Skip to main content
sharethis

229 รายชื่อ ‘ประณามผู้จัด’ ดึง 'อภิสิทธิ์ ผู้มีส่วนสำคัญในการปราบปรามคนเสื้อแดง และ พล.อ.ประวิตร สัญลักษณ์ของอำนาจรัฐประหาร' ร่วมงานรำลึก ‘30 ปีพฤษภา 35’ ขณะที่ เลขากก.ญาติวีรชนแจงน่าจะ ‘เป็นเรื่องเข้าใจผิด’ จากร่างกำหนดการ ‘ภาษาอังกฤษ’

9 พ.ค.2565 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก คเณศณัฏฐ์ สิมลาโคตร ว่า เมื่อ 7-8 พ.ค.ที่ผ่านมา มีการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว ประชาชนทั่วไป ในแถลงการณ์ประณามการบิดเบือนเจตนารมณ์วีรชนพฤษภา 35 ซึ่งมีรายชื่อผู้ร่วมลงนามทั้งสิ้น 229 ราย

โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา มูลนิธิพฤษภาประชาธรรมและคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ได้แถลงข่าวจัดงานรำลึก 30 ปี เหตุการณ์พฤษภา 35 และมีการออกกำหนดการเชิญบุคคลต่าง ๆ มาร่วมงานในวันที่ 17 พ.ค. 2565 ซึ่งงานดังกล่าวมีการระบุเชิญ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐประหารปี 2567 และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะดำรงตำแหน่งได้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในปี 2553 เป็นเหตุให้ บารมี ชัยรัตน์ เลขาธิการสมัชชาคนจน ได้โพสต์เผยแพร่แถลงการณ์ ‘ประณามการบิดเบือนเจตนารมณ์วีรชนเดือนพฤษภา 35’ ในคืนวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา เพราะมองว่าเป็นการจัดงานที่ไม่ให้เกียรติและคุณค่าความเสียสละชีวิตของวีรชน โดยแถลงการณ์ดังกล่าวได้มีผู้ร่วมลงนามทั้งสิ้น 229 คน ซึ่งประกอบไปด้วย นักวิชาการ นักเคลื่อนไหว ประชาชนทั่วไป

โดยแถลงการณ์ดังกล่าว มีเนื้อความดังนี้

แถลงการณ์ประณามการบิดเบือนเจตนารมณ์วีรชนเดือนพฤษภา 35 โดยการจัดกิจกรรมรำลึก 30 ปีของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ อำมหิตที่รัฐเผด็จการใช้กำลังความรุนแรงปราบปรามประชาชนสองมือเปล่าที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นเหตุให้ประชาชนผู้ประท้วงต่อต้านอำนาจเผด็จการต้องบาดเจ็บล้มตาย จำนวนมาก นับเป็นโศกนาฎกรรม บาดแผล ความทรงจำที่มิมีวันลืมเลือน

วีรชนเหล่านี้มีเจตนารมณ์ในการต่อสู้เพื่อให้สังคมไทยได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน วีรชนเหล่านั้นเกลียดชิงชังระบอบเผด็จการ ระบอบรัฐประหาร ที่ได้ครอบงำสังคมไทยมาโดยตลอด

การที่ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้จัดกิจกรรมรำลึกขึ้น  โดยได้เชิญ พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาร่วมกิจกรรมในงานด้วย ถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติคุณค่าความเสียสละชีวิตของวีรชน เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่า พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐประหาร อำนาจนอกระบบ เป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจมาจากรัฐประหาร 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) รวมทั้งปัจจุบันได้มีส่วนในการปราบปรามประชาชนผู้รักประชาธิปไตย โดยการแจ้งข้อกล่าวหา  มีกระบวนการข่มขู่คุกคาม จับกุมขังคุกประชาชนและเยาวชนผู้มีความคิดเห็นต่างจากผู้มีอำนาจ

นอกจากนี้แล้ว การเชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ก็นับเป็นความอัปยศเช่นกัน เนื่องจากว่า นายอภิสิทธิ์มีส่วนสำคัญในการปราบปรามคนเสื้อแดงที่เรียกร้องเพียงแค่ให้ยุบสภาเมื่อ ปี 2553  ซึ่งผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายรับรู้กันเป็นอย่างดี

