฉ.โชว์อาวุธซึ่งออกจะน้อยกว่าที่คาด โดยอ้างว่าถูกพบที่สี่แยกราชประสงค์ในระหว่างปฏิบัติการเคลียร์พื้นที่ต่อ ผู้สื่อข่าวและทูตานุทูตต่างประเทศ [154] ด้วยคลังอาวุธที่ไม่มากมายนัก เทียบกับตัวเลขผู้ประสบภัยที่ไม่ได้ดุลกันในการสลายการชุมนุมเผยให้เห็นว่า การมีอาวุธร้ายแรงในหมู่คนเสื้อแดงนั้นเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญ จากการรายงานจนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม คนเสื้อแดงตอบโต้ทหารด้วยอาวุธที่ทำขึ้นเองหรืออาวุธโบราณขนาดเล็ก ขณะที่มีผู้ชุมนุมน้อยกว่าหยิบมือที่ถูกพบจริงๆ ว่าใช้ปืนและระเบิด

ท้ายที่สุด รัฐบาลก็คงยืนยันว่าเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 39 แห่งนั้นเกิดขึ้นจาก “การวางแผนและการเตรียมการอย่างเป็นระบบ” [155] อย่างไรก็ตาม ศอฉ. ไม่สามารถอ้างหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่ามีการสมรู้ร่วมคิด แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวแล้วในช่วงที่มีการวางเพลิงและได้ประกาศ ให้ผู้ชุมนุมสลายการชุมนุมไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น คำถามที่สำคัญยังคงเป็นเรื่องของเวลาที่เกิดเหตุที่หน้าห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์ และความเสียหายจากการกระทำของกองทัพซึ่งส่งผลต่อความรวดเร็วในการเดินทางไป ยังที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเพื่อดับไฟ ที่เลวร้ายที่สุดก็คือมีหลักฐานบ่งชี้ว่าเพลิงนั้นถูกจุดขึ้นด้วยความขุ่น ข้องหมองใจของผู้สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงในสภาพไร้การนำ ผู้ที่ได้รู้เห็นช่วงเวลาแห่งการสังหารหมู่ ซึ่งทหารได้คร่าชีวิตคนในครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของพวกเขา แต่แม้ในบริบทเช่นนั้นก็ตาม การทำลายอาคารพาณิชย์ที่ทำประกันภัยไว้อยู่แล้วถือเป็นเรื่องที่อภัยให้ไม่ ได้ ขณะที่โศกนาฏกรรมของมนุษย์ที่ได้เปิดเผยตัวก่อนจะเกิดเหตุการณ์การวางเพลิง ที่คนเสื้อแดงถูกหาว่าเป็นผู้ก่อขึ้น กลับเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินกว่าจะเข้าใจได้

แม้จะขาดแคลนพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ แต่การวาดภาพคนเสื้อแดงในฐานะ “ผู้ก่อการร้าย” ก็สร้างเหตุผลสนับสนุนให้ฝ่ายรัฐบาลใช้อำนาจเผด็จการและอ้างเป็นความจำเป็น ในการสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงอย่างที่เคยทำเมื่อวันที่ 10 เมษายนอีกครั้งและนำไปสู่การสลายไปของการประท้วงในวันที่ 19 พฤษภาคม

มันมีค่าควรแก่การหมายเหตุไว้ด้วยว่า การวาดภาพปีศาจอย่างเป็นระบบให้กับผู้ชุมนุมซึ่งเป็นฝ่ายนิยมประชาธิปไตย เพื่อสร้างการสนับสนุนจากสาธารณะให้แก่ฉากต่อเนื่องของความรุนแรงโดยรัฐ เป็นเทคนิคที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานในประเทศไทย ในเหตุการณ์เมื่อไม่นานนี้ก็เช่นกัน ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ผู้ประท้วงถูกวาดภาพว่าเป็น “นักปฏิวัติ” หัวรุนแรง ดังนั้นแล้ว รัฐบาลทหารจึงทำเช่นเดียวกับที่ทำอยู่ขณะนี้คือกล่าวหาผู้ประท้วงว่าต้องการ จะล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข [156] และเช่นเดียวกับที่ทำอยู่ขณะนี้ รัฐบาลทหารประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและประกาศว่าปฏิบัติการที่รุนแรงจะถูกนำมา ใช้เพื่อจัดการกับ “ผู้ก่อจลาจล” [157]  เช่นเดียวกับที่ทำอยู่ขณะนี้รัฐบาลทหารอ้างว่าทหารยิงปืนเพียงเพื่อป้องกันตัว [158]

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันกับเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นก็ คือ ในปี 2535 ผู้คนในกรุงเทพฯ แสดงท่าทีรังเกียจต่อการสังหารหมู่และความพยายามปกปิดการกระทำของทหาร ขณะที่ครั้งนี้คนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ ปรบมือให้กับการสังหารหมู่ซึ่งรัฐบาลทหารดำเนินการด้วยแรงจูงใจที่จะหลีก เลี่ยงการเลือกตั้งซึ่งดูเหมือนว่าพรรคที่สนับสนุนต่อผลประโยชน์ของกลุ่ม อำนาจเก่าจะต้องพ่ายแพ้

การวาดภาพคนเสื้อแดงอย่างเป็นระบบโดยคณะทหารในปัจจุบันยิ่งเป็นการย้ำ เตือนอย่างเด่นชัดถึงวิธีการที่กองทัพใช้อ้างต่อสาธารณะในการฆาตกรรมนัก ศึกษาผู้นิยมประชาธิปไตยหลายสิบชีวิต ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยมีบางรายถูกข่มขืน ทรมาน ทำให้พิการ เผาทั้งเป็น [159] คล้ายกันกับคนเสื้อแดง นักศึกษาในธรรมศาสตร์ถูกกล่าวหาด้วยความเท็จว่ามีคลังแสงขนาดใหญ่อยู่ในหอ ประชุมของมหาวิทยาลัย คล้ายกันกับคนเสื้อแดง นักศึกษาเหล่านั้นถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ผ่านภาษาของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยการกล่าวถึงพวกเขาในฐานะสัตว์ชั้นต่ำ ไม่ใช่คนไทย และด้วยเพลง “หนักแผ่นดิน” ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจที่มีชื่อเสียงมากในทศวรรษ 2520 (ถูกนำมาปัดฝุ่นครั้งล่าสุดโดยพันธมิตรฯ) และที่เหมือนกันอย่างมากระหว่างคนเสื้อแดงและนักศึกษาในยุคนั้นก็คือพวกเขา ถูกกล่าวหาว่ากระทำการคุกคามสถาบันกษัตริย์ ถูกแทรกซึมโดยต่างชาติ และเผยแพร่แนวคิดหัวรุนแรง ในปี 2519 นักศึกษาถูกป้ายสีว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” วันนี้รัฐบาลได้พัฒนาศัพท์ใหม่เพื่อให้เข้ากับบริบทภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยน ไปและปักป้ายให้กับคนเสื้อแดงว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย”

วิธีที่กองทัพจัดการกับคนเสื้อแดงนั้นชวนรำลึกไปถึงเหตุการณ์การปราบปราม นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 34 ปีที่แล้ว ในปี 2519 กองทัพอาศัยกองกำลังของกลุ่มฝ่ายขวาราชานิยมสุดโต่งซึ่งทำตัวเป็นศาลเตี้ย เช่นลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มกระทิงแดงในการสังหารหมู่นักศึกษา การใช้ความรุนแรงในครั้งนั้นเป็นสิ่งที่ผสานสอดคล้องไปกับข้ออ้างในการทำรัฐ ประหาร เช่นเดียวกัน ในปลายเดือนเมษายน 2553 รัฐบาลก็อาศัยกลุ่มศาลเตี้ยซึ่งเป็นกองกำลังฝ่ายขวาราชานิยมซึ่งส่วนใหญ่ก็ คือมวลชนของพันธมิตรฯ ที่หันมาสวม “เสื้อหลากสี” ทำการยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้าที่มีแนวโน้มของความรุนแรงในพื้นที่สีลมก็ เหมือนกับที่รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันเป็นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลที่ถูกแต่งตั้งโดยทหารในปี 2519 (นำโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี) อยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อเหยื่อของการสังหารหมู่ นี่จึงเป็นเหตุให้เกิดการสร้างระบอบการปิดกั้นอย่างเข้มงวด สรุปอย่างรวบรัดชัดเจน ผู้ที่ฆาตกรรมนักศึกษาซึ่งไม่มีการกระทำผิดใดๆ ไล่ล่าฝ่ายต่อต้านอย่างไม่ลดราวาศอก กดดันผู้คนจำนวนหลายพันคนให้หลบหนีออกนอกประเทศหรือเข้าร่วมกับพรรค คอมมิวนิสต์ในภาคเหนือและอีสาน เป็นที่น่าสังเกตว่าในปี 2519 และปี 2553 นั้น การที่รัฐบาลวาดภาพปีศาจอย่างเป็นระบบให้กับผู้ชุมนุมเรียกร้องนั้นดูจะ ประสบความสำเร็จในการสร้างความหวาดกลัวให้กับชนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ หรืออย่างน้อยก็รู้สึกมั่นคงกับการไม่แยแสของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่แตกต่างจากเหตุการณ์ความรุนแรงของรัฐในปี 2516 และ 2535 คือ การสังหารหมู่ในปี 2519 และ 2553 ไม่ได้ส่งผลให้พระมหากษัตริย์เข้ามาแทรกแซง

เส้นขนานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่ากระแสการชุมนุมและความ รุนแรงระลอกล่าสุดนั้นมาจากต้นร่างเดียวกัน อันส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ 2516, 2519 และ 2535 จากกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้น คนเสื้อแดงเรียกร้อง “ประชาธิปไตย” กลับถูกอธิบายโดยรัฐบาลว่าเป็นเพียงฉากหน้าของอุดมการณ์ที่คุกคามความมั่นคง แห่งรัฐไทย จากกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ คนเสื้อแดงมีส่วนร่วมในการก่อความรุนแรงบางประการ ปล้นสะดม และทำลายทรัพย์สิน ส่วนมากในสถานการณ์เมื่อพวกเขาถูกโจมตี แต่พวกเขาไม่ใช่ “ผู้ก่อการร้าย” ติดอาวุธ หรือ “นักปฏิวัติมาร์กซิสม์” ดังที่รัฐบาลอุปโลกน์ให้พวกเขาเป็น อย่างไรก็ตาม จากกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ข้อกล่าวหาเรื่องอุดมการณ์แบบสุดโต่งและมีแนวโน้มจะก่อความรุนแรงเป็น เครื่องมือสำคัญที่กองทัพสร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกำหนดมาตรการ ปราบปรามพิเศษ และยิงผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธจำนวนมากได้ โดยได้รับการยกเว้นโทษอย่างเต็มพิกัด และอย่างที่เคยเป็นมา กลุ่มอำนาจเก่าของไทยตอบรับการเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยการทำลายความเป็น มนุษย์ของฝ่ายตรงข้าม ล้มล้างหลักนิติรัฐ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับที่กว้างขวาง

 

000

 

8. ข้อเรียกร้องหาความยุติธรรม

ประเทศไทยมีพันธกรณีหลายระดับภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องนำผู้ ละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จะต้องทำการสืบสวนและดำเนินคดี(หากเป็นไปได้)ในทุกกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงเกิดขึ้น เช่น การสังหารพลเรือนอย่างรวบรัดหรือตามอำเภอใจ (summary or arbitrary execution) โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ การสืบสวนจะต้องมีความเป็น ธรรม ครบถ้วน และดำเนินการโดยคณะที่เป็นอิสระและเป็นกลางอย่างแท้จริง นี่คือมาตรฐานที่ ระบอบอภิสิทธิ์ต้องปฏิบัติ ในการตรวจสอบว่ามีทหารหรือผู้นำพลเรือนคนใดหรือไม่ที่ต้องรับผิดชอบกับ 90 ชีวิตที่สูญเสียไป กับคนนับพันที่ได้รับบาดเจ็บ และคนนับร้อยที่ถูกจับกุมคุมขังตามอำเภอใจอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก ในกรณีร้าย แรงอย่างการสังหารอย่างรวบรัดตัดตอนหรือตามอำเภอใจนั้น การปกปิดของรัฐบาลเท่ากับเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

 

 

8.1 หน้าที่ในการสืบสวนและหาผู้กระทำความผิดของประเทศไทย

ประเทศไทยมีข้อผูกพันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศทั้งที่เป็นลายลักษณ์ อักษรและกฎหมายจารีตประเพณีที่จะต้องสืบสวนทุกกรณีที่มีเหตุอันควรให้เชื่อ ได้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงและการกระทำผิดอื่นๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศเกิดขึ้น และดำเนินคดี(ในกรณีที่ทำได้)กับผู้กระทำการละเมิด หน้าที่นี้เกี่ยวพันโดย ตรงกับการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของทหารในการปราบปรามพลเรือนในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม 2553 ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างมีการชุมนุมและหลังการชุมนุม นั่นคือ การสูญหาย การคุมขังตามอำเภอใจโดยไม่มีกำหนดในสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม ข้อเท็จจริงต่างๆ บ่งชี้มูลความผิดจำนวนมากที่ต้องมีการดำเนินคดีต่อทหารในกองทัพไทย รัฐไทย จึงมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการสืบสวนโดยคณะที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง

ประเทศไทยมีหน้าที่ที่ต้องดำเนินการสืบสวนตามหลักการ aut dedere aut judicare (หน้าที่ที่ต้องดำเนินคดีและส่งผู้ร้ายข้ามแดน) ที่ปรากฏในสนธิสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับที่ประเทศไทยเป็นภาคี เช่น มาตราร่วมของอนุสัญญาเจนีวาทั้งสี่ฉบับ พ.ศ. 2492  อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ พ.ศ. 2527  อนุสัญญาการก่อการร้ายแห่งยุโรป พ.ศ. 2520 อนุสัญญาการจับตัวประกัน พ.ศ. 2522 และอนุสัญญานิวยอร์กว่าด้วยอาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองโดยสากล พ.ศ. 2516 [160]

หน้าที่ที่ต้องดำเนินการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงปรากฏ อยู่ทั่วไปในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นกฎข้อหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นจารีต ประเพณี สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกล้วนยอมรับในหน้าที่นี้ ในกรณีของประเทศไทย มีหน้าที่นี้โดยตรงภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง การเมือง (ICCPR) [161] คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ดูแลและเป็นผู้ตีความ ICCPR ระบุว่า

