Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

นับจากที่ พ.ร.บ.เงินทดแทนประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 การทำงานของกระทรวงแรงงานก็ทำงานตั้งรับมาโดยตลอด ถึงวันนี้เข้าสู่ 17 ปีแล้วที่กฎหมาย พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เพิ่งจะมีการแก้ไขเข้าสู่สภาด้วยมติคะแนนเสียง 334 เสียง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา พ.ร.บ.เงินทดแทนดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ที่มี นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ เป็นประธานและมีกรรมาธิการฝ่ายผู้ใช้แรงงานได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปเป็นกรรมาธิการ ร่วมนั่งแปรญัติเพื่อปรับปรุงกฎหมาย คือ รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คุณสมบุญ สีคำดอกแค ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ถูกผลกระทบโดยตรงและคุณมนัส โกศล สถิติข้อมูลจากผลการทำวิจัยระยะสั้นของสภาเครือข่ายฯร่วมกับมูลนิธิอารมณ์ พงษ์พงัน โดยได้รับงบสนับสนุนจาก สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม 2552 ตัวอย่างข้อมูลตัวเลขสถิติสะสมของการสูญเสียสุขภาพความปลอดภัยของแรงงานไทย ตั้งแต่ ปี 2531 - 2552 (21 ปี) จะยิ่งตกใจมากเพราะ
-สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 3,598,180 ราย
-สถิติการสูญเสียอวัยวะบางส่วนจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 71,225 ราย
-สถิติการเป็นโรคจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 54,396 ราย
-สถิติการตายหรือเสียชีวิตจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 15,931 ราย

...และนี่คือตัวเลขของคนงานที่เข้าถึงสิทธิ กองทุนเงินทดแทนเท่านั้น เพราะอุบัติเหตุและเป็นโรคที่เห็นชัดไม่นับรวมโรคที่เกิดจากสารเคมีหลายชนิด เข้าสู่ร่างกายป่วยเรื้อรังและตายฟรีหรือโรคที่เกิดสืบเนื่องจากการ ทำงาน ไม่รู้อีกจำนวนเท่าไหร่ “เพราะชีวิตคนงานกำลังเสี่ยงกับเครื่องจักรอันตรายและภัยจากสารเคมีร้าย แรงอยู่ทุกวินาทีทุกลมหายใจ"

อุตสาหกรรมไทยเรา
-เน้นแรงงานราคาถูก การทำโอที (12 ชม.ต่อ 6 วันต่อสัปดาห์) หรือ 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งในต่างประเทศเขาทำงานกันแค่ 35 ชม. ต่อสัปดาห์เท่านั้น

-เทคโนโลยีต่ำ แต่การแข่งขันสูง โดยเฉพาะแข่งกันกับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาด้วยกัน เช่น ลาว เขมร เวียดนาม

-ขาดความมั่นคง เพราะลักษณะการจ้างงานมีการยืดหยุ่นสูง เน้นการจ้างเหมา เอางานกลับไปทำข้างนอก ใช้คนงานข้ามชาติ ขาดสวัสดิการและกฎหมายคุ้มครอง

-ขาดความปลอดภัย การเจ็บป่วยด้วยโรคจากพิษภัยที่มองไม่เห็นและอุบัติเหตุต่างๆ และโรคที่เกิดสืบเนื่องจากการทำงานด้วยการเร่งการผลิตจนทำให้คนงานต้องเป็น โรคโครงสร้างกระดูกจำนวนมากเกือบทุกอุตสาหกรรม หรือสถิติสูงสุด แต่ก็มีปัญหาในการเข้าถึงสิทธิเงินทดแทนยากเย็น ในขณะที่เกือบทุกประเทศมีปัญหาเรื่องการวินิจฉัยโรค

แม้พวกเราขบวนการแรงงาน และร่วมกับหลายๆ องค์กร ร่วมกันผลักดันจนกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 ใน มาตรา 44 ระบุว่า“คนงานย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสภาพในการทำงานรวม ทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นสภาวะการทำงาน หรือ ครม.มีมติเมื่อ 11 ธันวาคม ปี พ.ศ.2550 ยกเรื่อง สุขภาพความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน เป็นวาระแห่งชาติ “คนงานปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี แต่หาได้มีงบประมาณในการทำงานไม่ มีกฎหมายและมีมติ ครม.แล้วก็ตามทีปัญหาสุขภาพความปลอดภัยก็ไม่ได้ลดลงเลย รวมถึงคนงานยังไม่ได้รับการคุ้มครองที่ดีพอตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและสิทธิ มนุษยชน

ทางออกก็คือขบวนการแรงงาน ภายใต้เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานที่มี 17 องค์กร และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้จากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน พยายามผลักดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ได้บรรจุการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯไว้ในหมวด 7 มาตรา 52 ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม2554 และต้องบังคับใช้ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 นี้ และกระทรวงแรงงานกำลังเรียกประชุมคณะกรรมการยกร่าง พรฎ.ครั้งแรก ในวันที่ 3 มีนาคม 2554 นี้ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน โดยมีตัวแทนฝ่ายผู้ใช้แรงงานร่วมยกร่างดังกล่าว

แต่ทั้งนี้หาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ...มาตรา 10 ไม่ขยายดอกผลมาไว้ในกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในหมวด 6 ตามมาตรา 45(2) ร้อยละ 20 ต่อปีเพื่อบริหารจัดการส่งเสริมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใน การทำงาน สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯที่กำลังจะเกิดขึ้นมาก็จะเป็นสถาบันที่ด้อย เปลี้ยเสียแขนขา ทำอะไรไม่ได้ตามเจตนารมณ์ของผู้ผลักดันกฎหมายเพื่อให้มีการส่งเสริมป้องกัน เสียก่อน ที่จะเกิดเจ็บป่วย เรื้อรัง พิการ สูญเสียสุขภาพ และตายฟรี ต่อไป

และผลจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นก็ต้องเชิญติดตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการ วิสามัญ พิจารณากฎหมาย พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ...ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมกรรมาธิการ ห้อง 3701 รัฐสภา 3 ซึ่งเราต่างหวังว่าคณะกรรมาธิการ ส.ส.ทุกท่านคงจะได้เล็งเห็นเจตนารมณ์นี้

(วันที่24ก.พ.54)
สุขภาพดีคือชีวิตที่มั่นคง ความปลอดภัยคือหัวใจของการทำงาน

 

หมายเหตุ: เราจะมีการจัดเวทีสาธารณะเปิดสภาผู้ป่วยฯในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ห้องราชาโรงแรมรัตนโกสินทร์ ติดต่อได้ที่ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และให้คำแนะนำ คำปรึกษาด้านสุขภาพ และสิทธิแรงงาน กรณีลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคและประสบอันตรายจากการทำงาน สำหรับแรงงานในระบบภาคอุตสาหกรรม (Wellness Worker Center )

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย) เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร. 02-9512710, 02-9513037 ทุกวัน. จันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-21.00 น. http://www.wept.org, E-mail :wept_somboon@hotmail.com
 

 

ชื่อบทความเดิม: จะส่งเสริมป้องกันหรือ จะให้คนงาน เจ็บป่วย พิการ ตาย ก่อนหรือไง? กับการปันงบดอกผลจากกองทุนเงินทดแทน 20%ให้กับกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net