ท้ายสุด ผู้มีรายชื่อข้างล่างนี้  จึงไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และขอประณามคณะผู้จัด และเรียกร้องไปยังประชาชนผู้รักประชาธิปไตยขอให้ไม่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ถือเป็นการประท้วงคณะผู้จัดกิจกรรม  รวมทั้งเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของวีรชน 2535 สืบต่อไป

เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตย จงเจริญ เจตนารมณ์ของวีรชน 2535 จงเจริญ

สำหรับแถลงการณ์นี้มีผู้ลงชื่อทั้งหมด 229 รายชื่อ

1. จะเด็จ เชาวน์วิไล
2. เจษฎา โชติกิจภิวาทย์
3. ประสาท ศรีเกิด
4. พิรอบ แต้มประสิทธิ์
5. ธิกานต์ ศรีนารา
6. อุทัย อัตถาพร
7. บารมี ชัยรัตน์
8. อดุลย์ศักดิ์ พรหมเสน
9. โชคชัย แซ่แต้
10. ชาญชัย อนันต์มานะ
11. จักริน ยูงทอง
12. พิชิต พิทักษ์
13. พิษณุ ไชยมงคล
14. อนุชา แหสมุทร
15. สถิต ยอดอาจ
16. ธีรพล พัฒนภักดี
17. นิวัตร สุวรรณพัฒนา
18. กุลวดี ศาสตร์ศรี
19. ณะรินทร กลางเฉวียง
20. นพ.กฤษณ์ติพัฒน์ พิริยกรเจริญกิจ
21. ธนเดช เจนบรรจง
22. สมชาย แซ่จิว
23. พรสรวง โพธิ์ทอง
24. สุรพล. สงฆ์รักษ์
25. ประธาน คงเรืองราช
26. พรชัย มณีนิล
27. วินัย ผลเจริญ
28. ธีรพล อันมัย
29. สุภาภรณ์ อัษฎมงคล
30. อรอนงค์ หัตถโกศล
31. อำพร สังข์ทอง
32. นิติกร ค้ำชู
33. ภัควดี วีระภาสพงษ์
34. ชัยพงษ์ สำเนียง
35. สมศักดิ์ บุญเสริฐ
36. สุวิทย์ แก้วสุข
37. ศรันย์ สมันตรัฐ
38. ชำนาญ จันทร์เรือง
39. ภัทรภร ภู่ทอง
40. ศรีไพร นนทรีย์
41. ไพศาล จันปาน
42. กฤษณะ ธนะฐากุลเดช
43. รอมฎอน ปันจอร์
44. พรพิศ ผักไหม
45. ประเสริฐ​ หงวนสุวรรณ
46. วินัด เพ็งแจ่ม
47. เอกอนันต์ ภัทรพรพิสิทธิ์
48. นาตยา อยู่คง
49. ธนชาติ ไชยทองพันธ์
50. ยุทธนา ลุนสำโรง
51. สุรพศ ทวีศักดิ์
52. พิชชา ทรัพยสาร
53. สมศักดิ์ แก้วโสภา
54. วัชรพล นาคเกษม
55. สุพนิต​ เพลินพนา
56. วรวุฒิ บุตรมาตร
57. สังฆวัด เชื้อวงษ์
58. นวกช ทัพพะรังสี
59. พายุ บุญโสภณ
60. วัฒนชัย วินิจจะกูล
61. นิรมล ยุวนบุณย์
62. กฤษณะ ไก่แก้ว
63. เอกชัย พรพรรณประภา
64. ธนพล พันธุ์งาม
65. อดิศร เกิดมงคล
66. ลลิตา เพ็ชรพวง
67. ธีระวัฒน์ รุจินธรรม
68. เพชรชรา ชิดปรางค์
69. กานต์สินี อุไรรัตน์
70. สหัสวัต คุ้มคง
71. บดินทร์ รัชตาจ้าย
72. ศิริ นิลพฤกษ์
73. อารีฟีน​ โสะ
74. กานต์ ทัศนภักดิ์
75. จักรพล ผลละออ
76. พริม มณีโชติ
77. ณัฐพงศ์ มาลี
78. มริสสา อรุณกิตติชัย
79. เชษฐา กลิ่นดี
80. สิรวิชญ์ มณีรัตน์
81. กันต์ วัฒนสุภางค์
82. ณัทพัช อัคฮาด
83. ปัททุมมา ผลเจริญ
84. ลภาพรรณ. ศุภมันตา
85. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
86. สมพล โชคดีศรีสวัสดิ์
87. เรวดี สิทธิสุราษฎร์
88. สุชาติ สวัสดิ์ศรี
89. พระอานนท์ ยุตฺตธมฺโม
90. สันติสุข กาญจนประกร
91. นิธิวัต วรรณศิริ
92. คมลักษณ์ ไชยยะ
93. ถาวร​ เกิด​สุว​รรณ์​
94. ถนอม ชาภักดี
95. วิทูวัจน์ ทองบุ
96. วัฒนา นาคประดิษฐ์
97. พนา ใจตรง
98. พงษ์ศักดิ์ สายวรรณ
99. ประพนธ์ สิงห์แก้ว
100. เลื่อน ศรีสุโพธิ์
101. สุรศักดิ์ ชัยรัมย์
102. พิพัฒน์ สุยะ
103. นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
104. เฉลิมพล ปทะวานิช
105. วสุรี ชาวกงจักร
106. รจเรข วัฒนพาณิชย์
107. มัทนา อัจจิมา
108. ศิริพร ฉายเพ็ชร
109. จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
110. อนุสรณ์ อุณโณ
111. ส.รัตนมณี พลกล้า
112. จินตนา. สมพงศ์
113. เฉิดฉันท์. ศรีพาณิชย์
114. ปนัดดา ขวัญทอง
115. เสรี จินตกานนท์
116. อุลัยรัตน์ ชูด้วง
117. พฤกษ์ เถาถวิล
118. เวียง-วชิระ บัวสนธ์
119. อารัติ​ แสงอุบล
120. เพียง​พร​ พนัส​อำ​พน
121. ทวีศักดิ์ พึงลำภู
122. วิภา พลอยงาม
123. พิศาล บุพศิริ
124. สันทนากร จิตมาตย์
125. พงศธร ศรเพชรนรินทร์
126. แววเพชร ศิริจันทร์
127. รชต สังข์ทอง
128. จันทนา วรากรสกุลกิจ
129. วิทยา อาภรณ์
130. นราธิป จันทร์อ่ำ
131. สุวรรณ บัณฑิต
132. รัฐ วิจิตรกำจร
133. อธิปัตย์ มณีนุตร
134. สมปอง บุญรอด
135. จริญญา บุญรอด
136. สุกัญญา เศษขุนทด
137. คมกิจ คงดี
138. กิตติภูมิ จุฑาสมิต
139. นุจรินทร์ นามูลทา
140. สุชาติ ตระกูลหูทิพย์
141. ณัฐพร อาจหาญ
142. เนตรดาว เถาถวิล
143. เยาวลักษ์ อนุพันธ์
144. คำรณ ชูเดชา
145. จรัล ดิษฐาอภิชัย
146. เคารพ พินิจนาม
147. จีระ เปรมปราศรัย
148. พรสุข เกิดสว่าง
149. มารุต พลายอยู่วงษ์
150. ศุภชัย เจริญศักดิ์วัฒนา
151. นุชจรี ใจเก่ง
152. น้ำเพชร พิทักษ์
153. การัญ เพิ่มลาภ
154. วิเชียร วิสุธนากร
155. สุพัตร วิสุธนากร
156. สุมาตร ภูลายยาว
157. รินทร์ นาจอมทอง
158. ไพรบ บุษราคัม
159. นพดล สุวรรณแสน
160. ธนวินท์ เตชินท์ธนนันต์
161. สุพจน์ แก้วแสนเมือง
162. สุพิทักษ์ วีรพล
164. ดนุพล สอนต่าง
165. ไพทูรณ์ พรมนอก
166. เมธาวี พิทักษ์
167. บุญเกิด ทองนะ
168. เดชอนันต์ พิลาแดง
169. ดนัย เพชรสังหาร
170. นิวาส โคตจนจันทึก
171. ณัฐธนัน ขันทอง
172. สิรินาฏ ศิริสุนทร
173. ภัทรพล อินทรหอม
174. ธนิสสร มณีรักษ์
175. ประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา
176. ปาริชาต ศิวะรักษ์
177. สมบัติ จิตสกุลชัยเดช
178. พิชญ อนันตรเศรษฐ์
179. ณรรธราวุธ เมืองสุข
180. ชูศักดิ์ เจริญหงษ์ทอง
18. ศราพัส บำรุงพงศ์
182. จำลอง อินทะวงษ์
,183. กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
184. กาลสมัย มะณีแสง
185. เกียรติก้อง เส็นฤทธิ์
187. อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์
188. พรชัย ยวนยี
189. ภาณุวิชญ์ ภู่ทอง
190. ประวิทย์ วงศ์ละ
191. ทศพล พลเยี่ยม
192. ปรีชา พะวงศ์
193. สมเกียรติ วงศ์เฉลิมมัง
194. อรรถพล สิงพิลา
195. สุวรรณา ตาลเหล็ก
196. ณัฐพงษ์ นรินทร์นอก
197. สุรัตน์ รูปสูง
198. ตะวัน นิลภา
199. พรศักดิ์ ภูมิบุญชู
200. นันทวัฒน์ อินทะชัย
201. ฐาปกรณ์ โนนศรีโคตร
202. วิญญู เวชกามา
203. คมสันติ์ จันทร์อ่อน
204. อัศวุฒิ สินทวี
205. อริสรา ขวัญเวียน
206. ธวัช ดำสอาด
207. สรสิช ฟักแฟง
208. นราภรณ์ ดำอำไพ
209. นีรนุช เนียมทรัพย์
210. นายปฏิพัทธ์​ ใบสนธิ์
211. อาทิตย์ พิลาบุตร
212. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
213. สมใจ เตชินท์ธนนันต์
214. พิลาพร จักษุรัตน์
215. สุธิลา ลืนคำ
216. วิภาวรรณ บุญอรัญ
217. ธนากร พวยไพบูลย์
218. อนุรักษ์ สุพร
219. พิชัย จันทร์ช่วง
220. ประดิษฐ์ ลีลานิมิต
221. มนัสนันท์ บวรวิวรรธน์
222. ฐานพัฒน์ กลิ่นทอง
223. คณิต ธัญญะภูมิ
224. ชัน ภักดีศรี
225. แหลมชัย วงศ์กะโซ่
226. วันลา วงศ์กะโซ่
227. เขียว หลวงนา
228. ณรงค์ คำสา
229. ฉันท์หทัย (อรทัย) อาจอ่ำ