พันกรณีเชิงบวกของรัฐภาคีในการดูแลให้มีสิทธิตาม กติกาฯ จะถือปฏิบัติสมบูรณ์ได้เพียงต่อเมื่อปัจเจกบุคคลได้รับการคุ้มครองโดย รัฐ.......จากการละเมิดสิทธิในกติกาฯโดยเจ้าหน้าที่รัฐ.... อาจจะมีสถานการณ์ที่การไม่สามารถรับประกันสิทธิตามกติกาฯ ดังที่กำหนดไว้ในข้อ 2 จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเหล่านั้นโดยรัฐภาคี อันเป็นผลจากการที่รัฐภาคีอนุญาตให้มี หรือไม่สามารถที่จะดำเนินมาตรการที่เหมาะสม หรือไม่ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อป้องกัน ลงโทษ สืบสวน หรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยการกระทำเช่นนั้น รัฐได้รับคำเตือนให้ระลึกถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพันธกรณีเชิงบวก ที่กำหนดไว้ในข้อ 2 และความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพเมื่อเกิดการ ละเมิดสิทธิตามข้อ 2 วรรค 3 [162]

พึงสังเกตว่า ICCPR ระบุให้รัฐภาคีต้องดำเนินการสืบสวนอย่างครบถ้วนและเป็นธรรม และดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบ:

จะต้องมีกลไกทางการปกครองต่างๆ เพื่อทำให้พันกรณีทั่วไปในการสืบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดเกิดขึ้นโดยทัน การ รอบด้าน และมีประสิทธิภาพ ด้วยหน่วยงานที่เป็นอิสระและเป็นกลาง [163]

และพึงสังเกตด้วยว่า ความล้มเหลวของรัฐภาคีในการนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมยังจะเป็น การละเมิดสนธิสัญญาอีกด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมร้ายแรง เช่น การฆ่าตามอำเภอใจ:

เมื่อการสืบสวนตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้า 15 พบว่ามีการละเมิดสิทธิตามกติกาฯ บางประการ รัฐภาคีจะต้องดูแลให้ผู้ที่รับผิดชอบต้องถูกนำตัวสู่กระบวนการยุติธรรม เช่น เดียวกับในกรณีความล้มเหลวที่จะสืบสวน ความล้มเหลวในการนำตัวผู้กระทำการละเมิดเช่นนั้นสู่กระบวนการยุติธรรมจะทำ ให้เกิดการละเมิดกติกาฯ เป็นกรรมแยกต่างหากไปอีกในตัวของมันเอง พันธกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นกับการละเมิดที่ถูกถือว่าเป็นอาชญากรรมตามกฎหมายใน ประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี (ข้อ 7) [และ] การฆ่าโดยพลการและตามอำเภอใจ (ข้อ 6)..... ดังนั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐได้กระทำการละเมิดสิทธิตามกติกาฯ ที่กล่าวถึงไว้ในย่อหน้านี้ รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องจะต้องไม่ปล่อยให้ผู้กระทำการละเมิดหลุดพ้นจากความรับ ผิดชอบส่วนตนไปได้ [164]

ประเทศไทยจึงมีข้อผูกมัดภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จะต้องจัดให้มี การดำเนินการสืบสวนที่ครบถ้วนและเป็นธรรมโดย “คณะที่เป็นอิสระและเป็นกลาง” ไม่เพียงแต่มีเหตุอันเชื่อได้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงโดยเจ้า หน้าที่รัฐเท่านั้น ยังมีหลักฐานหนักแน่นชี้ว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นเกิดขึ้นภายใต้ การชี้นำของรัฐบาล การใช้กระบวนการยุติธรรมที่มีความลำเอียงทางการเมืองของ ไทยหรือคณะกรรมการสืบสวนที่ไม่มีความโปร่งใสที่ควบคุมโดยระบอบอภิสิทธิ์นั้น ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความอิสระและความเป็นกลาง อันที่จริง การล้มเหลวในการดำเนินการสืบสวนควรได้รับการพิจารณาว่าอาจเข้าข่ายเป็นการ ละเมิดพันธกรณีที่ไทยมีต่อ ICCPR อีกคดีหนึ่งด้วย

8.2 การสังหารโดยพลการและตามอำเภอใจ: การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงอื่นๆ

ICCPR ระบุว่าต้องไม่มีใครถูกพรากชีวิตไปโดยอำเภอใจ [165] และยังรับรองสิทธิที่จะปลอดพ้นจากการถูกทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้ายหรือย่ำยีศักดิ์ศรี [166] และการถูกคุมขังตามอำเภอใจ [167] นอกจากการเสียชีวิตของคนจำนวนมากแล้ว ยังมีสมาชิกนปช.จำนวนมากที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวด้วยข้อหา ละเมิดพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และ/หรือพระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน ที่ประกาศใช้และคงไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมที่เป็นธรรมของบรรดาผู้ถูกกล่าวหาก็เป็นประเด็นที่ต้องมีการตรวจสอบ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศด้วย

ต่อให้ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของ ICCPR ก็ยังต้องมีหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องดำเนินการสืบสวนอย่าง ครบถ้วนและเป็นกลางต่อกรณีการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดหรือตามอำเภอใจ พันธกรณีนี้ได้รับการตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำ เล่าโดยสมัชชาสหประชาชาติ ล่าสุดในปี 2552 [168] ที่ประชุมสมัชชาฯ “ประณามอย่างรุนแรง” ต่อการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดหรือตามอำเภอใจ “เรียกร้อง” ให้ภาคีทุกประเทศดำเนินการให้การกระทำเช่นนี้ยุติลง และย้ำเตือนถึง “พันธกรณีที่ทุกรัฐภาคีต้องดำเนินการสืบสวนอย่างครบถ้วนและเป็นกลางในทุก กรณีที่น่าสงสัย” ว่ามีการสังหารเช่นนั้น

ไม่ใช่เพียงแต่สืบสวนเท่านั้น ยังต้องมีการดำเนินคดีตามความเหมาะสมอีกด้วย ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติย้ำ เตือนพันธกรณีนี้ของทุกรัฐ ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดหรือตามอำเภอใจ “ต้องหาตัวผู้กระทำผิดและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม […] และใช้มาตรการทุกอย่างที่จำเป็น รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อยุติภาวะการรอดพ้นจากการรับผิด และป้องกันไม่ให้การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นอีก” [169]

พันธกรณีเหล่านี้เกี่ยวเนื่องอย่างยิ่งโดยเฉพาะในกรณีอย่างที่เกิดใน ประเทศไทย ที่อาจมีการหมายหัวหรือใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุม นักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (อย่างเช่น เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์) ที่ประชุมสมัชชาประชาชาติเรียกร้องเป็นการเฉพาะต่อ ทุกรัฐภาคี “ให้ทำการสืบสวนโดยทันท่วงทีและรอบด้านต่อกรณีการฆ่าฟันทั้งหมด รวมทั้งการฆ่าอย่างเจาะจงกลุ่มบุคคลเฉพาะ อย่างเช่น ... การสังหารบุคคลด้วยเหตุที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพวกเขาเหล่านั้นในฐานะนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย นักข่าว หรือผู้ชุมนุมประท้วง […] และนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” [170]

เช่นเดียวกับการสืบสวน การดำเนินคดีก็ต้องเกิดขึ้นต่อหน้าคณะตุลาการที่ “เป็นอิสระและเป็นกลาง” เมื่อศาลในประเทศขาดความเป็นอิสระและความเป็นกลาง คดีต่างๆ ควรถูกนำขึ้นศาลระหว่างประเทศตามที่เหมาะสม ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติระบุ ว่า การแสวงหาความยุติธรรมจะต้องกระทำ:

ต่อหน้าคณะตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นกลางใน ระดับประเทศหรือระหว่างประเทศ (หากเหมาะสม) และต้องมีการดูแลไม่ให้มีการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐในคดีการสังหารที่ กระทำโดยกองกำลังความมั่นคง ตำรวจและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย กลุ่มติดอาวุธหรือกองกำลังเอกชน หรือมีการไม่เอาผิดกับการสังหารเหล่านั้น [171]

กรณีประเทศไทยเกี่ยวข้องกับพันธกรณีเหล่านี้ทั้งหมด เนื่องจากมีเหตุอันเชื่อได้ว่ากองกำลังฝ่ายความมั่นคงหรือเจ้าหน้าที่อื่น ของรัฐได้กระทำการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดหรือตามอำเภอใจ ตามกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุว่าการสังหารอย่างผิดกฎหมายเข้าข่ายใดในสามกรณีดังกล่าว (วิสามัญฆาตกรรม ฆ่าอย่างรวบรัด หรือตามอำเภอใจ) ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดตัดตอนหรือตามอำเภอใจ กล่าวไว้ว่า “คำเหล่านี้เคยมีบทบาทสำคัญในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของภารกิจของผู้ รายงานพิเศษฯ นี้ แต่ปัจจุบันมันแทบไม่มีความหมายอะไรเลยเกี่ยวกับลักษณะที่เป็นอยู่จริงของ เรื่องเหล่านี้” [172] สิ่ง สำคัญคือกองกำลังความมั่นคงอาจจะฆ่าเฉพาะในกรณีที่สอดคล้องกับหลักการสากล ว่าด้วยความจำเป็นและความเหมาะสมได้สัดส่วน (principles of necessity and proportionality) [173]

การฆ่าผู้ชุมนุมโดยกองกำลังความมั่นคงของไทยนั้นไม่ปรากฏว่าสอดคล้องกับ หลักการเหล่านี้ ผู้รายงานพิเศษฯ บอกว่า หลักการเหล่านี้ได้สร้าง “มาตรฐานทางกฎหมายที่ชัดเจนว่าด้วยการใช้กำลังที่รุนแรงถึงชีวิต” ซึ่ง “ระบุว่าตำรวจ(หรือเจ้าหน้าที่ความมั่นคงส่วนอื่นที่ปราบปรามการชุมนุม)จะ สามารถยิงเพื่อสังหารได้ก็ต่อเมื่อเห็นได้ชัดว่าบุคคลใดกำลังจะฆ่าใคร อื่น(ทำให้การใช้กำลังรุนแรงถึงชีวิตมีความเหมาะสม) และไม่มีหนทางอื่นใดแล้วที่จะทำการควบคุมตัวบุคคลผู้ต้องสงสัยนั้นไว้(ทำให้ การใช้กำลังรุนแรงถึงชีวิตมีความจำเป็น)” [174]

ไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่จะเชื่อได้ว่าได้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว ในประเทศไทย ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่(หรืออาจทั้งหมด)ที่ถูกฆ่าไม่ได้กำลังจะฆ่า ใครอื่น และไม่มีความพยายามใดเลยที่จะหลีกเลี่ยงการคุกคามดังว่านั้นด้วยวิธีการอื่น นอกเหนือจากการใช้กำลังรุนแรงถึงชีวิต ในทางตรงกันข้าม การประกาศของทหารไทยว่าบางพื้นที่เป็น “เขตกระสุนจริง (live fire zones)”เป็นหลักฐานสำคัญว่าไม่ได้มีการปฏิบัติตามหลักการความจำเป็นและความ เหมาะสมซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ทำให้การสังหารนั้นถูกกฎหมาย ดังที่ผู้ รายงานพิเศษฯ ได้เน้นย้ำ นโยบาย “การยิงเพื่อฆ่า” เป็น “สำนวนทางการที่อันตราย ที่แทนที่มาตรฐานทางกฎหมายที่ชัดเจนด้วยการใช้กำลังที่รุนแรงถึงชีวิต” [175]

กองทัพไทยควรปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลัง (ตามที่สรุปไว้ก่อนหน้านี้) อย่างเข้มงวด ความสำคัญของหลักการนี้ได้รับการเน้นย้ำโดยผู้รายงานพิเศษฯ ที่ทำการศึกษาและสรุปว่า “สิทธิในชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างรุนแรงในรัฐที่แนวปฏิบัติเรื่องการใช้ กำลังไม่สอดคล้องกับกฎเหล่านี้” [176]

แน่นอนว่าเราไม่ควรด่วนพิพากษาเพียงจากข้อมูลที่จำกัดที่มีปรากฏอยู่ใน สาธารณะเกี่ยวกับการปฏิบัติของกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทย และเกี่ยวกับความจำเป็นและสัดส่วนที่เหมาะสมในการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดตัดตอนหรือตามอำเภอใจที่พวกเขาอาจกระทำ สิ่งที่จำเป็น และเป็นไปตามที่กำหนดไว้โดยทั้ง ICCPR และกฎหมายระหว่างประเทศแบบจารีตประเพณีก็คือ ต้องมีการสืบสวนการสังหารเหล่านี้อย่างครบถ้วน เป็นอิสระและเป็นกลาง

 

8.3 การประหัตประหารทางการเมือง

ครั้นเมื่อกลุ่มเสื้อแดงเริ่มปักหลักชุมนุมในกรุงเทพฯ ในวันที่ 12 มีนาคม 2553 นั้น กระบวนการตามล่าล้างทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลปัจจุบันได้ดำเนินมา เป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยเริ่มจากการรัฐประหารปี 2549 ที่นายพลไทยยึดอำนาจรัฐและฉีกรัฐธรรมนูญเพื่อเป้าหมายประการเดียวคือทำลาย ล้างพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้น จัดการยุบพรรคไทยรักไทยด้วยการใช้กฎหมายย้อนหลัง ตัดสิทธิทางการเมืองของนักการเมืองพรรคไทยรักไทย ดำเนินคดีอาญาอย่างเลือกปฏิบัติต่อผู้นำพรรค ครอบงำศาล ยึดทรัพย์สินของทักษิณ ชินวัตร และแก้กฎกติกาต่างๆ เพื่อสกัดการหวนกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งของพรรคไทยรักไทย ตลอดช่วงเวลาที่ นายพลเหล่านี้กุมอำนาจ (กันยายน 2549 – ธันวาคม 2550) พวกเขาทุ่มเทกับการถอนรากถอนโคนผู้สนับสนุนทักษิณโดยอาศัยการไล่ล่าทางการ เมืองทุกรูปแบบ ทำลายหลักนิติรัฐ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในการแสดงความคิดเห็นและชุมนุม ตัดสิทธิทางการเมือง ลิดรอนเสรีภาพในการรวมตัว กลั่นแกล้งทางกฎหมาย ยึดทรัพย์ และใช้กฎหมายเพื่อเล่นงานตัวบุคคล ตามถ้อยแถลงของเหล่านายพลในเวลานั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความพยายามที่จะขจัดพรรคไทยรักไทยทำกันเป็นขบวนการที่ มุ่งเลือกปฏิบัติบนฐานของฝักฝ่ายทางการเมือง