เลขากก.ญาติวีรชนแจงน่าจะ ‘เป็นเรื่องเข้าใจผิด’ จากร่างกำหนดการ ‘ภาษาอังกฤษ’

 

เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวกับ ‘มติชน’ ถึงประเด็นดังกล่าวว่า การออกแถลงการณ์วิจารณ์ร่างกำหนดการงานรำลึก 30 ปีพฤษภาประชาธรรม ที่ระบุว่ามีการเชิญพล.อ.ประวิตร และอภิสิทธิ์นั้น ตนขออนุญาตชี้แจงแทนคณะกรรมการจัดงาน 30 ปีพฤษภาประชาธรรมว่า น่าจะเป็นเรื่องเข้าใจผิดเพราะเป็นแค่ร่างกำหนดการภาษาอังกฤษที่ฝ่ายต่างประเทศใช้ประสานงานติดต่อวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมสัมมนา ซึ่งปกติจะไม่เผยแพร่กำหนดการทางสาธารณะ หากยังไม่ได้เข้าประเทศมา เพื่อปกป้องการเดินทางเพราะอาจจะถูกแบล็คลิสต์หรือห้ามเข้าประเทศได้ แต่ก็มีคนเผยแพร่ไปแล้ว

 

"แถลงการณ์นั้นคงต้องการพาดพิงไปที่อาจารย์โคทม อารียา ประธานมูลนิธิพฤษภา และนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานญาติวีรชนฯ โดยตรง แต่ที่บอกว่าแถลงการณ์น่าจะเข้าใจผิด เนื่องจากกิจกรรมพิธีรำลึกเฉพาะวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ในปีนี้ คณะกรรมการฯ เชิญทุกฝ่ายเหมือนเช่นทุกปี มีประชาชนที่เคยผ่านเหตุการณ์พฤษภาคม 35 มาร่วมกิจกรรมเหมือนเช่นทุกปีโดยไม่มีการแบ่งแยก รวมถึงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณจตุพร พรหมพันธ์ นายจำลอง ศรีเมือง ฯลฯ รวมถึงตัวแทนรัฐบาล พรรคการเมืองและภาคเอกชน บางปีก็มานั่งรำลึกกันคนละมุม แต่ปีนี้มีอภิปรายภาคบ่ายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้จัดจึงได้เชิญแต่ละคนร่วมอภิปรายบทเวทีเสวนาเพื่อสรุปบทเรียนความขัดแย้งเพื่อหาทางออกให้บ้านเมืองร่วมกัน และเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ในปีนี้คณะผู้จัดงานจึงตัดสินใจไม่ได้เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นปีแรก ซึ่งธรรมดาจะต้องส่งผู้แทนรัฐบาลมาร่วมงานเพื่อแสดงความรับผิดชอบในนามรัฐ ต่อมาจึงมีชื่อเชิญรองนายกฯ แทน แต่ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะส่งใครมาหรือไม่ เพราะรองนายกฯ พล.อ.ประวิตร หรือนายวิษณุ เครืองาม ก็ไม่เคยมางานแบบนี้เลย ส่วนใหญ่จะส่งข้าราชการสำนักนายกฯ มาแทนแทบทุกปีเพราะไม่เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ประชาชน ผิดกับเหตุการณ์กวางจู เกาหลีใต้ ที่สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและประชาธิปไตย ในงานรำลึกทุกปี หากไม่ใช่ประธานาธิบดีก็นายกรัฐมนตรีจะต้องมาร่วมงานและคารวะวีรชน” เมธากล่าว