กระบวนการทำลายล้างนี้ยังคงดำเนินไปในช่วงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (มกราคม 2551 – ธันวาคม 2551) แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปแบบไปก็ตาม ดังที่บันทึกไว้ในเอกสารฉบับนี้ รัฐธรรมนูญ 2550 ให้สิทธิแก่ศาลที่จะแทรกแซงการเมืองด้วยจุดประสงค์ในการพลิกผลการเลือกตั้ง เปลี่ยนองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร สั่งยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค(ไม่เว้นกระทั่งผู้ที่ไม่ได้กระทำผิด)ไม่ให้ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กฎกติกาต่างๆ เหล่านี้ละเมิดสิทธิของปัจเจกบุคคลหลายประการดังที่ระบุไว้ใน ICCPR เช่น สิทธิในการ“มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการรัฐ ทั้งโดยตรงหรือผ่านตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเสรี” (ข้อ 25) และสิทธิที่จะมี“เสรีภาพในการรวมตัวกับผู้อื่น” (ข้อ 22) มันแทบไม่มีความหมายอะไรเลยที่คณะรัฐประหารอุตส่าห์เขียนเนื้อหาเหล่า นี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎกติกาเหล่านี้ขัดโดยตรงกับพันธกรณีตามกติการะหว่าง ประเทศฯ ที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีโดยสมัครใจ แม้ว่าอำนาจพิเศษของศาลไม่จำเป็นว่า จะต้องนำไปสู่การทำลายล้างทางการเมือง แต่การบังคับใช้กฎกติกาอย่างเลือกเป้าและเป็นระบบต่อบรรดาผู้ที่ถูกมองว่า ภักดีต่อทักษิณ ผู้ที่คัดค้านการรัฐประหาร และผู้ที่เรียกร้องให้มีการลดอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของอำมาตย์นั้นเป็นการเลือก ปฏิบัติบนฐานของฝักฝ่ายทางการเมือง

บางทีหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดของการตามทำลายล้างทางการเมืองคือการลิดรอน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน ด้วยการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น (censorship)ที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทยในรอบสามสิบปี ตลอดจนการดำเนินคดีต่อคนจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในข้อหาอาชญากรรมทาง ความคิด

และเช่นกัน มันไม่สำคัญเลยว่าการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและการคุมขังนักโทษทางการ เมืองจะได้รับการรับรองในกฎหมายอย่างพระราชบัญญัติการกระทำผิดทาง คอมพิวเตอร์และกฎหมายอาญามาตรา 122 กฎหมายเหล่านี้โดยตัวของมันเองเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนไทยที่จะมี เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการ “แสวงหา รับ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท”   ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐมักจะอ้างความชอบธรรมสำหรับการลิดรอนดังกล่าวว่าจำ เป็นในการรักษาความมั่นคงของชาติ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ ICCPR ยินยอม) แต่ก็ยังไม่เป็นเหตุเป็นผลเพียงพอที่จะอ้างว่าความเห็นหนึ่งในเฟซบุคจะคุก คามความมั่นคงของชาติได้ หรือการปราศรัยที่มีข้อความวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ส่งผลต่อความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสาธารณชนเหมือนการฆ่าคนตาย (และสมควรติดคุกสิบแปดปี) นี่คือการแสดงความคิดเห็นที่ ICCPR มุ่งคุ้มครอง นั่นก็คือเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันต่างๆ ของรัฐ นอกจากนี้ การเซ็นเซอร์สื่อต่างๆ ที่อาจวิพากษ์วิจารณ์ “สถาบันกษัตริย์ ชาติ หรือศาสนา” ก็ฟังไม่ขึ้นแม้กระทั่งในสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจาก ICCPR ระบุว่าสิทธิในการมีความคิดเห็นทางการเมืองและแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่นนั้น ไม่อาจลิดรอนได้ (ข้อ 4(2)) กล่าวโดยสรุปก็คือ อาชญากรรมของ “การไล่ล่าประหัตประหารทางการเมือง” เป็นผลมาจากการใช้กฎหมายกดขี่เหล่านี้ต่อกลุ่มคนที่คัดค้านรัฐบาล

สิทธิอื่นๆ ของประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตยกลับคืนมาได้ถูกละเมิดอย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการไล่ล่าประหัตประหารทางการเมืองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ อาจกล่าวได้ ว่าพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในและพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ถูกบัญญัติ ประกาศใช้ และคงไว้เพื่อลิดรอนสิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญของประชาชนไทย ที่เห็นได้ ชัดเจนคือการดำเนินคดี การคุมขังโดยไม่มีกำหนดและการปฏิเสธที่จะดำเนินการตามครรลองกระบวนการ ยุติธรรมต่อผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดพระราชกำหนด สถานการณ์ฉุกเฉินฯ (ในขณะที่ผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาลที่กระทำการละเมิดแบบเดียวกันกลับไม่ ต้องรับผิดชอบใดๆ) นั้นเป็นสองมาตรฐานที่ไม่อาจยอมรับได้ ที่สำคัญที่สุด กระบวนการไล่ล่าที่เกิดขึ้นหลังการชุมนุม (คล้ายกับการไล่ล่าหลังเหตุการณ์สังหารหมู่ปี 2519) เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่ารัฐบาลต้องการบดขยี้ปฏิปักษ์ด้วยการจับกุมคุมขังตาม อำเภอใจ (ละเมิดข้อ 9 ของ ICCPR) ละเมิดสิทธิของพวกเขาที่จะได้รับการไต่สวนอย่างเป็นธรรม (ข้อ 14) และการได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอภาคในแง่กฎหมาย (ข้อ 26)

พึงสังเกตว่าการไล่ล่าประหัตประหารทางการเมืองในบางรูปแบบนั้นเทียบเท่า กับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มาตรา 7(1)(ซ) และ 7(2)(ช) ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) นิยามอาชญากรรมต่อมนุษยชาติด้วย “การไล่ล่าประหัตประหาร(persecution)” ว่าเป็น “การลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรงและจงใจอันขัดต่อกฎหมายระหว่าง ประเทศด้วยเหตุทางอัตลักษณ์ของกลุ่มหรือการรวมตัว” รวมถึงการไล่ล่าประหัตประหารด้วยเหตุผลทางการเมือง เมื่อกระทำโดยเชื่อมโยงกับอาชญากรรมอื่นภายใต้บทบัญญัติของธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างเช่นการฆาตกรรม ดังที่กล่าวมาแล้วในบทข้างต้น มีเหตุอันเชื่อได้ว่าการสืบสวนที่เป็นอิสระและเป็นกลางจะสรุปได้ว่ามีการ ฆาตกรรมโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ และยังเห็นได้ ชัดเจนว่าการปราบปรามคนเสื้อแดงนั้นเป็นไปบนฐานความเชื่อทางการเมืองของพวก เขา

ปัญหาข้อกฎหมายอีกเพียงหนึ่งประการก็คือ การปฏิบัติต่างๆ เช่น การคุมขังโดยไม่มีกำหนด การตั้งข้อหาเกินจริงและการพิพากษาลงโทษเกินกว่าเหตุสำหรับการแสดงความคิด เห็นนั้น เป็น “การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง” หรือไม่? มีกรณีตัวอย่างมากมายที่สนับสนุนว่าการใช้ระบบยุติธรรมเพื่อทำร้าย และการไล่ล่าประหัตประหารในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป็นการทำร้ายทางกายภาพ สามารถถือเป็นการไล่ล่าประหัตประหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประกอบอาชญากรรม ต่อมนุษยชาติได้ คณะตุลาการระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ได้ยอมรับว่าองค์ประกอบของอาชญากรรม (actus reus) นั้นรวมถึงการกระทำที่ไม่ได้ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรมฯ [177] ด้วย ศาล Kupreškić อธิบายเรื่องนี้ในแง่มุมกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและคำตัดสินของศาล ระดับประเทศ และนิยามการไล่ล่าประหัตประหารว่าเป็น “การปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรงหรืออย่างชัดแจ้ง โดยมีการเลือกปฏิบัติ ตามที่ระบุในกฎหมายระหว่างประเทศทั้งที่เป็นกฎหมายจารีตประเพณีหรือเป็น กฎหมายสนธิสัญญา ซึ่งมีความรุนแรงเท่ากับการกระทำอื่นที่ห้ามไว้ในข้อ 5” [178]  คณะตุลาการระหว่างประเทศคณะต่างๆ ถือว่าการจงใจในการไล่ล่าประหัตประหารนั้นมีโทษสูงกว่าอาชญากรรมต่อ มนุษยชาติแบบอื่นๆ เนื่องจากว่ามีความจงใจเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งการเลือกฝักฝ่ายทางการเมือง [179]

ศาล Kupreškić  สรุปว่า “การคุมขังอย่างเป็นกระบวนการ” นั้นอาจเป็นการไล่ล่าประหัตประหารได้ [180] มุมมองนี้อาจสามารถใช้ได้กับการคุมขังผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดยไม่มีกำหนดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้

กระทั่งความเสียหายทางเศรษฐกิจก็สามารถถือเป็นการถูกลิดรอนสิทธิขั้นพื้น ฐานได้ ศาล Kupreškić  ระบุว่า แม้ว่าการยึดทรัพย์สินอุตสาหกรรมไม่ถือว่าเป็นการไล่ล่าประหัตประหารในคดี Flick และ Krauch ที่พิจารณาโดยคณะตุลาการนูเร็มเบิร์ก กรณี Flick ก็ทำให้เกิดคำถามว่าการยึดทรัพย์สินส่วนบุคคลนั้นเป็นการไล่ล่าประหัตประหาร หรือไม่ [181]  ศาลดังกล่าวระบุว่าการปฏิเสธสิทธิทางเศรษฐกิจต่อชาวยิวและการยึดทรัพย์สิน ชาวยิวนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการไล่ล่าประหัตประหารตามคำพิพากษาของคณะ ตุลาการทหารระหว่างประเทศ และยังกล่าวด้วยว่าการใช้ระบบกฎหมายในการดำเนิน การดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อกล่าวหาว่ามีการไล่ล่าประหัตประหารในคดี Justices [182] ศาลดังกล่าวยังระบุด้วยว่า “การทำลายบ้านเรือนและทรัพย์สิน” ของพลเรือนมุสลิมถือเป็นการไล่ล่าประหัตประหารหากการทำลายนั้นมี “ผลกระทบร้ายแรงต่อเหยื่อ” อย่างเช่น “การทำลายสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรกลุ่มหนึ่ง” [183]  ศาลตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าจะมีคดี Flick และ Krauch ก็ตาม คณะตุลาการทหารระหว่างประเทศก็ตัดสินลงโทษบุคคลในข้อหาเลือกปฏิบัติทาง เศรษฐกิจ รวมถึงเกอร์ริงที่การกระทำการไล่ล่าประหัตประหารที่มุ่งเน้นไปที่ “การยึดทรัพย์สินของชาวยิวและการบังคับพวกเขาออกจากระบบเศรษฐกิจยุโรป”

กล่าวโดยสรุป หากพิจารณาตามเงื่อนไขต่างๆว่าด้วยอาชญากรรมต่อมนุษยชาติแล้ว (ดูบทถัดไป) ก็เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ไทยได้ทำการเลือกปฏิบัติทางการเมืองที่ลิดรอนสิทธิ พื้นฐานภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศของผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างร้ายแรงและโดย ตั้งใจ โดยเกี่ยวเนื่องกับการสังหารผู้ชุมนุมบางส่วน การลิดรอนสิทธิโดยเลือก ปฏิบัติดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติโดยการไล่ล่าประหัต ประหาร

 

 

8.4 อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

นอกจากการละเมิด ICCPR และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว การสังหารอย่างกว้างขวางและเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงในกรุงเทพฯ ในช่วงเมษายน – พฤษภาคม 2553 และการไล่ล่าประหัตประหารทางการเมืองต่อคนเสื้อแดงที่เกี่ยวข้องกันนั้นคง ชัดเจนเพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติภายใต้ธรรมนูญกรุง โรมฯ ที่ก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้นมา

นับแต่คณะตุลาการนูเร็มเบิร์ก กฎหมายอาญาระหว่างประเทศได้ยอมรับว่าการฆาตกรรมเป็นรูปแบบหนึ่งของอาชญากรรม ต่อมนุษยชาติ ซึ่งทำให้บุคคลต้องมีความรับผิดชอบในอาชญากรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ [184] 

ธรรมนูญกรุงโรมฯ นิยามการฆาตกรรมว่าคือการที่ “ผู้กระทำลงมือฆ่าบุคคลหนึ่งคนขึ้นไป” [185]  ส่วนจะเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือไม่นั้น การฆ่านั้นจะต้อง  (1) มุ่งไปที่ “ประชากรพลเรือน” (2) เป็นส่วนหนึ่งของ “การโจมตีอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ” (3) เป็นไปตามหรือโดยการผลักดันของ “นโยบายรัฐหรือองค์กรที่จะดำเนินการโจมตีนั้น” (4) มีการรับรู้ถึงการโจมตีดังกล่าว [186] เงื่อนไขแต่ละข้อดังกล่าวดูจะมีครบถ้วนในการเข่นฆ่าพลเรือนกว่า 80 รายโดยกองทัพไทยในช่วงเมษายน – พฤษภาคม 2553

“ประชากรพลเรือน (civilian population)”

ตามคำพิพากษาของศาลอาญาระหว่างประเทศ การโจมตีนั้นจะต้องกระทำต่อ “ประชากรพลเรือน” ซึ่งนิยามว่าเป็นกลุ่มคนที่ “มีลักษณะเด่นชัดในแง่สัญชาติ ชนชาติ หรือลักษณะเด่นอื่นใด” [187]  นอกจากนี้ การโจมตียังจะต้องกระทำต่อประชากรพลเรือนทั้งหมด ไม่ใช่เลือกสุ่มต่อปัจเจกบุคคล และประชากรพลเรือนนั้นต้องเป็นเป้าหลักในการโจมตีและไม่ใช่เป็นเหยื่อที่โดน ลูกหลงที่ไม่ได้ตั้งใจ [188]

แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าได้ใช้กำลังรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิตต่อฝ่ายที่ใช้ ความรุนแรงในกลุ่มคนเสื้อแดง แต่จนถึงทุกวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ที่ถูกฆ่าเมื่อ วันที่ 10 เมษายน และวันที่ 13-19 พฤษภาคม นั้นเป็นภัยคุกคามต่อฝ่ายรักษาความมั่นคง ที่จริงแล้ว มีวิดีโอคลิปหลายสิบชิ้น ภาพถ่าย และปากคำจากพยาน ที่ชี้ว่าผู้ที่ถูกฆ่านั้นไม่ได้กระทำการอันตรายใดๆ เลย แต่กลับถูกยิงกระสุนทะลุศีรษะในขณะที่กำลังถือหนังสะติ๊ก ธง กล้อง หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ รัฐบาลพยายามอธิบายถึงอันตรายของแต่ละบุคคลที่ถูก ฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บจากปฏิบัติการของทหารในภาพรวมๆ ไม่ได้อธิบายเป็นรายๆ ไป โดยอธิบายอยู่บนฐานว่าเหยื่อเข้าร่วมในกิจกรรมของกลุ่มที่รัฐบาลเรียกว่า เป็นองค์กร “ผู้ก่อการร้าย” ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ถูกฆ่าจึงตกเป็นเป้าของเจ้าหน้าที่รัฐบนฐานของ “ลักษณะเฉพาะ” ที่ระบุตัวพวกเขาว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มพลเรือนเฉพาะกลุ่มหนึ่ง เช่น การใส่เสื้อสีแดง และการแสดงจุดยืนต่อต้านรัฐบาลต่อหน้าสาธารณะ ไม่ว่าคนแต่ละคนนั้นจะกระทำการรุนแรงหรือข่มขู่คุกคามกองกำลังฝ่ายความมั่น คงหรือไม่ก็ตาม

“อย่างกว้างขวาง” หรือ “อย่างเป็นระบบ”

การที่จะเรียกได้ว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือไม่นั้น การโจมตีจะต้องเป็นไป “อย่างกว้างขวาง” หรือ “อย่างเป็นระบบ” แต่ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นทั้งสองอย่าง “อย่างกว้างขวาง” หมายถึง “ลักษณะการโจมตีขนานใหญ่และมีผลเป็นเหยื่อจำนวนมาก” ส่วน “อย่างเป็นระบบ” นั้นหมายถึง “ลักษณะการกระทำความรุนแรงอย่างมีการจัดตั้งจัดการ และความเป็นไปไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นอย่างสุ่ม” [189]

ในกรุงเทพฯ ขนาดและระยะเวลาของการฆ่า รวมถึงลักษณะการฆ่า ชี้ให้เห็นว่าเป็นไปตามเกณฑ์ทั้งสองข้อ ในด้านหนึ่ง การที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นพลเรือนอย่างน้อย 80 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณสองพันคน ในช่วงระหว่างเวลา 40 วัน ก็เป็นการยืนยันลักษณะการเป็นไป “อย่างกว้างขวาง” ของการโจมตีแล้ว ในขณะเดียวกัน การเกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กันขึ้นซ้ำๆ ตลอดระยะเวลาและพื้นที่หนึ่งๆ ชี้ให้เห็นถึงการละเมิด “อย่างเป็นระบบ” ที่ไม่ใช่การสุ่มปฏิบัติการ

“นโยบายรัฐหรือองค์กร”

ธรรมนูญกรุงโรมฯ ไม่ได้นิยามคำว่า “นโยบาย” หรือ “รัฐหรือองค์กร” แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ระบุว่าเงื่อนไขข้อนี้หมายถึง :

[...] การโจมตี หรือหากเป็นการดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวางหรือมุ่ง เป้าไปที่เหยื่อจำนวนมาก ยังจะต้องเป็นการกระทำที่มีการจัดตั้งอย่างดี และเป็นไปตามแบบแผนประจำแบบใดแบบหนึ่ง การโจมตีนั้นยังจะต้องเป็นปฏิบัติการ เพื่อเสริมนโยบายหนึ่งๆ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรของสาธารณะหรือของเอกชน นโยบายเช่นนั้นอาจจะถูกกำหนด ขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่ควบคุมดินแดนบริเวณหนึ่ง หรืออาจจะโดยองค์กรที่มีศักยภาพในการก่อการโจมตีอย่างกว้างขวางหรืออย่าง เป็นระบบต่อประชากรพลเรือน นโยบายนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นนโยบายที่กำหนด โดยกลุ่มองค์กรอย่างชัดเจนก็ได้ ที่จริงแล้ว การโจมตีใดๆ ที่มีการวางแผน มีเป้าหมายเฉพาะ หรือมีการจัดตั้งเป็นระบบ ซึ่งต่างไปจากการกระทำความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนหรือไม่เกี่ยว เนื่องกัน ก็ถือว่าเข้าข่ายตามเกณฑ์นี้แล้ว [190]

ในคดีที่ดำเนินกับ Tihomir Blaskic คณะตุลาการระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ได้ตัดสินอย่างชัดเจนว่า แผนการที่จะก่อการโจมตี “ไม่จำเป็นจะต้องมีการประกาศออกมาหรือมีการระบุอย่างชัดเจนและอย่างตรงตัว” และระบุว่าสามารถตัดสินจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ได้ เช่น:

  • สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์โดยทั่วไป และพื้นฐานทางการเมืองโดยรวม ของการกระทำอาชญากรรมนั้น
  • การโฆษณาชวนเชื่อของสื่อ
  • การระดมกองกำลังฝ่ายความมั่นคง
  • การปฏิบัติการทางทหารที่มีการประสานงานอย่างดี และเกิดขึ้นซ้ำๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งและภายในภูมิประเทศหนึ่งๆ
  • ความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างลำดับชั้นของทหาร(military hierarchy)และโครงสร้างทางการเมือง(political structure) และโครงการทางการเมืองของทหาร(political programme)
  • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับองค์ประกอบทาง “ชาติพันธุ์” ของประชากร
  • มาตรการที่เป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในการบริหารปกครองหรืออื่นๆ (เช่น การจำกัดการทำธุรกรรมทางการเงิน การออกใบอนุญาตต่างๆ...)
  • ขนาดของการกระทำความรุนแรง โดยเฉพาะการฆ่าและการกระทำความรุนแรงทางกายอื่นๆ การข่มขืน การกักขังตามอำเภอใจ การเนรเทศออกนอกประเทศ และการขับไล่หรือการทำลายทรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินทางการทหาร โดยเฉพาะการทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ [191]

การก่ออาชญากรรมคล้ายๆ กันขึ้นซ้ำๆ (เช่น ในระหว่างการโจมตีประชากรพลเรือนอย่างต่อเนื่อง) โดยตัวของมันเองก็เป็นการแสดงออกถึงนโยบายแล้ว [192]  ส่วนในเรื่องคำนิยามของคำว่า “รัฐหรือองค์กร” องค์คณะศาลอาญาระหว่างประเทศที่พิจารณาคดีของเคนยาได้ระบุว่า ในขณะที่คำว่า “รัฐ” นั้นมีความหมายชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว นโยบายอาจจะไม่จำเป็นจะต้องออกโดย “กลไกรัฐระดับสูงสุด” ก็ได้ [193]

การสังหารในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 นั้นไม่ได้เป็นเหตุการณ์โดดๆ หรือเป็นเหตุที่เกิดขึ้นแบบประปราย แต่เป็นผลของแผนการที่มีการประสานร่วมมือเพื่อตอบโต้กับการชุมนุมประท้วงของ คนเสื้อแดง มีการระดมกองกำลังติดอาวุธซ้ำๆ และมีการออกคำสั่งไปตามสายการบังคับบัญชา รวมถึงเครือข่ายพลเรือนภายในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น ไม่นานก่อนการปฏิบัติการปราบปรามโดยทหารเมื่อวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการเปิดโอกาสให้แก่สิ่งที่องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเรียกว่า “ใบอนุญาตฆ่า” [194] ให้แก่กองทัพ นั่นคือการให้อิสระแก่การใช้กำลังใดๆ ที่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมเพื่อเคลียร์พื้นที่ ดังนั้น จึงเป็นที่ชัดเจนว่า ผู้ที่อยู่ในระดับสูงสุดของระบอบอภิสิทธิ์นั้นรู้หรืออนุมัติโดยนัยให้แก่ การปฏิบัติการนั้น โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นว่าจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตคนโดย ไม่จำเป็น

ความรับรู้ (knowledge)

อาชญากรรมทุกประเภทจะต้องมี mens rea หรือเจตนาที่จะก่ออาชญากรรม ในบริบทของการฆาตกรรมที่เป็นอาชญากรรมต่อ มนุษยชาตินั้น เจตนาของผู้กระทำ “เพื่อก่อความเสียหายรุนแรงแก่เหยื่อโดยไม่สนใจชีวิตของมนุษย์” [195] ก็เพียงพอแล้วที่จะเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ องค์คณะอุทธรณ์ของคณะ ตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย ในคดี Tadic เมื่อปี 2542 ระบุว่า ผู้กระทำผิดจะต้องรู้ว่าการโจมตีเกิดต่อขึ้นประชากรพลเรือน และรู้ว่าการกระทำของตนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีนี้ และตระหนักถึงความ เสี่ยงที่เกิดจากการกระทำของตนแต่ยังเต็มใจที่จะรับผลความเสี่ยงนี้ [196] อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นว่าผู้กระทำผิดจะต้องรู้ถึงรายละเอียดของการโจมตีทั้งหมด [197]

แม้ว่ารัฐบาลจะปฏิเสธว่าทหารไม่ได้ตั้งใจทำร้ายพลเรือน แต่พยานที่อยู่ทั้งสองฝั่งของแนวทหารได้อ้างว่าเห็นทั้งเจตนาของฝ่ายกอง กำลังความมั่นคงของไทยที่จะก่อความเสียหายรุนแรง และการไม่ใส่ใจต่อชีวิตมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปราบปรามการ ชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคมยาวนานถึงหนึ่งสัปดาห์เต็ม และเกิดขึ้นในลักษณะทำนองเดียวกันในหลายๆ ส่วนของกรุงเทพฯ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยต่างๆ ของทหาร แบบแผนเช่นนี้ดูเหมือนจะชี้ว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการชุมนุมดำเนินการภายใต้แนวทางการปฏิบัติ การที่มีการกำหนดชัดเจน

เมื่อประสบกับรายงานต่างๆ เรื่องการละเมิดอย่างกว้างขวางและเป็นระบบที่กระทำโดยกองกำลังฝ่ายความมั่น คง ผู้นำทางทหารและพลเรือนไม่ได้หยุดปฏิบัติการหรือปรับเปลี่ยนปฏิบัติการให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ที่จริงแล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม หนังสือพิมพ์มติชนได้รายงานว่า เจ้าหน้าที่ “วอร์รูม” ที่พรรคประชาธิปัตย์ตั้งขึ้นนั้นพอใจกับข้อเท็จจริงที่ว่า มีคนเสียชีวิต ณ เวลานั้น “เพียง” 35 คน ซึ่งต่ำกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต 200-500 คนตามที่ตนได้คาดการณ์ไว้มาก [198]  จำนวนที่กล่าวถึงนั้นสอดคล้องกับรายงานภายในของรัฐบาลที่อ้างว่ารั่วไหลออก มา และนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำนปช. ได้เปิดเผยต่อสื่อเมื่อวันที่ 19 เมษายน ซึ่งระบุว่า ทหารได้วางแผนจะปราบปรามการชุมนุมเป็นเวลานานหนึ่งสัปดาห์ และได้กำหนดจำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นที่ยอมรับได้ไว้ที่ห้าร้อยคน [199] ในวันก่อนการสลายการชุมนุม รัฐบาลได้เตือนว่ารัฐบาลจะยิง “ผู้ก่อการร้ายที่ติดอาวุธ” และโดยที่ไม่ได้กล่าวถึงเอกสารที่รั่วไหลออกมา โฆษกรัฐบาลได้ประมาณการณ์ว่ามี “กลุ่มผู้ติดอาวุธ” ห้าร้อยคนแฝงตัวอยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดง [200]

 

8.5 หลักฐานเรื่องการพยายามปกปิด

รัฐบาลไทยได้ยอมรับต่อสาธารณะว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสืบสวนกรณีการ ละเมิด แต่ประวัติของรัฐบาลหรือมาตรการขั้นตอนต่างๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการหลังจากการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นไม่ได้ ชี้เลยว่าจะมีการไต่สวนอย่างจริงจังและอย่างเป็นอิสระเกิดขึ้น รัฐบาล อภิสิทธิ์กลับดำเนินมาตรการต่างๆ ที่ชี้ไปในทางการปิดบังข้อมูลมากกว่า ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นอิสระต่างสงสัย ว่าจะมีการสืบสวนอย่างเต็มรูปแบบเกิดขึ้นได้อย่างไรในขณะที่ยังคงมีการ ประกาศใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินฯ อยู่ อันทำให้รัฐบาลกำราบข้อมูลที่เห็นว่าเป็นผลเสีย และกักขังทุกคนที่เห็นว่าเป็นภัยต่อ “ความมั่นคงของชาติ” [201] เนื่อง จากรัฐบาลนี้มีประวัติของการนำเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” มาปนกับความมั่นคงในการรักษาตำแหน่งของตน ก็มีเหตุผลให้เราตั้งข้อสงสัยกับเจตนาของรัฐบาลได้

หลังจากการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์ รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ตกลงที่จะตั้งคณะกรรมการ “สอบข้อเท็จจริง” ที่มีหน้าที่สืบสวนกรณีความรุนแรง คณะกรรมการฯ นั้นนำโดยนายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ในขณะที่คณิตได้เสนอชื่อของ “ผู้เชี่ยวชาญ” ทางกฎหมายเพียงสิบคนที่จะเข้าร่วมในการสืบสวนไปเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม [202] คณะกรรมการฯก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากขาดความเป็นอิสระและมี ภารกิจที่คลุมเครือ ตัวคณิตเองได้ชี้ว่า “คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง” นั่นไม่สนใจในเรื่อง “การค้นหาความจริงหรือการชี้ว่าใครเป็นฝ่ายถูกใครเป็นฝ่ายผิด” เท่ากับเรื่อง “การส่งเสริมการให้อภัย” [203]  ผลที่เกิดขึ้นก็คือ การสืบสวนครั้งนี้ก็จะเหมือนกับคณะกรรมการชุดคล้ายๆ กันที่คณิตเป็นประธานหลังจากการรัฐประหารที่สอบข้อเท็จจริงเรื่อง “สงครามต่อต้านยาเสพติด” เมื่อปี 2546 ที่จะไม่ได้นำไปสู่การดำเนินคดีใดๆ หรือทำให้เกิดข้อกล่าวหาที่ชัดเจนต่อการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง ได้ ยิ่งไปกว่านั้น คณิตเองยังได้รับการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงเสียเอง ไม่เป็นที่ น่าประหลาดใจเลย ที่คณะกรรมการชุดนี้จะเต็มไปด้วยคนที่จงรักภักดีต่อกลุ่มอำนาจเก่าของไทย เช่น สมชาย หอมละออ ผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย [204]

การเลือกผู้ที่จะมาเป็นประธานของคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่รัฐบาลตั้งขึ้นหลังจากการปราบปรามการชุมนุมนั้นก็เป็นไปในทางเดียว กัน นายอานันท์ ปันยารชุน จะเป็นประธาน “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ” อานันท์เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการรัฐประหารปี 2534 และปัจจุบันเป็นประธานกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งควบคุมโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนคณะกรรมการ “สมัชชาปฏิรูปประเทศ” ซึ่งมีหน้าที่ศึกษาประเด็นการมีส่วนร่วมของสาธารณะและความเป็นธรรมทางสังคม [205] นั้นมีศ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ศ.ประเวศเป็นผู้สนับสนุนหลักของแนวคิดเรื่อง “ประชาสังคมชนชั้นนำ” [206]  และคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีสมาชิก 19 คน ก็เต็มไปด้วยผู้สนับสนุน พธม. สมาชิกคนหนึ่งคืออ.บรรเจิด สิงคะเนติ ซึ่งเคยกล่าวว่า ทักษิณ ชินวัตรนั้น “แย่กว่าฮิตเล่อร์” [207]

ควรกล่าวด้วยว่ารัฐบาลปัจจุบันมีประวัติที่เลวร้ายอย่างยิ่งในเรื่อง “การสืบสวนที่เป็นอิสระ” การสืบสวนที่ผ่านๆ มาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลเป็นผู้ถูกกล่าวหาในช่วงสิบเก้า เดือนที่ครองอำนาจก็บอกได้แล้วว่าจะคาดหวังอะไรได้จากการสืบสวนกรณีความ รุนแรงช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553

สิ่งที่บรรยายได้ดีเป็นพิเศษถึงแนวทางการสืบสวนตัวเองของรัฐบาลนี้ก็คือ ประวัติการทำงานของพญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดัง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีอื้อฉาวมาแทบทั้งหมด การที่รัฐบาลพึ่งพาอาศัยคุณ หญิงพรทิพย์อย่างมากมายอย่างนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นเพราะว่าคุณหญิงผู้มี สีสันฉูดฉาดรายนี้เป็นคนดังของประเทศ การสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ก็พบว่าเธอคือคนที่ได้รับความเชื่อถือมากที่ สุด [208]  ที่เยี่ยมกว่านั้นอีกคือ ในบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่รัฐบาลมักเรียกใช้บริการเมื่อเกิดกรณีอื้อฉาวใดๆ ขึ้นมา คุณหญิงพรทิพย์เป็นที่พึ่งพาได้เสมอในอันที่จะได้ข้อสรุปที่เกื้อหนุนทฤษฎี ของฝ่ายรัฐบาลและพันธมิตร

กระทั่งก่อนที่อภิสิทธิ์จะเป็นนายกฯ คุณหญิงพรทิพย์ก็มีบทบาทสำคัญในการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลพลัง ประชาชนในกรณีการปะทะระหว่างพันธมิตรและตำรวจบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่สมาชิกพันธมิตร นส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิเป็นที่ร่ำลือว่าเสียชีวิตจากการระเบิดของระเบิดปิงปองที่ พันธมิตรนำมาเอง คุณหญิงพรทิพย์สรุปว่าการเสียชีวิตเป็นผลมาจากกระบอกแก๊ส น้ำตาผลิตจากจีนที่ตำรวจยิงใส่ผู้ชุมนุมตรงๆ คำอ้างนี้ถูกปฏิเสธในภายหลัง ด้วยการสืบสวนของตำรวจ ซึ่งพบร่องรอยคราบซีโฟร์บนเสื้อผ้าของอังคณา [209] คุณ หญิงให้คำอธิบายว่า “ทีมของเราใช้เครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT-200 และไม่พบสารที่ใช้ในการทำระเบิด เราได้ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ร่างกายและเสื้อผ้าของผู้ได้รับบาดเจ็บแล้ว” [210]

ทว่าเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT-200 ได้รับการพิสูจน์เมื่อไม่นานมานี้ว่าเป็นแค่กล่องพลาสติกไม่มีอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค [211] หลัง จากที่พบว่ามันทำงานไม่ได้โดยสิ้นเชิง รัฐบาลอังกฤษได้สั่งห้ามการส่งออกเครื่องมือที่คล้ายกันคือ ADE-651 และจับกุมกรรมการผู้จัดการของบริษัทผู้ผลิตด้วยข้อหาหลอกลวง [212]  เร็วๆ นี้ สำนักงานของบริษัทผู้ผลิตสามรายรวมทั้งบริษัทโกลบอลเทคนิคคัลก็ถูกเจ้าหน้าที่อังกฤษบุกตรวจค้น [213]  ทั้งๆ ที่มีข้อพิสูจน์หนักแน่นขนาดนี้ที่แสดงถึงความไร้ประโยชน์ของ GT-200 คุณหญิงพรทิพย์ก็ยังแก้ต่างและยืนยันให้ใช้งานมันต่อไปในบทสัมภาษณ์หลายชิ้น เมื่อต้นปีนี้ ความไร้ประสิทธิผลของเครื่องมือนี้ก่อให้เกิดคำถามต่อความน่า เชื่อถือของการสืบสวนต่างๆ ที่ได้นำไปสู่การพิพากษาลงโทษคนจำนวนนับร้อย (รวมถึงชาวมุสลิมที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผู้ก่อความไม่สงบ” ในภาคใต้) มิพักต้องพูดถึงชีวิตทหารระดับล่างที่ต้องพึ่งพาเครื่องมือนี้ในการตรวจหา ระเบิดในพื้นที่ที่ตนลาดตระเวน ยิ่งกว่านั้น ก็ยังมีคำถามว่าเหตุใดหน่วยงานรัฐบาลจึงจ่ายเงินหลายหมื่นเหรียญสำหรับ เครื่องมือที่ไม่ทำงานนี้ นอกไปจากการทุจริตในการจัดซื้อกล่องพลาสติกเปล่าๆ ในราคาเกือบล้านบาท หน่วยงานของคุณหญิงพรทิพย์เองก็มีรายงานว่าได้ซื้อ เครื่องมือนี้มาหกเครื่อง ในราคาเครื่องละ 1,100,000 บาท ซึ่งแพงกว่าที่กรมศุลกากรจ่ายไปถึงสามเท่า [214]

ในประเทศใดๆ ที่ยึดถือคุณค่าของความซื่อสัตย์และประสิทธิภาพมากกว่าความภักดีทาง อุดมการณ์ การสิ้นเปลืองเงินภาษีและการดึงดันใช้งานเครื่องมือหลอกลวงนี้ต่อไปของคุณ หญิงพรทิพย์คงจะทำให้เธอสูญเสียความน่าเชื่อถือที่จะทำการสืบสวนเรื่องสำคัญ ใดๆ ได้อีกแล้ว แต่ว่าในเมืองไทย คนอย่างคุณหญิงพรทิพย์พิสูจน์ว่าเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลอภิสิทธิ์เสมอ

ขณะกำลังเป็นเรื่องอื้อฉาวในเดือนมกราคม 2552 เมื่อมีการเปิดเผยว่ากองทัพไทยได้ปฏิบัติอย่างทารุณต่อผู้อพยพชาวโรฮิงยา หลายร้อยคนที่มาขึ้นฝั่งไทย ด้วยการลากเรือของพวกเขาออกสู่ทะเลและปล่อยให้พวกเขาตายด้วยความหิวโหยและ การขาดน้ำบนเรือที่ปราศจากเครื่องยนต์ คุณหญิงพรทิพย์ก็ให้ความชอบธรรมแก่ ปฏิบัติการโหดต่อชาวโรฮิงยาในฐานะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เธอแถลงว่าพบ ร่องรอยคราบระเบิดบนเรือเหล่านั้น ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีการใช้ GT-200 ในคราวนี้ด้วยหรือไม่ [215]

ทำนองเดียวกัน ในช่วงการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ผ่านมา คุณหญิงพรทิพย์ก็สืบพบอะไรหลายอย่างที่เข้าทางรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผลการสืบสวนการปาระเบิดที่ศาลาแดงของเธอก็ชวนสับสน คือ บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ระเบิดบางลูกอาจถูกยิงออกมาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่ก็ไม่ยอมปฏิเสธการด่วนสรุปของรัฐบาลที่มีตั้งแต่คืนที่เกิดเหตุ [216] ใน การสืบสวนกรณีทหารนายหนึ่งที่ถูกยิงในระหว่างที่คนเสื้อแดงกำลังเคลื่อนขบวน ไปตามถนนวิภาวดีรังสิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน ซึ่งในคลิปวิดิโอพบว่าเป็นการยิงจากทหารด้วยกันเอง เธอก็สรุปว่ากระสุนนัดนั้นถูกยิงมาจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งบังเอิญอยู่ในบริเวณที่สื่อต่างชาติได้เคยเผยแพร่ภาพผู้ชุมนุมเสื้อแดง รายหนึ่งถือปืนพก [217]  ส่วนการสืบสวนกรณีการลอบสังหารเสธแดง [218]ยัง ไม่ปรากฏผลออกมาในขณะนี้ และการสืบสวนของเธอในกรณีการสังหารผู้เข้าไปหลบ อยู่ภายในวัดปทุมวนารามถึงหกศพเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ก็บอกว่า เป็นไปได้ว่าผู้เสียชีวิตถูกยิงในระยะประชิด [219] ซึ่งตรงข้ามกับคำบอกเล่าของประจักษ์พยานที่รวมถึงนักข่าวต่างชาติ มาร์ค แม็คคินนอนและแอนดรูว์ บันคอมบ์ ที่ไม่สงสัยเลยว่ากระสุนนั้นถูกยิงมาจากภายนอกวัด พวกเขาระบุว่าคนยิงคือ ทหาร [220]

คุณหญิงพรทิพย์ได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปอยู่ในศูนย์อำนวยการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในวันที่ 20 เมษายน และมีแนวโน้มที่จะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อไปในการสืบสวนกรณีต่างๆ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยรายในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม [221] ตราบ ใดที่การสืบสวนของรัฐบาลยังคงพึ่งพา “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่ไร้ความน่าเชื่อถือและเอียงข้างเช่นคุณหญิงพรทิพย์แล้ว ก็แทบจะคาดหวังผลที่จะออกมาเป็นอะไรอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากถ้อยแถลงทางการ เมืองและเครื่องมือการโฆษณาชวนเชื่อ

 

8.6 ความเป็นธรรมสำหรับผู้ถูกกล่าวหา

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็เริ่มเดินหน้าดำเนินคดีผู้นำนปช. ซึ่งก็มีประเด็นเรื่องความเป็นธรรมและการเปิดเผยข้อมูล แม้ว่ารัฐบาลประสงค์ จะทำอะไรต่อคนเหล่านี้ก็ตาม ICCPR รับรองการไต่สวนที่เป็นธรรมในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงสิทธิในการเลือกทนาย การเตรียมการแก้ข้อกล่าวหาโดยมีระยะเวลาและเครื่องมือที่เหมาะสม และการสามารถเข้าถึงพยานหลักฐานได้โดยเท่าเทียม [222]  ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะตรวจสอบหลักฐานอย่างเป็นอิสระ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญและทนายของตัวเองภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับฝ่ายรัฐบาล และมีสิทธิรวบรวมหลักฐานเพื่อแก้ข้อกล่าวหา [223]

ในการดำเนินคดีผู้นำนปช. รัฐบาลอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้บงการให้เกิดการฆ่าฟันที่สะพานผ่านฟ้าและแยกราช ประสงค์ โดย “คนชุดดำ” ที่ควบคุมโดยนปช. ด้วยข้อกล่าวหาเหล่านี้ การระบุตัวตนที่แท้จริงของมือปืนและมือยิงระเบิดทุกคนเป็นประเด็นพื้นฐาน สำคัญในแต่ละกรณี ภายใต้ ICCPR ทีมทนายจำเลยมีสิทธิที่จะรวบรวมหลักฐานอย่างเช่น วิถีกระสุนและหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อื่นๆ ดีเอ็นเอ บันทึกวิดิโอ คำสั่งในสายการบังคับบัญชาของทหารและอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุที่เป็นไปได้แบบอื่น เช่น ความเป็นไปได้ที่กระสุนอาจมาจากปืนไรเฟิลของกองทัพไทย หรือว่า “คนชุดดำ” กระทำการอย่างเป็นอิสระจากนปช.

ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อสรุปของผู้เชี่ยวชาญฝ่ายรัฐบาลอย่าง คุณหญิงพรทิพย์และคนอื่นๆ ตลอดจนหลักฐานที่พวกเขาอ้างถึง ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะใช้ผู้เชี่ยวชาญ นิติวิทยาศาสตร์ของตนเองในการจำลองสภาพที่เกิดเหตุ วิเคราะห์ดีเอ็นเอ ตรวจสอบภาพวิดิโอ และหลักฐานอื่นทั้งหมดที่อยู่ในมือของรัฐบาล (โดยสามารถเข้าถึงได้เท่าเทียมกับรัฐบาล) และใช้หลักฐานนั้นแก้ข้อกล่าวหา ความเป็นธรรมและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับผู้ ถูกกล่าวหามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด มีแต่การสืบสวนที่ดำเนินการโดยคณะที่เป็นอิสระและเป็นกลางเท่านั้นที่สามารถ รับรองได้ว่าสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับการคุ้มครอง ได้มีการยื่นหนังสือ เรียกร้องอย่างเป็นทางการในนามผู้ถูกกล่าวหาไปแล้ว โดยยืนยันสิทธิของพวกเขาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศในการสงวนรักษาและเข้าถึง หลักฐานทั้งหมด รวมทั้งหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ทั้งทางกายภาพและอื่นๆ วิดิโอ เอกสารและรายงานของผู้เชี่ยวชาญ [224]  และยังได้มีการนำเรื่องนี้ไปร้องเรียนกับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตาม ICCPR อีกด้วย


000

 

9. บทสรุป : หนทางเดียวสู่การปรองดอง

กระทั่งก่อนที่คนเสื้อแดงอีก 55 คนจะถูกสังหารด้วยน้ำมือของกองทัพไทยเสียด้วยซ้ำที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ให้คำมั่นว่าตนเองและรัฐบาลของตนจะสร้างความ “สมานฉันท์”  และโดยเฉพาะยิ่งหลังจากมีการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งเลว ร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ประเทศไทยก็ยิ่งต้องการการสมานฉันท์กว่าที่เคยเป็นมา แต่น่าเศร้าใจที่เห็นได้ชัดว่าผู้มีอำนาจที่ปกครองอยู่ในขณะนี้ไม่มีความ สามารถหรือมีความตั้งใจแรงกล้าเพียงพอที่จะส่งเสริมการสมานฉันท์อย่างแท้ จริง

อีกทั้งมาตรการที่เข้มงวดและการโหมไล่ล่าในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา (เห็นได้จากการต่ออายุ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การจับกุมคุมขังผู้ที่สนับสนุนคนเสื้อแดงจำนวนหลายร้อยคน การกักขังแกนนำ นปช.ไว้ในค่ายทหาร การปราบและปิดกั้นสื่อทางเลือกทั้งหมด) การแต่งตั้งคณะกรรมการหลากหลายคณะเพื่อแสร้งให้เห็นว่าประเทศกำลังเดินหน้า ไปสู่หนทางแห่งการ “สมานฉันท์” ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วเป็นเพียง “การสร้างความเห็นพ้องทางอุดมการณ์” โดยการใช้อำนาจบังคับผ่านการโฆษณาชวนเชื่อและการปราบปราม

นายกรัฐมนตรีและคณะนายทหารซึ่งกำลังชักใยอยู่เบื้องหลังรัฐบาลนั้น เลือกที่จะเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงพื้นฐานสองประการที่คนทั้งโลกเข้าใจแล้ว ประการแรกคือ การสมานฉันท์ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากความจริง ประการที่ 2 การปราบปรามไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความจริงและการสมานฉันท์ เผด็จการนั้นมีแต่จะสร้างความเกลียดชังและการหลอกลวงเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

การทบทวนเหตุการณ์ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพไทยต้องรับผิด ชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทำอย่างต่อเนื่อง อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และการกลั่นแกล้ง ไล่ล่าทางการเมืองอย่างเป็นระบบ ขณะที่รัฐบาลไทยมีหน้าที่ตามหลักกฎหมาย ระหว่างประเทศที่ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนการกระทำละเมิดของตน และต้องนำตัวผู้รับผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ประชาคมนานาชาติก็มีความรับผิดชอบด้านศีลธรรมที่จะทำให้มั่นใจว่าการก่อ อาชญากรรมของรัฐจะไม่ถูกปกปิด อันที่จริง ขณะนี้เห็นได้ชัดเจนว่า มีแต่แรงกดดันจากนานาชาติและการเข้ามามีส่วนร่วมของนานาชาติเท่านั้นที่จะ สร้างความมั่นใจได้ว่าการสืบสวนสอบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่ในกรุงเทพฯ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพนั้นจะไม่เป็นเพียงการสร้างความยุ่งเหยิง ที่นำไปสู่การฟอกตัวเองจากกระบวนการยุติธรรมเพื่อซ่อนผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ต่อความรุนแรงโดยรัฐอย่างที่เป็นมาตลอดทุกครั้งในประวัติศาสตร์ไทย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าประวัติศาสตร์จะเป็นผู้ตัดสินความผิดของผู้ที่ต้องรับผิด ชอบต่อกรณีการสังหารหมู่ที่เพิ่งเกิดขึ้น เฉกเช่นเดียวกับการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจำนวนมาก เมื่อปี 2516, 2519 และ 2535 อย่างไรก็ตามสำหรับครั้งนี้ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจะต้องเผชิญกับความรับผิดจากการกระทำของตนเองในศาล ยุติธรรมที่แท้จริงซึ่งไม่ใช่ศาลที่พรั่งพร้อมไปด้วยมิตรสหาย หรือคนในการอุปถัมภ์ หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งจากพวกเขากันเอง

“การสมานฉันท์” ยังต้องอาศัยการยอมรับว่าความวุ่นวายทางการเมืองในปัจจุบันเป็นผลมาจากการ ทำลายและปฏิเสธเจตจำนงของประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า ดังนั้นแล้ว การแก้ไขจะทำได้ก็ด้วยการยินยอมให้ประชาชนไทยได้พูดด้วยตัวเองในการเลือก ตั้งเท่านั้น แน่นอนว่าเพียงการจัดการเลือกตั้งนั้นยังไม่เพียงพอ ประเทศไทยต้องการการเลือกตั้งในบริบทที่ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบอันไม่สมควรจาก การปิดกั้นฝ่ายตรงข้าม จากการหนุนหลังจากกลไกรัฐ จากความโน้มเอียงของศาลที่จะบิดเบือนผลการเลือกตั้ง จากโอกาสที่กลุ่มอำนาจเก่าจะบ่อนทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซ้ำอีก หรือความหวาดกลัวว่าการรัฐประหารโดยกองทัพจะเกิดขึ้นอีก ประเทศไทยจึงต้อง การการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันของทุกฝ่ายภายใต้กฎกติกาที่เคารพในสิทธิของ ประชาชนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่พวกเขาเลือกได้ด้วยตัวเอง และมีรัฐบาลจากพรรคการเมืองที่พวกเขาได้เลือกมา รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ที่ประกาศใช้ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารซึ่งให้อำนาจศาลในการยุบพรรคการ เมืองและตัดสิทธิทางการเมืองของผู้นำพรรคนั้นสอบตกด้านความชอบธรรม ตราบเท่า ที่อภิสิทธิ์ยังมีความจริงใจต่อความเชื่อของตัวเองว่าเขามีความชอบธรรมที่จะ ปกครองประเทศ เขาก็ควรยินดีกับโอกาสที่จะได้แสดงว่าตนเองมีความชอบธรรมผ่านสนามเลือกตั้ง ที่สู้กันอย่างเท่าเทียม ตราบเท่าที่เขาหวาดกลัวการตัดสินจากประชาชน เขาย่อมไม่ที่อยู่ที่ยืนในรัฐบาล

กิตติกรรมประกาศ

เราขอขอบคุณผู้ร่วมงานและมิตรสหายทั้งเก่าและใหม่ ผู้ให้เกียรติร่วมจัด ทำสมุดปกขาวเล่มนี้ ซึ่งเราซาบซึ้งในความร่วมมือและการตระหนักในความเท่าเทียมอย่างแท้จริงของ ประชาชนไทย

 

Amsterdam และ Peroff LLP
กรกฎาคม 2553

 