เมธากล่าวต่อไปว่า ในส่วนของคณะกรรมการจัดงาน 30 ปีพฤษภาประชาธรรมนั้น ประกอบไปด้วยมูลนิธิพฤษภาประชาธรรม คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 รวมถึงกรุงเทพมหานคร ฯลฯ ร่วมจัดงานรำลึกในวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 ธ.ค. 2546 รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวัน “พฤษภาคมประชาธรรม” เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์เดือนพฤษภาคม 2535 และให้รัฐบาลสนับสนุนการจัดงานรำลึกวันพฤษภาประชาธรรม ร่วมกับคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และมูลนิธิพฤษภาประชาธรรม โดยกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานสนับสนุนอุปกรณ์การจัดงานทุกปีซึ่งต้องใส่ชื่อผู้แทนส่วนต่างๆ ให้ครบไว้ก่อน ส่วนมูลนิธิพฤษภาประชาธรรมและญาติวีรชน จัดหางบประมาณจัดงานเองทุกปี อย่างไรก็ตาม กิจกรรมรำลึก 30 ปีพฤษภาประชาธรรมในปีนี้มีความหลากหลาย ทุกฝ่ายสามารถจัดงานรำลึกได้ไม่มีใครกลุ่มใดเป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ ซึ่งมีหลายองค์กรกำลังจัดกิจกรรมขึ้นไม่ว่าจะเป็น Amnesty International Thailand หรือเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ฯลฯ 

เมธากล่าวว่า นอกจากกิจกรรมขององค์กรต่างๆ ที่ต่างจัดขึ้นในปีนี้นั้น งานรำลึก 30 ปีพฤษภาประชาธรรมยังได้มีการจัดขึ้นตั้งแต่ 23 ก.พ. – 27 มิ.ย. 2565 โดยคณะกรรมการจัดงาน 30 ปีพฤษภาประชาธรรม ซึ่งประกอบไปด้วยมูลนิธิพฤษภาประชาธรรม คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 รวมถึงกรุงเทพมหานคร รัฐบาล รัฐสภา พรรคการเมือง ตลอดจนเครือข่ายภาคประชาชน องค์กรประชาธิปไตย และองค์กรสิทธิมนุษยชน โดยเน้นสืบสานภารกิจ 30 ปีพฤษภาฯ หยุดวงจรการรัฐประหาร เพื่อสร้างประชารัฐธรรมนูญ ยุติบทบาททหารกับการแทรกแซงการเมืองไทย การอภิปรายวิชาการสาธารณะ มีเป้าหมายเชื่อมโยงเหตุการณ์ 30 ปีพฤษภา กับ 90 ปี 24 มิถุนา วันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา และ 27 มิ.ย. วันสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประชาธิปไตยของผู้คนระหว่างวัย เพื่อทบทวนบทเรียนในอดีตเชื่อมต่อกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบันกับข้อเสนอการปฏิรูปเชิงสถาบันต่างๆ และข้อเสนอการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประสานงานเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายการพัฒนาประชาธิปไตย ยุติบทบาททหารกับการเมืองไทย ยุติความขัดแย้งและสร้างการปรองดองทางสังคม และที่สำคัญคือการหยุดยั้งการรัฐประหารมิให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอีกต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net