  1. [1] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 วรรค 3(ข) และ 3(จ)
  2. [2] ICCPR ข้อ 14 วรรค 3(จ)
  3. [3]“Deaths Probe ‘Won’t Cast Blame’,” Bangkok Post, 12 มิถุนายน 2553 http://www.bangkokpost.com/news/local/38619/deaths-probe-won-t-cast-blame
  4. [4] Pinai Nanakorn, “Re-Making of the Constitution in Thailand,” Singapore Journal of International & Comparative Law, 6(2002): 90-115, p. 93.
  5. [5] เพิ่งอ้าง, หน้า 107-09.
  6. [6] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (จากนี้เรียก รัฐธรรมนูญฉบับ 2540), ข้อ 63
  7. [7] เพิ่งอ้าง, ข้อ 313.
  8. [8] Pansak Vinyaratn, 21st Century Thailand, Facing the Challenge, Economic Policy & Strategy (Hong Kong: CLSA Books, 2004), p. 1.
  9. [9] Chaturon Chaisang, Thai Democracy In Crisis: 27 Truths (Bangkok: A.R. Information & Publication Co. Ltd., 2009), p.37.
  10. [10]Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thailand’s Crisis (Chiang Mai: Silkworm, 2000).
  11. [11] Kevin Hewinson, “Thailand: Class Matters,” in East Asian Capitalism: Conflicts, Growth and Crisis, Annali della Fondazione Giangiacomo Feltrinelli, no. XXXVI, ed. L. Tomba (Milan: Feltrinelli, 2002), 287-321.
  12. [12] Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thailand’s Boom and Bust (Chiang Mai: Silkworm, 1998), Ch. 12.
  13. [13] Chaturon, อ้างแล้ว, fn. 12, p.17.
  14. [14] เพิ่งอ้าง, หน้า 3.
  15. [15] "New Parties Sprouting Already," The Nation, May 17, 2006.  http://nationmultimedia.com/2006/05/17/headlines/headlines_30004216.php
  16. [16] Suehiro Akira, Capital Accumulation in Thailand, 1855-1985 (Chiang Mai: Silkworm Books, 1996), p. 170.
  17. [17]ดู Cynthia Pornavalai, “Thailand: Thai Asset Management Corporation,” Mondaq Banking and Financial, March 6, 2002. http://www.mondaq.com/article.asp?articleid=15878
  18. [18]ดู Pachorn Vichyanond, “Crucial Transitions in Thailand’s Financial System After the 1997 Crisis,” Brookings Institution Asian Economic Panel 2007.
  19. [19] George Wehrfritz, “All Politics Isn't Local: The Real Enemy of Demonstrators Threatening to Shut Down the Country is Globalization,” Newsweek, September 6, 2008. http://www.newsweek.com/2008/09/05/all-politics-isn-t-local.html
  20. [20] Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thaksin (Chiangmai: Silkworm, 2009), pp. 184-188.
  21. [21] เพิ่งอ้าง, หน้า 176-184.
  22. [22] SIPRI, “The SIPRI Military Expenditure Database 2010.” http://milexdata.sipri.org/result.php4
  23. [23] “Junta at Risk of a Backlash over Lucrative Benefits,” The Nation, April 5, 2007.  http://nationmultimedia.com/2007/04/05/politics/politics_30031147.php.
  24. [24] Pasuk and Baker, op. cit., fn. 23, p. 183.
  25. [25] ดู Duncan McCargo, “Network Monarchy and Legitimacy Crises in Thailand,” Pacific Review, 18(2005): 499-519.
  26. [26] “Military ‘Must Back King’,” The Nation, July 15, 2006.
  27. [27] Oliver Pye and Wolfram Schaffar, “The 2006 Anti-Thaksin Movement in Thailand: An Analysis,” Journal of Contemporary Asia, 38(2008): pp. 38-61.
  28. [28] Simon Montlake, “Election Further Clouds Thai Leader’s Future,” The Christian Science Monitor, April 4, 2006. http://www.csmonitor.com/2006/0404/p06s02-woap.html
  29. [29]“His Majesty the King’s April 26 Speeches,” The Nation, April 27, 2006,http://www.nationmultimedia.com/2006/04/27/headlines/headlines_30002592.php
  30. [30] James Vander Meer, “Thaksin in the Dock,” Asia Sentinel, August 9, 2006. http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=82&Itemid=31
  31. [31] Paul Chambers, “The Challenges for Thailand’s Arch-Royalist Military,” New Mandala, June 9, 2010. http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/06/09/the-challenges-for-thailand’s-arch-royalist-military/
  32. [32] ดูกำหนดการได้ในเวปไซท์ของพลเอกเปรมเอง ที่ http://www.generalprem.com/news.html.
  33. [33] “LEGAL WARNING: Thaksin Is `Violating the Constitution’,” The Nation, July 5, 2006. http://www.nationmultimedia.com/option/print.php?newsid=30008036
  34. [34] Prem Tinsulanonda, “A Special Lecture to CRMA Cadets at Chulachomklao Royal Military Academy,” July 14, 2006. http://www.crma.ac.th/speech/speech.html
  35. [35] “CDRM Now Calls Itself as CDR,” The Nation, September 28, 2006. http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30014778
  36. [36] Announcement on the Appointment of the Leader of the Council for Democratic Reform, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  37. [37] อ้างแล้ว.
  38. [38] “Thaksin Refuses to Resign Despite Protests in Bangkok,” International Herald Tribune, March 6, 2006. http://www.iht.com/articles/2006/03/06/news/thai/php.
  39. [39] Chang Noi, “The Persistent Myth of the `Good’ Coup,” The Nation, October 2, 2006. http://www.nationmultimedia.com/2006/10/02/opinion/opinion_30015127.php
  40. [40] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 11: Appointment of Key Members of the Council for Democratic Reform, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  41. [41]Announcement by the Council for Democratic Reform No. 1, dated September 19, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  42. [42] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 2: Prohibition on the Movement of Military and Police Forces, dated September 19, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  43. [43] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 4: Executive Power, dated September 19, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  44. [44] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 16: Leader of the Council for Democratic Reform to act for the National Assembly, the House of Representatives and the Senate, dated September 21, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740
  45. [45] เพิ่งอ้าง.
  46. [46] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 3, dated September 19, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  47. [47] http://www.msnbc.msn.com/id/14916631/
  48. [48] Pinai, op. cit., fn. 5, p. 109.
  49. [49] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 13: Selected Organic Laws shall continue to be in effect, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  50. [50] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 32: Authority and Duties of the Election Commission regarding Local Administrative Council Members and Local Administrator Elections, dated September 30, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  51. [51] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 7: Ban on Political Gatherings, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  52. [52] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 15: Ban on Meetings and other Political Activities by Political Parties, dated September 21, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  53. [53] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 27: Amendment of Announcement by the Council for Democratic Reform No. 15 dated 21 September B.E. 2549 (2006), dated September 30, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  54. [54] An unofficial translation of the Interim Constitution is available at http://www.nationmultimedia.com/2006/10/02/headlines/headlines_30015101.php.
  55. [55] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 36.
  56. [56] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 37.
  57. [57] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 5.
  58. [58] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 20.
  59. [59] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 22.
  60. [60] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 23.
  61. [61] “No Dictatation [sic.] on the Charter: CNS Chief,” The Nation, December 20, 2006, http://nationmultimedia.com/2006/12/20/headlines/headlines_30022102.php
  62. [62] “Publicity Blitz to Counter Moves to Reject New Charter,” The Nation, July 11, 2007, http://www.nationmultimedia.com/2007/07/11/politics/politics_30040282.php
  63. [63] Duncan McCargo, “Thailand: State of Anxiety,” in Southeast Asian Affairs 2008, ed. Daljit Singh and Tin Maung Maung Than (Singapore: ISEAS, 2008), 333-356, p. 337.
  64. [64] Somroutai Sapsomboon and Supalak Khundee,“Referendum Law or Penalty Law?,” The Nation, July 6, 2007. http://www.nationmultimedia.com/2007/07/06/politics/politics_30039559.php
  65. [65] Asian Human Rights Commission, “THAILAND: A Referendum Comes; a Coup is Completed,” July 6, 2007. http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2006statements/1110/.
  66. [66] อ้างแล้ว.
  67. [67] Asian Human Rights Commission, “THAILAND: A Long Road Back to Human Rights and the Rule of Law,” August 20, 2007. http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2006statements/1156/.
  68. [68] รัฐธรรมนูญ 2550, มาตรา 95-98.
  69. [69] รัฐธรรมนูญ 2550, มาตรา 111-112.
  70. [70] McCargo, op. cit., fn. 66, p. 337.
  71. [71] “CNS’s Anti-Thaksin Campaign,” Bangkok Post, April 8, 2007. http://pages.citebite.com/i1t5f0u5a3yao
  72. [72] “Saprang's Cousin Given PR Work 'Because of Experience',” The Nation, April 11, 2007. http://www.nationmultimedia.com/2007/04/11/politics/politics_30031650.php
  73. [73] “Nine Constitution Tribunal Members,” The Nation, October 7, 2006. http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30015571;
    ดู เพิ่ม “Thailand’s Struggle for Constitutional Survival,” Article 2 of the International Covenant on Civil and Political Rights (Special Edition), 6(2007), น.4.
  74. [74] ดู Christian Schafferer, “The Parliamentary Election in Thailand, December 2007,” Electoral Studies 27(2009): 167-170, น.167.
  75. [75] วรเจตน์ ภาคีรัตน์และคณะ, “คำตัดสินของตุลาการการศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการไทยรักไทย-บทวิเคราะห์ทาง กฎหมาย,” คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  76. [76] Asian Human Rights Commission, “THAILAND: The Judiciary is the Real Loser,” May 31, 2007.http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2007statements/1041/
  77. [77]“Junta ‘Never Harmed PPP’,” Bangkok Post, December 13, 2007. http://thailandpost.blogspot.com/2007/12/junta-never-harmed-ppp.html
  78. [78] “Thai Election Agency Disqualifies More Winning Candidates,” People’s Daily, January 7, 2008. People’s Daily. http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/6333842.html
  79. [79] Nirmal Ghosh, “I Won’t Quit: Samak,” The Straits Times, August 31, 2008. http://www.straitstimes.com/Breaking%2BNews/SE%2BAsia/Story/STIStory_273817.html.
  80. [80] David Pallister, “Thai PM’s Compound Stormed as Anti-Government Protests Grow,” The Guardian, August 26, 2008. http://www.guardian.co.uk/world/2008/aug/26/thailand.
  81. [81] “Worse than a Coup,” The Economist, September 4, 2008 http://www.economist.com/opinion/displaystory.cfm?story_id=12070465.
  82. [82]George Wehrfritz “Crackdown,” Newsweek, September 2, 2008. http://www.newsweek.com/2008/09/01/crackdown.html
  83. [83] Federico Ferrara, Thailand Unhinged: Unraveling the Myth of a Thai-Style Democracy (Singapore: Equinox Publishing, 2010), p. 87.
  84. [84] Richard Bernstein, “The Failure of Thailand’s Democracy,” New York Times, May 25, 2010. http://www.nytimes.com/2010/05/26/world/asia/26iht-letter.html
  85. [85] Korn Chatikavanij, “The Last Whistle and the PAD’s ‘Final Battle’,” Bangkok Post, September 9, 2008. http://www.korndemocrat.com/th/issues/bangkok_post/BangkokPost090908.htm
  86. [86] Leo Lewis, “Thai Prime Minister Samak Sundaravej Forced Out over TV Chef Role,” The Times, September 10, 2008.http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article4716195.ece.
  87. [87] ดู, ตัวอย่าง, “PM: Dissolution is Not the Answer,” Bangkok Post, April 25, 2010. http://www.bangkokpost.com/breakingnews/175728/pm-dissolution-is-not-the-answer
  88. [88] “Abhisit vs. Abhisit,” Prachatai, April 23, 2010. www.prachatai.com/english/node/1760
  89. [89] Matt Bachl, “Parents ‘Giving Up Kids for Cash in Thai protest’,” Nine News, November 30, 2008. http://news.ninemsn.com.au/article.aspx?id=676153.
  90. [90] Ed Cropley, “Assault on Police Shows Thai Protesters’ Ugly Side,” Reuters, November 29, 2010. http://www.forbes.com/feeds/afx/2008/11/29/afx5755965.html
  91. [91] “Airport Siege Cost $12.2,” The Straits Times, January 7, 2009. http://www.straitstimes.com/Breaking%2BNews/SE%2BAsia/Story/STIStory_323020.html
  92. [92] “Thai Premier Banned from Politics, Ruling Party Dissolved: Court,” Agence France-Press, December 1, 2008. http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM5hfJ-lAMzPxNPjyXUtOzsYlEvJeow
  93. [93] “PAD Cease All Anti-Government Protests,” The Nation, December 2, 2008, http://www.nationmultimedia.com/2008/12/02/headlines/headlines_30090031.php
  94. [94] “Democrat Govt a Shotgun Wedding?,” The Nation, December 10, 2008. http://www.nationmultimedia.com/search/read.php?newsid=30090626
  95. [95] “Suthep, Sondhi War of Words Widens,” Bangkok Post, March 11, 2009. http://www.bangkokpost.com/news/local/137304/suthep-sondhi-war-of-words-widens
  96. [96] “PAD Names Somsak as Party Head,” Bangkok Post, June 2, 2009. http://www.bangkokpost.com/news/politics/144914/pad-names-new-political-party
  97. [97] “สนธิ” สาวไส้เน่า ตร.“เทพประทาน” ตัวทำลาย-แนะ รบ.คืนพระราชอำนาจ, ASTV-Manager, May 28, 2010. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000073858
  98. [98] 'สนธิ' ลาออกหัวหน้าพรรค ต้านประชาธิปไตย หนุนธรรมาธิปไตย จี้ทหารปฏิวัติถ้า 'มาร์ค' ทำไม่ได้', Prachatai, May 14, 2010. http://www.prachatai3.info/journal/2010/05/29465
  99. [99] “Thai Troops ‘Cross into Cambodia’,” BBC News, July 15, 2008. http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7506872.stm
  100. [100] Apinya Wipatayotin, “The Real Victim at Preah Vihar,” Bangkok Post, July 20, 2008. http://www.bangkokpost.com/200708_News/20Jul2008_news002.php
  101. [101] May Adadol Ingawanij, “The Speech that Wasn’t Televised,” New Mandala, April 27, 2010. http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/04/27/the-speech-that-wasn’t-televised/
  102. [102] Marwaan Macan-Markar, “Thailand: Lese Majeste Cases Rise but Public in the Dark,” Inter Press Service, May 14, 2010. http://ipsnews.net/login.asp?redir=news.asp?idnews=51434
  103. [103] “Corrections Dept Asked to Explain Da Torpedo’s Solitary Confinement,” Prachatai, September 14, 2552. http://www.prachatai.org/english/node/1400
  104. [104] “50,000 Websites Shut Down, MICT Inspector Says,” Prachatai, May 7, 2553. http://www.prachatai.org/english/node/1795
  105. [105] “EDITORIAL: Criminals or Scapegoats?,” Bangkok Post, November 3, 2009. http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/26746/criminals-or-scapegoats
  106. [106] Committee to Protect Journalists, “Attacks on the Press 2009: Thailand,” February 2010. http://cpj.org/2010/02/attacks-on-the-press-2009-thailand.php
  107. [107] Reporters Without Borders, “Government Uses State of Emergency to Escalate Censorship,” April 8, 2009. http://en.rsf.org/thailand-government-uses-state-of-emergency-08-04-2010,36968.html
  108. [108] Human Rights Watch, “Thailand: Serious Backsliding on Human Rights,” January 20, 2010. http://www.hrw.org/en/news/2010/01/20/thailand-serious-backsliding-human-rights
  109. [109] “MICT to Curb Violations of Computer Act,” National News Bureau of Thailand Public Relations Department, June 15, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255306150051
  110. [110] “Thailand Sets Up Unit to Tackle Websites Insulting Royals,” Agence France Press, June 15, 2010.
  111. [111] นายกฯ เปิดโครงการ 'ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต' (Cyber Scout), Prachatai, July 1, 2010.
  112. [112] “Russian Maestro Leaves Thailand for Moscow,” Bangkok Post, July 8, 2010. http://www.bangkokpost.com/news/crimes/185701/russian-maestro-leaves-thailand-for-moscow
  113. [113] “DSI Sets Up Large Lese Majeste Force,” The Nation, July 9, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/07/09/politics/DSI-sets-up-large-lese-majeste-force-30133403.html
  114. [114] รองอธิบดีดีเอสไอยอมรับมี "การเมือง" แทรกแซงถูกใช้เป็นเครื่องมือเผยอยากให้องค์กรเป็นอิสระเหมือน ป.ป.ช., Matichon, 12 July 2010.
  115. [115] “No Death Inflicted by Crowd Control during Songkran Mayhem,” The Nation, September 11, 2009. http://www.nationmultimedia.com/2009/09/11/politics/politics_30112037.php
  116. [116] “2 Bodies of UDD Supporters Found in Chao Phraya River,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, April 15, 2009. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255204160028
  117. [117] Human Rights Watch, op. อ้างแล้ว, fn. 140.
  118. [118] สุเทพได้รับการแต่งตั้ง โดยเขาได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี 2552 หลังจากมีข่าวอื้อฉาวเรื่องการทุจริตเรื่องที่ดิน ดู “Suthep Resigns as MP,” Bangkok Post, July 17, 2010. http://www.bangkokpost.com/news/politics/149293/suthep-resigns-as-mp
  119. [119]เส ธ.แดงถูกยิงที่ศีรษะต่อหน้าโทมัส ฟูลเลอร์ แห่งนิวยอร์คไทมส์ ดู Thomas Fuller and Seth Mydans, “Thai General Shot; Army Moves to Face Protesters, New York Times, May 13, 2010. http://www.nytimes.com/2010/05/14/world/asia/14thai.html
  120. [120] “Bangkok Gears Up for Protest Siege,” Associated Press, May 13, 2010. http://asiancorrespondent.com/breakingnews/bangkok-gears-up-for-protest-siege.htm
  121. [121] “Khattiya Sawatdiphol (Seh Daeng),“ New York Times, May 17, 2010. http://topics.nytimes.com/top/reference/timestopics/people/k/khattiya_sawatdiphol/index.html
  122. [122] Nick Nostitz, “Nick Nostitz in the Killing Zone,” New Mandala, May 16, 2010. http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/05/16/nick-nostitz-in-the-killing-zone/
    สำหรับ ความคืบหน้าชะตากรรมของผู้ชุมนุมเสื้อแดงในรายงาน ดู “Daughter of a Slain Red Shirt Hears Story of Father from Nick Nostitz,” Prachatai, June 21, 2010. http://www.prachatai.com/english/node/1899
  123. [123] “3 Injured as Van Trying to Clash through Security Checkpoint at Makkasan,” The Nation, May 15, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/3-injured-as-van-trying-to-clash-through-security--30129399.html
  124. [124] Jack Picone, “'Is it OK to Shoot Foreigners and Journalists?',” Sydney Morning Herald, May 22, 2010. http://www.smh.com.au/world/is-it-ok-to-shoot-foreigners-and-journalists-20100521-w1ur.html
  125. [125] “Medics Banned from Entering 'Red Zones',” The Nation, May 16, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/05/16/national/Medics-banned-from-entering-red-zones-30129456.html
  126. [126] Bill Schiller, “Why Did So Many Civilians Die in Bangkok Violence?,” The Star, May 23, 2010. http://www.thestar.com/news/world/article/813547--why-did-so-many-civilians-die-in-bangkok-violence
  127. [127] วันที่ 18 พ.ค. หนึ่งวันก่อนการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้าย ส.ว.กลุ่มหนึ่งได้รับการตอบรับจากคนเสื้อแดง ในการเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยครั้งสุดท้าย แต่รัฐบาลปฎิเสธ นำไปสู่การโจมตีแบบนองเลือดในเช้าวันต่อมา
  128. [128] Andrew Buncombe, “Eyewitness: Under Fire in Thailand,” The Independent, May 20, 2010. http://www.independent.co.uk/news/world/asia/eyewitness-under-fire-in-thailand-1977647.html
    See also: Bangkok Pundit (pseud.), “What Happened at Wat Pathum Wanaram?,” Bangkok Pundit, May 31, 2010. http://asiancorrespondent.com/bangkok-pundit-blog/what-happened-at-wat-pathum-wanaram
  129. [129] “Anupong: Soldiers Not Involved in Temple Killings,” Bangkok Post, June 3, 2010. http://www.bangkokpost.com/news/local/179998/anupong-soldiers-not-involved-in-killing-at-temple/page-2/
  130. [130] General Comment 6, par. 3, April 30, 1982.
  131. [131] United Nations Basic Principles on the Use of Force and Fire Arms by Law Enforcement Officials of 1990.
  132. [132] Ibid., Principles 3, 5.
  133. [133] Ibid., Principles 12-14 (emphasis added).
  134. [134] Internal Security Act, B.E. 2551 (2008), s. 3.
  135. [135] Ibid., s. 3.
  136. [136] For a brief account of ISOC’s disturbing human rights record, see Paul Busbarat, “Thailand, International Human Rights and ISOC,” New Mandala, January 27, 2009. http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2009/01/27/thailand-international-human-rights-and-isoc/
  137. [137] Ibid., ss. 4-5.
  138. [138] Ibid., s. 5.
  139. [139] Ibid., s. 18.
  140. [140] Announcement of the Centre for the Resolution of the Emergency Situation Re: Prohibition of Assembly or Gathering to Conspire, April 8 B.E. 2553 (2010).
  141. [141] Regulation pursuant to Section 9 of the Emergency Decree on Public Administration on Emergency Situation, B.E. 2548 (2005).
  142. [142] Announcement pursuant to Section 9 of the Emergency Decree on Public Administration on Emergency, Situation B.E. 2548 (2005).
  143. [143] A translation of the Computer Crimes Act B.E. 2550 (2007) is available at http://www.iclrc.org/thailand_laws/thailand_cc.pdf.
  144. [144] Computer Crime Act, Sections 3 (defining “Computer Data” to include “statements”) and 20.
  145. [145] Statement by the Asian Human Rights Commission, “THAILAND: Censorship and Policing Public Morality,” April 9, 2010, http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2010statements/2498/.
  146. [146] “Thailand Government Shuts Down Protesters’ TV Station,” The Guardian, April 8, 2010, http://www.guardian.co.uk/world/2010/apr/08/thailand-bangkok-protests
  147. [147] “Thai Protesters Demand Government Reopen TV Station,” CNN World, April 8, 2010, http://www.cnn.com/2010/WORLD/asiapcf/04/08/thailand.protests/index.html.
  148. [148] “Govt Claims Plot Targets King,” Bangkok Post, April 27, 2010. http://www.bangkokpost.com/news/local/175917/govt-claims-plot-targets-king
  149. [149] International Crisis Group, “Bridging Thailand’s Deep Divide,” ICG Asia Report 192, July 5, 2010, p. 18. http://www.crisisgroup.org/~/media/Files/asia/south-east-asia/thailand/192_Bridging%20Thailands%20Deep%20Divide.ashx
  150. [150] “Ex-policeman Held in RPG Case,” The Nation, May 1, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/05/01/national/Ex-policeman-held-in-RPG-case-30128366.html
  151. [151] Avudh Panananda, “Anti-Riot Squad Cut Up by Soldiers in Black,” The Nation, April 13, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/04/13/politics/Anti-riot-squad-cut-up-by-soldiers-in-black-30127131.html
  152. [152] Avudh Panananda, “Is Prayuth the Best Choice amid Signs of Army Rivalry?,” The Nation, June 8, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/06/08/politics/Is-Prayuth-the-best-choice-amid-signs-of-Army-riva-30131079.html
    See also International Crisis Group, op. cit., fn. 133, p. 10. http://www.crisisgroup.org/~/media/Files/asia/south-east-asia/thailand/192_Bridging%20Thailands%20Deep%20Divide.ashx
  153. [153] คนเลวบึ้มเอ็ม79บีทีเอสศาลาแดงเจ็บ75ดับ1-พยานอ้างยิงจาก รพ.จุฬาฯ, ASTV-Manager, April 23, 2010. http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9530000055677
  154. [154] “More Red Arsenal on Show,” The Straits Times, May 23, 2010. http://www.straitstimes.com/BreakingNews/SEAsia/Story/STIStory_530261.html
  155. [155] Jocelyn Gecker, “Thai Troops Open Fire on Red Shirt Protesters in Bangkok,” Associated Press, May 20, 2010. http://www.adelaidenow.com.au/thai-troops-open-fire-on-red-shirt-protesters-in-bangkok/story-e6frea6u-1225868598260
  156. [156] Tan Lian Choo, “Clashes Provoked by Group Bent on Revolt: Suchinda,” The Straits Times, May 20, 1992..
  157. [157] “‘Drastic Action’ to Quell Protest,” Bangkok Post, May 18, 1992.
  158. [158] “Shootings Were in Self-Defence, Says Spokesman,” The Nation, May 20, 1992.
  159. [159] Thongchai Winichakul, “Remembering/Silencing the Traumatic Past: The Ambivalence Narratives of the October 6, 1976 Massacre in Bangkok,” in Cultural Crisis and Social Memory: Modernity and Identity in Thailand and Laos, eds.Charles F. Keyes and Shigeharu Tanabe (London: Routledge/Curzon, 2002), 243-283.
  160. [160] Edward M. Wise, “Aut Dedere Aut Judicare: The Duty to Prosecute or Extradite,” in International Criminal Law, 2nd Edition, ed. M. Cherif Bassiouni (New York: Transnational Publishers, 1998), pp. 18-19.
  161. [161] ดูICCPR ข้อ (6)(1) ประกันการคุ้มครองจากการฆ่าตามอำเภอใจ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ICCPR เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539
  162. [162] ความเห็นทั่วไปของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ลำดับที่ 13, ลักษณะของพันธกรณีตามกฎหมายทั่วไปที่มีต่อรัฐภาคีของกติกาฯ, ออกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 (ความเห็นลำดับที่ 31), ย่อหน้า 8 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน)
  163. [163] ความเห็นลำดับที่ 31, ย่อหน้า 15 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน)
  164. [164] ความเห็นลำดับที่ 31, ย่อหน้า 18 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน)
  165. [165] ICCPR, ข้อ (6)(1)
  166. [166] ICCPR, ข้อ 7
  167. [167] ICCPR, ข้อ 9 (1)
  168. [168] UNGA Res. 63/182, 16 March 2009, pars. 1-3.
  169. [169] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 3.
  170. [170] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 6(b).
  171. [171] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 6(b).
  172. [172]รายงาน ของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดตัดตอนหรือตามอำเภอใจ, UN Doc. E/CN.4/2005/7, 22 ธันวาคม 2547, ย่อหน้า 6.
  173. [173] รายงานของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดตัดตอนหรือตามอำเภอใจ, UN Doc. A/HRC/14/24, 20 พฤษภาคม 2553, ย่อหน้า 34 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน).
  174. [174] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 35.
  175. [175] เพิ่งอ้าง.
  176. [176] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 34.
  177. [177] ดู Prosecutor v. Tadic, คดีหมายเลข IT-94-1-T, ความเห็นและคำตัดสินเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 (องค์คณะตุลาการ), ¶ 710 (องค์ประกอบของอาชญากรรมรวมถึง “สิ่งที่เป็นทางกายภาพ เศรษฐกิจ หรือทางตุลาการ ที่ละเมิดสิทธิของปัจเจกบุคคลในการมีสิทธิพื้นฐานของตนอย่างเท่าเทียม เป็นต้น)”) (ตัวเน้นที่สองเป็นของผู้เขียน).
  178. [178]Kupreškić, ¶ 621.
  179. [179] เพิ่งอ้าง, ¶ 636.
  180. [180] เพิ่งอ้าง, ¶¶ 630-31.
  181. [181] เพิ่งอ้าง, ¶ 619, n. 897.
  182. [182] เพิ่งอ้าง, ¶¶ 611-12.
  183. [183] เพิ่งอ้าง, ¶¶ 630-31.
  184. [184] กฎบัตรของคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ (TheCharter of the International Military Tribunal), ข้อ 6 (ค), บัญญัติว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชาติคือ “การฆาตกรรม การทำให้สิ้นชีวิต การทำให้เป็นทาส การเนรเทศ และการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอื่นๆ ที่กระทำต่อประชากรพลเรือน ... โดยกฎหมายหรือโดยสืบเนื่องกับอาชญากรรมใดๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจพิจารณาความของคณะตุลาการนี้” (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน).
  185. [185] ธรรมนูญกรุงโรมฯ, ข้อ 7(1).
  186. [186] ธรรมนูญกรุงโรมฯ, ข้อ 7(1), 7(2)(ก).
  187. [187] “Pre-Trial Chamber II,” Situation in the Republic of Kenya, ICC-01/09-19, para. 81.
  188. [188] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 82.
  189. [189] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 94-96.
  190. [190] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 84 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน), อ้างถึงPre-Trial Chamber I, Decision on the confirmation of charges, ICC-01/04-01/07-717, ย่อหน้า 396.
  191. [191]ICTY, Prosecutor v. Blaskic, คดีหมายเลข IT-95-14-T, คำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543, ย่อหน้า 204.
  192. [192] Antonio Cassese, International Criminal Law, Second Edition (Oxford: Oxford University Press, 2008), pp. 98-99.
  193. [193] ดู Pre-Trial Chamber II, Situation in the Republic of Kenya, ICC-01/09-19, para. 89, อ้างถึงICTY, Prosecutor v. Blaskic,คดีหมายเลข IT-95-14-T, คำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543, ย่อหน้า 205.
  194. [194] Reporters Without Borders, “Thailand: Licence to Kill,” July 2010. http://en.rsf.org/IMG/pdf/REPORT_RSF_THAILAND_Eng.pdf
  195. [195] Prosecutor v. Akayesu, ICTR TC, 2 September 1998, Case No. ICTR-96-4-T, at589-590; ดูเพิ่มเติม Cassese, o.c., p. 109.
  196. [196] Prosecutor v. Blaskic, ICTY TC, 3 March 2000, Case No. IT-95-14-T, at 247, 251.
  197. [197] Prosecutor v. Kunarac and others, ICTY TC, 22 February 2001, Case No. IT-96-23-T, at 434.
  198. [198] "บรรหาร-เนวิน" ขวางพรรคร่วมถอนตัว คาด "อภิสิทธิ์" ลาออกหลังลุยม็อบแดงจบ อาจยืดเยื้ออีก 1 สัปดาห์,” Matichon, May 17, 2010. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1274104360&catid=01
  199. [199] "จตุพร"ปูดทหารแตงโมแฉแผน"อนุพงษ์" สั่ง9ข้อ4ขั้นจัดการแดงให้จบใน 7 วัน ห้ามพลาด อ้างสูญเสีย500ก็ยอม, Matichon, April 20, 2010. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1271686129&grpid=10&catid=01
  200. [200] “Sansern: 500 Terrorists Infiltrating Reds,” Bangkok Post, May 14, 2010. http://www.bangkokpost.com/breakingnews/177896/500-terrorists-blending-with-reds-sansern
  201. [201] Pokpong Lawansiri, “Thai Fact-Finding Committee Falls Short,” The Irrawaddy, June 28, 2010. http://www.irrawaddy.org/opinion_story.php?art_id=18817&page=2
  202. [202] “Kanit Soon to Pass on List of Independent Committee to PM,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, June 28, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255306280033
  203. [203] Atiya Achakulwisut, “Reconciliation Will Have Its Price,” Bangkok Post, June 15, 2010. http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/38778/reconciliation-will-have-its-price
  204. [204] Achara Ashayagachat, “Mixed Reactions to Kanit Panel,” Bangkok Post, July 8, 2010. http://www.bangkokpost.com/news/politics/185193/mixed-reactions-on-kanit-panel
  205. [205] Nirmal Ghosh, “Ex-PM, Scholar to Mediate in Thailand,” The Straits Times, June 19, 2010. http://www.asianewsnet.net/news.php?id=12601&sec=1
  206. [206] Somchai Phatharathananunth, Civil Society and Democratization (Copenhagen: NIAS Press, 2006).
  207. [207] For an overview, see Bangkok Pundit (pseud.), “Thailand: Road Map for Reconciliation UPDATE,” Bangkok Pundit, June 22, 2010. http://us.asiancorrespondent.com/bangkok-pundit-blog/road-map-for-reconciliation
  208. [208] Wannapa Khaopa, “Pornthip Named Most Trustworthy Person in the Country,” The Nation, February 26, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/02/26/national/Pornthip-named-most-trustworthy-person-in-the-coun-30123440.html
  209. [209] “Police: Residual C4 Chemical Found on Oct 7 Victim,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, February 25, 2009. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255202250025
  210. [210] Piyanuch Thamnukasetchai, “No Explosive Residue: Pornthip,” The Nation, October 11, 2008. http://www.nationmultimedia.com/2008/10/11/national/national_30085759.php
  211. [211] “Explosives Expert Tests 'Black Box' of 'Bomb Detector',” BBC News, January 27, 2010. http://news.bbc.co.uk/2/hi/programmes/newsnight/8483200.stm
  212. [212] Simon de Bruxelles, “Head of ATSC 'Bomb Detector' Company Arrested on Suspicion of Fraud,” The Times, January 22, 2010. http://www.timesonline.co.uk/tol/news/uk/article6997859.ece
  213. [213] Michael Peel and Sylvia Pfeifer, “Police Conduct Raids in Bomb Detector Probe,” Financial Times, June 8, 2010. http://www.ft.com/cms/s/0/ba30e518-72f5-11df-9161-00144feabdc0.html
  214. [214] Supalak Ganjanakhundee, “Money Wasted on So-Called Bomb Detectors,” The Nation, January 29, 2010. http://www.nationmultimedia.com/search/read.php?newsid=30121417&keyword=gt200
  215. [215] Bangkok Pundit (pseud.), “How Did Dr. Pornthip Detect Explosive Residue on the Rohingya Boat?,” Bangkok Pundit, February 10, 2010. http://us.asiancorrespondent.com/bangkok-pundit-blog/so-how-did-dr.-pornthip-detect-the-explosive-residue-on-the-rohingya-boat
  216. [216] “Porntip Takes Chula Flak over Grenade Attack Theory,” Bangkok Post, June 5, 2010. http://www.bangkokpost.com/news/politics/36864/porntip-takes-chula-flak-over-grenade-attack-theory
  217. [217] “Porntip: Troop Killed in Don Muang Clash Not Killed by Friendly Fire,” The Nation, May 4, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/Porntip-Troop-killed-in-Don-Muang-clash-not-killed-30128559.html
  218. [218] “Khunying Pornthip to Gather Evidence on Seh Daeng’s Assassination Attempt,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, May 14, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255305140044
  219. [219] “Six Bodies Found in Safe-Zone Temple Show Signs of Execution,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, May 21, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255305210020
  220. [220] Andrew Buncombe, “Eyewitness: Under Fire in Thailand,” The Independent, May 20, 2010. http://www.independent.co.uk/news/world/asia/eyewitness-under-fire-in-thailand-1977647.html
  221. [221] “DSI to Deliberate 153 UDD Cases,” Bangkok Post, June 14, 2010. http://www.bangkokpost.com/breakingnews/181227/dsi-to-deliberate-on-153-udd-cases
  222. [222] ICCPR, Article14, including sections3(b) and 3(e).
  223. [223] ICCPR, Art. 14, Sec. 3(e).
  224. [224] A copy of our letter to the Thai authorities can be downloaded here: http://robertamsterdam.com/thailand/wp-content/uploads/2010/06/Letter-to-Thai-Authorities-Demanding-Investigation-and-Access-to-Evidence-June-29-2010-_Final-Corrected__.pdf.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net